"เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช" เรือพระที่นั่งสำคัญ ใน ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ต.ค. 2567 เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567 เรือพระที่นั่งลำสำคัญอีกหนึ่งลำคือ "เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช"
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ในวันอาทิตย์ ที่ 27 ตุลาคม 2567
เรือพระราชพิธี 52 ลำ จัดขบวนเป็น 5 ริ้ว กำลังพล 2,200 นาย เส้นทางเดินเรือ ออกจากท่าวาสุกรี ผ่านสะพานพระราม 8 สะพานพระปิ่นเกล้า มุ่งหน้าไปวัดอรุณฯ รวมระยะทาง 4.2 กม.
"พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี" เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค จากท่าวาสุกรีไปยังวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช หนึ่งในเรื่อพระที่นั่งสำคัญ ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งโขนเรือรูปพญาอนันตนาคราช หรือ พญานาค 7 เศียร กลางลำเรือทอดบุษบก ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูป หรือผ้ากฐิน นับเป็นเรือพระที่นั่งที่มีความงดงามอีกลำหนึ่ง และเรือพระที่นั่งลำดังกล่าวเคยมีการพิมพ์รูปเรือพระที่นั่งอนันตนาคราชด้านหลังธนบัตร 20 บาท โดยจัดพิมพ์และใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 ปัจจุบันเลิกพิมพ์แล้ว
อนันตนาคราช นั้นมีฤทธิ์มาก เคยประลองฤทธิ์กับพระพาย โดย "อนันตนาคราช" กระหวัดรัดเขาพระสุเมรุไว้ ถ้าพระพายพัดเขาพระสุเมรุให้หักฟังลงได้จะเป็นฝ่ายชนะ เมื่อพระพายกระหน่ำพัดเขาพระสุเมรุ "อนันตนาคราช"ก็กลืนลมเสียสิ้น พระพายยิ่งพัดหนักขึ้น "อนันตนาคราช"ก็เนรมิตกายให้ใหญ่ยาวยิ่งขึ้น พระพายจึงเก็บเอาลมซึ่งรักษาร่างกายเทวดา มนุษย์ และสัตว์ทั้งปวงมาเพื่อจะพัดทำลายเขาพระสุเมรุให้ได้ เทวดาตกใจชวนกันไปทูลพระอิศรรให้ช่วย พระอิศวรจึงตรัสว่าฤทธิ์ทั้ง 2 ฝ่ายเสมอกัน การประลองฤทธิ์จึงเป็นอันสิ้นสุดเพียงนั้น
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 4) ส่วนลำปัจจุบันจุบันนั้น เป็นเรือสร้างใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 7) โขนเรือปิดทองประดับกระจก เป็นรูปพญาอนันตนาคราช หรือ พญานาค 7 เศียร กลางลำเรือทอดบุษบก ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูป หรือผ้ากฐิน ลำเรือภายนอกทาสีเขียวท้องเรือภายในทาสีแดง
- ตัวเรือมีความยาว 44.85 เมตร
- ตัวเรือมีความกว้าง 2.58 เมตร
- ความลึก 1.87 เมตร
ใช้กำลังพลรวม จำนวน 72 นาย แยกเป็นกำลังพลประจำเรือ 69 นาย ประกอบด้วย
- นายเรือ 2 นาย
- นายท้าย 2 นาย
- ฝีพาย 54 นาย
- คนถือธงท้าย 1 นาย
- พลสัญญาณ 1 นาย
- คนถือฉัตร 7 นาย
- คนขานยาว 1 นาย
- พนักงานเห่เรือ 1 นาย
- และเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง จำนวน 3 นาย