ข่าว

อุทยานแห่งชาติทับลาน เกิดอะไรขึ้น? ทำไมเห็นต่าง #Saveทับลาน - เพิกถอน 2.6 แสนไร่ คืนชาวบ้าน

อุทยานแห่งชาติทับลาน เกิดอะไรขึ้น? ทำไมเห็นต่าง #Saveทับลาน - เพิกถอน 2.6 แสนไร่ คืนชาวบ้าน

10 ก.ค. 2567

ย้อนเส้นทาง ก่อนเกิดกระแส #Saveทับลาน คัดค้าน เพิกถอนพื้นที่ป่าลาน อุทยานแห่งชาติทับลาน มองต่างมุม ควรอนุรักษ์หรือคืนชาวบ้านได้ทำกิน นับถอยหลัง เพิกถอนหรือไม่ อุทยานแห่งชาติทับลาน

เพิกถอนพื้นที่ป่า อุทยานแห่งชาติทับลาน กลายเป็นประเด็นที่คนในสังคมให้ความสำคัญอย่างมาก ทั้งภาคประชาชนทั่วไปและบนโลกออนไลน์ ทำให้เกิดกระแส คัดค้านเพิกถอนพื้นที่ป่าทับลาน คืนให้เป็นพื้นที่ทำกิน ออกโฉนดเป็นที่ ส.ป.ก. ป้องกันผลกระทบทางธรรมชาติที่ไม่อาจย้อนกลับไปแก้ไขได้ หากต้องสูญเสียพื้นที่ป่ากว่า 265,286.58 ไร่ ในคราวเดียว ซึ่งอาจทำให้ ประเทศไทย กลายเป็น "ประเทศที่เสียผืนป่ามากที่สุดในครั้งเดียว" 

 

แน่นอนว่า การเพิกถอนพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นการทำให้ชาวบ้านซึ่งอยู่อาศัยมาก่อนได้พื้นที่ทำกินคืน หลังการประกาศให้ ทับลาน เป็นพื้นที่ป่าอุทยาน เมื่อปี 2524 แต่การริดรอนสิทธิ์นี้คืนจากชาวบ้านก็เป็นการปกป้อง ป่าลาน ผืนสุดท้ายของประเทศให้คงอยู่ต่อไปจากการรุกรานของกลุ่มนายทุนในอนาคต ที่หวังผลประโยชน์จากที่ผืนนี้อยู่เช่นเดียวกัน 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

แนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ปี พ.ศ.2524

สรุปเส้นทาง เพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ก่อนผุด #Saveทับลาน

 

  • ปี พ.ศ. 2506 อุทยานแห่งชาติทับลานเป็นป่าไม้ถาวรตามมติรัฐมนตรี โดยถูกสงวนไว้สำหรับเรื่องของการคุ้มครองพื้นที่ป่า ซึ่งไม่พบเรื่องของการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ยกเว้นส่วนพื้นที่ของวังน้ำเขียวซึ่งเป็นพื้นที่นอกเขตอุทยานอยู่แล้วหากพื้นที่ดังกล่าวถูกประกาศเป็นป่าไม้ถาวร การจะดำเนินการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงสภาพใดใดก็ตาม จำเป็นต้องดำเนินการผ่านคณะรัฐมนตรี โดยจะต้องออกมาเป็นมติในเรื่องของการเพิ่มพื้นที่ และต้องมีกรมป่าไม้เข้ามาเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการในส่วนนี้

 

  • ปี พ.ศ. 2515 ชาวบ้านเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่ ทับลาน และใช้ที่ดินผืนดังกล่าวรัฐเปิดสัมปทานป่าไม้โดยให้ชาวบ้านเป็นแรงงาน พร้อมกับส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเชิงพาณิชย์ ก่อนประกาศเป็นพื้นที่อุทยาน จัดพื้นที่ให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยได้เข้าไปทำกิน เนื้อที่ประมาณ 58,000 ไร่

 

  • ปี  พ.ศ. 2521 มีการประกาศเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งมีบางส่วนทับซ้อนกับเขตป่าสงวนและป่าไม้ถาวร 

 

  • ปี พ.ศ. 2524 จุดเริ่มต้นของปัญหาพื้นที่ทับซ้อน หลังมีการ ประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งทับซ้อนทั้งสามเขตที่ได้แบ่งไว้ในตอนแรก ได้แก่ เขตป่าสงวน เขตป่าไม้ถาวร และเขตปฏิรูปที่ดิน  หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีความพยายามอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาการทับซ้อนของที่ดิน ซึ่งคนในพื้นที่และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นมีกระบวนการการดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกันมาโดยตลอด เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ร่วมกับทางชุมชนได้  

 

 

รายงานพื้นที่ทับซ้อน อุทยานแห่งชาติทับลาน

 

 

 

 

  •  ปี พ.ศ. 2543 มีการเรียกร้องให้กันพื้นที่ออกจากอุทยาน และมีการสำรวจพื้นที่ใหม่อีกครั้ง และปรับปรุงการสำรวจแนวเขตพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติทับลานใหม่แต่กระบวนการดังกล่าวไปไม่ถึงจุดหมาย ซึ่งหลายรัฐบาลที่ผ่านมาพยายามแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้าน

 

  • ปี พ.ศ. 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 10 มีนาคม เห็นชอบแนวทางการใช้แนวเขตที่มีการปรับปรุงการสำรวจแนวเขต ปี พ.ศ.2543 ให้กันพื้นที่ชุมชน จำนวน 265,000 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ของ ส.ป.ก. ในการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐบูรณาการ มาตราส่วน 1: 4000 (One Map) พื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน วันที่ 14 มีนาคม

 

  • ปี พ.ศ. 2567 เปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อประเด็น พิจารณาเพิกถอนพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติทับลาน  265,286.58 ไร่ ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน จนถึง 12 กรกฎาคม 2567 จนเกิดเป็นกระแส คัดค้านเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน พร้อมติดแฮชแท็ก #Saveทับลาน

 

รัฐบาลที่ผ่านมาพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินให้กับชาวบ้าน จึงเห็นว่าควรทำให้เป็นที่ดินของรัฐ และ สปก. ก็ถือเป็นที่ดินของรัฐ ดังนั้น สปก. จึงต้องเข้ามาพิจารณาตรวจสอบว่าใครมีสิทธิ์ ในส่วนของกรมอุทยานเองก็จะต้องไปพิจารณาร่วมกันในชั้นของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติเพื่อเสนอต่อ ครม. ผมยังว่าบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติตามกฎหมายก็ยังจะไม่มีคุณสมบัติถือครองที่ดินอยู่อย่างนั้น เพราะกังวลว่าหากมีการจัดสรรที่ไปแล้ว เกิดผลกระทบเพื่อให้กับนายทุนกลุ่มรีสอร์ทเข้าไปดำเนินการ 

 

"สิ่งสำคัญจะต้องยึดหลักข้อเท็จจริง ทั้งเรื่องการอยู่อาศัยทำกินและการดูแลรักษาผืนป่า เนื่องจากในจำนวน 265,000 ไร่ มีทั้งคนที่อยู่อาศัยอยู่เดิม จากการจัดสรรพื้นที่และคนที่มาซื้อต่อเป็นมือที่ 2 มือที่ 3 รวมถึงกลุ่มรีสอร์ทที่ถูกดำเนินคดีกว่า 12,000 ไร่" 

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานสัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าว

 

ปัญหาการจัดการ พื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน

 

พื้นที่ อุทยานแห่งชาติทับลาน เกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งในเรื่องของพื้นที่ระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงานรัฐมาเป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่รัฐเปิดสัมปทานป่าไม้โดยให้ชาวบ้านเป็นแรงงาน พร้อมกับส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเชิงพาณิชย์ ก่อนที่รัฐบาลจะเปลี่ยนนโยบาย เร่งรัดให้ประกาศเขตพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น โดยประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติเพิ่มเติม ทำให้พื้นที่ของอุทบายทับลาน ไปซ้อนทับกับพื้นที่ของชาวบ้านที่ใช้ทำกิน โดยไม่มีการสำรวจพื้นที่จริงก่อนการประกาศ 

 

ขณะนั้น นอกจากชาวบ้านที่เข้ามาใช้พื้นที่ปลูกพืชเชิงพาณิชย์ ก็มีกลุ่มนายทุนที่เริ่มรุกคืบเข้ามาใช้พื้นที่ และครอบครองที่ดินแล้วเช่นเดียวกัน รัฐบาลในขณะนั้นเองก็รับรู้ถึงปัญหานี้ แต่ยังคนปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานาน

 

อุทยานแห่งชาติทับลาน เกิดอะไรขึ้น? ทำไมเห็นต่าง #Saveทับลาน - เพิกถอน 2.6 แสนไร่ คืนชาวบ้าน

 

อุทยานแห่งชาติทับลาน เกิดอะไรขึ้น? ทำไมเห็นต่าง #Saveทับลาน - เพิกถอน 2.6 แสนไร่ คืนชาวบ้าน

 

ชาวบ้านเดือนร้อน หากไม่ถูกเพิกถอน ?

 

การทวงคืนผืนป่าลานส่วนหนึ่ง หากพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ถูกคัดค้านการเพิกถอนพื้นที่ อาจทำให้ชาวบ้านหลายคนต้องสูญเสียพื้นที่ทำกิน

 

"แม่มีที่ทำกินอยู่บริเวณที่ทับซ้อนแนวเขต ประมาณ 70 ไร่ อยากให้ยึดแนวเขตฯ ปี 2543ซึ่งเป็นปัจจุบันมากกว่า แต่ถ้าไม่ได้ ก็ยังต้องทำมาหากินในพื้นที่นั้นตามเดิม จะถอยร่นออกไปก็ชนเขา ขยับไปที่อื่นไม่ได้แล้ว ต้องทนอยู่ต่อไป เพราะครอบครัวทำกินในที่ดินผืนนี้มาตั้งแต่แม่ยังไม่เกิด" ตามคำกล่าวอ้างของ นางสมบูรณ์ หนึ่งในครอบครัวของผู้ที่มีส่วนได้เสียจากการเพิกถอน (อ้างอิง)

 

ชาวบ้าน ผู้มีพื้นที่ทำกิน ในพื้นที่ซ้อนทับ

 

ทางด้านของ ศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยา ม.เชียงใหม่ เป็นส่วนหนึ่งที่เห็นด้วยกับการเพิกถอนอุทยานทับลาน คืนที่ทำกินให้กับชาวบ้าน เนื่องจากชาวบ้านเข้ามาอยู่ก่อนที่จะถูกประกาศให้เป็นพื้นที่อุทยาน การ คัดค้านเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ด้วยคำว่า "ผืนป่าที่ถูกเฉือน"  จึงกลายเป็น วาทกรรมที่บิดเบือน ตามคำกล่าวอ้างของ ศ.ดร.ปิ่นแก้ว เพื่อปั่นกระแสเขียวตกขอบในหมู่ชนชั้นกลางอย่างจงใจ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว พื้นที่ของชาวบ้าน ต่างหากที่ถูกเฉือนออกไป (อ้างอิง)

 

อุทยานแห่งชาติทับลาน เกิดอะไรขึ้น? ทำไมเห็นต่าง #Saveทับลาน - เพิกถอน 2.6 แสนไร่ คืนชาวบ้าน

 

หากมองการเพิกถอนพื้นที่ป่าเป็นเกมด้านการเมืองของหลายๆ รัฐบาล ที่มักหยิบเอาประเด็นของ พื้นที่ทับซ้อน ระหว่างพื้นที่ทำกินของชาวบ้านกับหน่วยงานรัฐ "ชาวบ้านในพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบ เขาไม่ได้ตื่นเต้น เขาเฉย ๆ เขาเห็นเป็นเกมส์การเมือง เพราะความขัดแย้งทั้งหมดเป็นเรื่องอำนาจของหน่วยงานรัฐ ซึ่งไม่ได้มุ่งแก้ปัญหาทั้งการอนุรักษ์ป่า และการรับรองสิทธิในที่ดินของชาวบ้านอย่างจริงจัง แม้แต่นโยบายเปลี่ยน สปก.เป็นโฉนด เขาก็ไม่ตื่นเต้นเพราะรู้ว่าไม่ใช่โฉนดจริง" นายกฤษฎา บุญชัย เลขาธิการสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.) (อ้างอิง)

 

นอกจากนี้ จากการเปิดรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2567 ตัวแทนของชาวบ้านในเขตพื้นที่ทับซ้อนกว่า 2,500 คน ส่วนใหญ่ออกความคิดเห็น อยากให้เส้นแนวใหม่ของปี 2543 

 

ทำไมต้องเพิกถอนพื้นที่ อุทยานแห่งชาติทับลาน

 

การเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน เกิดขึ้นเนื่องจากพื้นที่บางส่วนของอุทยานทับซ้อนกับพื้นที่ของ ส.ป.ก. เพราะการใช้แผนที่ของหน่วยงานต่างๆ ใช้แผนที่คนละอัน ทำให้ชาวบ้านไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว พื้นที่ไหนสามารถใช้เป็นพื้นที่ทำกินได้ จึงเกิดเป็นโครงการ แผนที่เดียวหรือ One Map ขึ้นมา ในรัฐบาลของ ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องการจัดการที่ดินอุทยานแห่งชาติทับลานระหว่าง หน่วยงานรัฐกับประชาชน 

 

อุทยานแห่งชาติทับลาน เกิดอะไรขึ้น? ทำไมเห็นต่าง #Saveทับลาน - เพิกถอน 2.6 แสนไร่ คืนชาวบ้าน

 

ทำไมต้อง Saveทับลาน

 

เป็นป่าลานผืนสุดท้ายของประเทศ

 

เพราะ ทับลาน ถือเป็นพื้นที่ ป่าลาน ผืนสุดท้ายของประเทศไทย สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์และมีป่าลาน ซึ่งหาดูได้ยากที่มีเฉพาะบางท้องที่เท่านั้น มีต้นลานขึ้นตามธรรมชาติ เป็นเทือกเขายาวต่อเนื่องกันทำให้มีหุบเขาตามธรรมชาติ เหว และน้ำตก เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำหลายสาย นับว่าเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับสองของประเทศไทย รองจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

 

อุทยานแห่งชาติทับลาน

 

เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

 

อุทยานแห่งชาติทับลาน ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติโดยยูเนสโก ภายใต้ชื่อ "กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ปี 2548 และ ยังได้รับรางวัลอุทยานแห่งชาติ สีเขียว (Green National Parks) ระดับทอง (ดีเยี่ยม) ประจำปี 2563

 

อุทยานแห่งชาติทับลาน

 

ผืนป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่ มีพื้นที่รวม 3,846,875 ไร่ หรือ 6,155 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม พื้นที่บางส่วนของจังหวัดสระบุรี นครนายก นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์ ประกอบด้วยผืนป่า อนุรักษ์ ๕ แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ

 

ถ้าหาก อุทยานแห่งชาติทับลาน ถูกเพิกถอนพื้นที่บางส่วนของอุทยานออก อาจส่งผลกระทบให้ อุทยานแห่งชาติทับลาน ถูกถอดถอนออกจากแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติได้

 

"หากการเพิกถอนฯ สำเร็จ ก็อาจกลายเป็นแนวทางที่ทำให้เกิดการเพิกถอนพื้นที่ป่าอนุรักษ์แห่งอื่น ๆ อีก ในเมื่อพื้นที่อื่นๆ ก็มีราษฎรที่อ้างว่าขาดแคลนที่ดินทำกินเช่นกัน"

 

เพิกถอนอุทยานแห่งชาติทับลาน เปิดทางนายทุน ทำลายสมดุลธรรมชาติ

 

  • เปิด โอกาสให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตร
  • เกิดการขุด เคลื่อนย้าย ถม อัด และ เกิดการกัดเซาะพังทลายของดิน ในพื้นที่ดังกล่าวมากยิ่งขึ้น
  • เกิดการตัดไม้ ทำลายสภาพพืชพรรณในบริเวณ นั้น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิประเทศ เป็นเหตุให้ผิวดินขาดสิ่งปกคลุม ในการช่วยรักษาความ ชุ่มชื้น และช่วยดูดซึมน้ำ ซึ่งจะมีผลให้เกิดน้ำไหลบ่าไปบนผิวดินอย่างรวดเร็ว จนกัดเชาะพังทลายดินผิวหน้า ให้เสื่อมคุณภาพ
  • เกิดผลกระทบต่อการระบายน้ำตามธรรมชาติ และส่งผลต่อคุณภาพน้ำ และอาจ
  • เกิดปัญหาน้ำ ท่วมอย่างฉับพลัน ในบริเวณพื้นที่ราบทางตอนล่างตอนช่วงฤดูฝน
  • อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งที่อยู่ อาศัย หากินหรือเส้นทางอพยพเคลื่อนย้ายของสัตว์ป่า เนื่องจากกิจกรรมชองมนุษย์เข้าไปรบกวนสัตว์ป่าตาม รอบแนวเขตเกินความสามารถในการควบคุมในพื้นที่

 

อ้างอิง