ข่าว

เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10000 บาท แลกเป็น เงินสด ได้หรือไม่ สินค้าไหนใช้ไม่ได้

มีคำตอบ "เงินดิจิทัลวอลเล็ต" 10000 บาท แลกเป็น เงินสด ได้หรือไม่ ลงทะเบียนยืนยันตัวตนยังไง สินค้าประเภทไหนไม่เข้าร่วมบ้าง

เตรียมให้พร้อม สำหรับโครงการ "เงินดิจิทัลวอลเล็ต" 10,000 บาท ที่จะเปิดให้ลงทะเบียน 1 ส.ค. 2567 นี้ ซึ่งได้มีการมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ รวมไปถึงการลงรายละเอียดเงื่อนไขของการรับสิทธิ์ และมาตรการป้องกันการทุจริต การเรียกเงินคืนให้ชัดเจนขึ้น ล่าสุด นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกมายืนยันว่า ปลายปีนี้เงินถึงมือประชาชนแน่นอน ตามที่ได้ยืนยันมาตลอด 4-5 เดือนที่ผ่านมา และยืนยันได้ว่าระบบทัน เงินเพียงพอ ได้ทันในกรอบเวลาสำหรับ 50 ล้านคน 500,000 ล้านบาท 

 

 

ในขณะที่หลายคนมีการตั้งคำถามว่า เงินดิจิทัล สามารถแลกเป็นเงินสดได้หรือไม่ ซึ่ง นายจุลพันธ์ ได้อธิบายในกรณีนี้ว่า กลไกเติมเงิน 10,000 บาท นำไปใช้ผิดประเภทผิดวัตถุประสงค์หรือไปทำอะไรที่ผิดไปจากกลไกที่กำหนดไว้ นั้น ต้องยอมรับว่าโครงการในอดีตเคยเกิดขึ้น เช่น ให้เงินไป ไม่ได้ซื้อสินค้าจริง แล้วแลกเป็นเงินสดมา แต่เราก็สามารถดำเนินการตามกฎหมายฟ้องร้องคืนได้ ในกรณีที่ใครเคยทำผิดข้อจำกัดของรัฐในโครงการต่างๆ มีคดีความฟ้องร้องเรียกเงินคืน คนเหล่านั้นจะถูกตัดสิทธิ์จากโครงการนี้ ขอยืนยันว่าเราป้องกันเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเต็มที่

 

พร้อมเตือนร้านค้า และประชาชน หากมีความพยายามที่จะรับแลกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เป็นเงินสด แทนการใช้จ่ายผ่านระบบ ดิจิทัลวอลเล็ต ถือว่ามีความผิด และถูกดำเนินคดีทางอาญา รวมถึงตัดสิทธิการเข้าร่วมโครงการของรัฐในอนาคต

 

ก่อนหน้านี้ พบพฤติกรรมการทุจริตโครงการคนละครึ่ง ด้วยการสแกนจ่ายคิวอาร์โค้ดร้านค้าในโครงการฯ เสมือนการซื้อขายสินค้าจริง แต่ผู้ประชาชนแลกรับเป็น "เงินสด" แทน โดยร้านค้า จะหักเปอร์เซ็นต์เอากำไร ซึ่งในปัจจุบันกระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างดำเนินคดีและเรียกเงินคืนจากประชาชนและร้านค้ากลุ่มนี้มากกว่า 2,000 คน

 

สำหรับเงื่อนไข คุณสมบัติ ผู้มีสิทธิ์ได้รับ เงินดิจิทัล วอลเล็ต ยังยึดตามเดิม ได้แก่

 

  • สัญชาติไทย เกณฑ์อายุ 16 ปี ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2567
  • เงินฝากไม่เกิน 5 แสนบาท ภายในวันที่ 31 มี.ค. 2567
  • รายได้ไม่เกิน 8.4 แสนบาท ใช้เกณฑ์ข้อมูลรายได้ภาษีย้อนหลัง ปีภาษี 2566
  • มีบัญชีดิจิทัลวอลเล็ตสำหรับรับเงินตามนโยบาย

 

 

2 กลุ่ม ที่ไม่ได้รับ เงินดิจิทัล

 

  • ผู้ที่มีรายได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปี
  • ผู้ที่มีเงินฝากในสถาบันการเงินพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐรวมกันทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท ตั้งแต่ วันที่ 31 มี.ค. 2567
     

 

ผู้ที่มีสิทธิสามารถลงทะเบียนผ่านแอปฯ ทางรัฐ โดยสามารถยืนยันตัวตันได้ 6 ช่องทางตามนี้

 

 

 

สินค้าที่ไม่สามารถใช้ เงินดิจิทัล วอลเล็ต ประกอบด้วย

 

  • สลากกินแบ่งรัฐบาล
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ยาสูบ
  • กัญชา
  • กระท่อม
  • พืชกระท่อม
  • ผลิตภัณฑ์กัญชา-กระท่อม
  • บัตรกำนัล
  • บัตรเงินสด
  • ทองคำ
  • เพชร
  • พลอย
  • อัญมณี
  • น้ำมันเชื้อเพลิง
  • ก๊าซธรรมชาติ
  • ร้านทำผม
  • ร้านนวด
  • ร้านเสริมสวย