ข่าว

อุทยานภูหินร่องกล้า เตรียมสร้างจุดท่องเที่ยว "รอยเท้าไดโนเสาร์"

อุทยานภูหินร่องกล้า รอผลสำรวจ "รอยเท้าไดโนเสาร์" จากกรมทรัพยากรธรณี หากใช่จริง เตรียมสร้างแลนด์มาร์ค พัฒนาแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยว

กรณีพบคล้ายรอยเท้าไดโนเสาร์ ณ ลานหินบริเวณลานกางเต็นท์อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 

 

นายลำยอง ศรีเสวต หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก กล่าวว่า นักธรณีวิทยาเข้ามาสำรวจเก็บลักษณะร่องรอยเพื่อนำไปเปรียบเทียบว่าเป็นสายพันธุ์อะไร ถามผมขณะนี้ยังไม่ทราบว่าเป็นไดโนเสาร์สายพันธุ์อะไร ต้องรอยืนยันจากนักธรณีวิทยา ตอนนี้พึ่งมาเก็บตัวอย่างและทำการสำรวจ ต้องเข้ากระบวนการทางห้องแลปตามกระบวนการอีกครั้ง ซึ่งรอยเท้าที่พบจะเป็นไดโนเสาร์พันธุ์อะไร เราไม่มีความรู้จะต้องรอเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณีที่มาสำรวจไป 

รอยเท้าไดโนเสาร์
 

ขณะนี้ทางอุทยานฯพยายามกั้นบริเวณที่ทางนักธรณีวิทยามาชี้จุดว่า ตรงนี้ค่อนข้างที่จะมีความสมบูรณ์ของรอยเท้าแล้ว เป็นร่องรอยเส้นทาง แต่ละรอยเส้นทางเดินของไดโนเสาร์ แนวที่ 1 แนวที่ 2 พยายามกั้นโซนนั้น ไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปรบกวนมาก ไม่ให้เข้าไปยุ่งกับจุดที่เป็นร่องรอยจริงๆ แต่ยังสามารถเข้าไปเดินเที่ยวชมได้ ซึ่งเป็นแนวทางที่เราพอทำได้ ณ ตอนนี้ 

 

สำหรับนักท่องเที่ยวที่พอทราบข่าว ได้เริ่มเข้าไปดูบ้าง เพราะว่าเพิ่งเจอรอยเท้ามาเมื่อ 1-2 วันนี้เอง แต่ปกติแล้วเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวเคยมากางเต็นท์ที่บริเวณนั้นอยู่แล้ว พอทราบข่าวก็จะเดินลงไปดูเพราะห่างจากจุดกางเต็นท์ประมาณ 100-150 เมตรเท่านั้น ซึ่งจุดที่พบเป็นลานกางเต็นท์บริเวณลานสนของอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า และด้านล่างถัดจากที่ทำการอุทยานลงไปในส่วนที่ เคยเป็นลานจอดเฮลิคอปเตอร์มาก่อน และถัดจากลานจอดเฮลิคอปเตอร์ไปอีกนิด ก็จะพบ รอยเท้าของไดโนเสาร์ 

สำรวจจุดพบคล้ายรอยเท้าไดโนเสาร์

affaliate-2

ซึ่งจากหลักๆที่มาสำรวจที่กรมทรัพยากรธรณียืนยัน และให้ความสนใจมีประมาณ 15 รอยเท้า ส่วนสายพันธุ์ยังไม่สามารถระบุได้ ต้องไปดูในห้องแลปและห้องวิจัยอีกที โดยระบุเพียงว่าเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์ประเภทกินพืช และป็นรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อ แต่สายพันธุ์อะไร หน้าตาเป็นอย่างไร ยังไม่ทราบต้องรอเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญแจ้งยืนยันออกมา ซึ่งจากเบื้องต้นนี้พบว่ามี 2 จำพวก ที่พอจำแนกได้ อาจเป็นพวกกินเนื้อและกินพวกกินพืช 

 

หากเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์จริงๆ ต้องมีการพัฒนาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมทรัพยากรธรณี พัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องของการศึกษาธรณีวิทยาและโบราณคดี ตลอดจนการพบรอยเท้าไดโนเสาร์ ซึ่งสามารถพัฒนาได้ง่าย และเข้าถึงได้ง่ายมากกว่าภูหินร่องกล้าอยู่ฝั่ง จังหวัดเลย บริเวณลำห้วยหมันแดง ที่เมื่อปี 49 ปี50 มีการยืนยันแล้ว ค้นพบประมาณ 10 รอยเท้าอยู่ในป่าลึก แต่จุดนั้นไม่รับความสนใจมากเท่าไหร่ อยู่ในป่าลึกและนักท่องเที่ยวเข้าถึงได้ยากมาก ซึ่งจุดลำห้วยหมันแดง ได้มีการขึ้นทะเบียนไว้แล้วว่า เป็นแหล่งโบราณคดี ของกรมทรัพยากรธรณี 

 

ส่วนภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก จุดดังกล่าว รายละเอียดจะเป็นอย่างไรต้องอยู่ที่ฝ่ายบริหารที่จะออกความเห็นมาอีกครั้งหนึ่ง อาจด้วยเป็นเรื่องของการจำกัดด้านงบประมาณ ระยะเวลา แต่ถ้าเป็นการยืนยันว่า เป็นรอยเท้าไดโนเสาร์จริงๆ ก็พร้อมที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว 

สำรวจจุดที่พบคล้ายรอยเท้าไดโนเสาร์