ข่าว

83 ชั่วโมง ปฏิบัติการช่วย 3 ชีวิต ติด อุโมงค์รถไฟดินถล่ม เปิดพิกัด 3 จุด ล่าสุด

28 ส.ค. 2567

กว่า 83 ชั่วโมง กับ ปฏิบัติการช่วยเหลือ 3 ชีวิต ติดภายใน อุโมงค์รถไฟความเร็วสูง หลังดินถล่ม เปิดพิกัด 3 จุด และสัญญาณชีพ ล่าสุด

กว่า 83 ชั่วโมง กับปฏิบัติการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย 3 ราย ที่ติดอยู่ภายใน อุโมงค์รถไฟความเร็วสูง จ.นครราชสีมา ภายหลังเกิดดินถล่มลงมา ล่าสุดเวลา 07.00 น. วันนี้ (28 ส.ค. 2567) ยังสามารถจับสัญญาณชีพของทั้ง 3 คนได้ โดยรูปที่แสดงผลจากเครื่อง Life Detecto จะเป็นรูปปิรามิดคว่ำ จุดยอดพีระมิด คือ จุดที่เครื่อง Life Detecto ตั้งอยู่ ดังนั้นบุคคลที่ปรากฏอยู่ใกล้กับยอดพีระมิดจึงเป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ทีมกู้ภัยมากที่สุด ซึ่งคนแรกล่าสุดห่างจากทีมกู้ภัยเพียง 1.9 เมตร คนที่ 2 อยู่ห่างประมาณ 8 เมตร และคนที่ 3  อยู่ห่าง 14 เมตร 

 

 

 

เปิดพิกัด 3 จุด ที่ตรวจพบสัญญาณชีพคนงาน

 

จุดที่ 1 คาดว่าเป็น แรงงานพม่า ที่อยู่ภายในรถดั้ม ซึ่งคนนี้จากการแสดงผลของเครื่อง Life Detecto พบว่า เครื่องซึ่งไม่มีสีชมพูในร่างกาย จะมีด้านขวามืออธิบายว่า Storng คือร่างกายแข็งแรง ส่วนหาเหตุที่ แรงงานคนนี้ยังแข็งแรงอยู่ อาจจะมาจากภายในรถมีน้ำและอาหารอยู่ส่วนหนึ่ง ที่ใช้ในการประทังชีวิต

 

จุดที่ 2 คาดว่าน่าจะเป็นโฟร์แมน ผู้ควบคุมงานเครื่อง Life Detecto แสดงผลเป็นรูปสีชมพูอยู่ในร่างกายนั่นหมายความว่าตรวจพบชีพจรแต่ไม่มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งบุคคลนี้น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะจากคำบอกเล่าของคนงาน ในช่วงเกิดเหตุ จังหวะที่ดินได้ถล่มลงมา โฟร์แมนคนนี้ได้พยายามหลบเข้าไปล้อหลังของรถดั้ม ถึงแม้ว่าจะมีรถดั้มช่วย กำบังจากเศษหินและดิน แต่ในจุดนั้นไม่มีน้ำและอาหาร 

 

จุดที่ 3 คาดว่าจะเป็นแรงงานชาวจีนที่ขับรถแม็คโคร ซึ่งบุคคลนี้เครื่อง Life Detecto แสดงผลมีรูปสีชมพูอยู่ในร่างกายนั่นหมายถึงมีสัญญาณชีพจรแต่ไม่ได้มีการขยับร่างกาย 

 

 

3 จุด คนงานติดอุโมงค์

 

affaliate-2

ทั้งนี้มีรายงานว่า ตลอดทั้งคืนคนงานของโครงการดังกล่าวได้พยายาม สร้างอุโมงค์จากเหล็กไอบีม ให้มีขนาด 3 เมตร และต้องมีความคงทนแข็งแรง เหมาะสมสำหรับเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่จะเข้าไปช่วยเหลือ ในขณะเดียวกันทางด้านทางเจ้าหน้าที่กู้ภัย ก็สับเปลี่ยนหมุนเวียนการเข้าไปสแตนด์บายบริเวณภายใน อุโมงค์ แต่จนถึงณขณะนี้ก็ยังไม่สามารถช่วยผู้ประสบภัยออกมาได้

 

โดยในช่วงเช้าวันนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จะเดินทางลงพื้นที่ เพื่อติดตามความคืบหน้า โดยเชื่อว่าในวันนี้จะสามารถนำผู้ประสบภัยรายแรกออกมาได้

 

 

อุโมงค์รถไฟ

อุโมงค์รถไฟ

 

 

ภายหลังที่ นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งนายอำเภอ พร้อมด้วยทีมกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและทางบริษัทเจ้าของโครงการมีการประชุมวางแผนงานในช่วงเช้าวันนี้เสร็จสิ้น นายชัยวัฒน์ ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวเผยว่าเช้าวันนี้มีการพูดคุยกันอยู่ 3 ส่วนเรื่องเกี่ยวกับแนวทางการปฎิบัติงานโดยแบ่งงานออกเป็น 

  1. โครงสร้างของอุโมงค์  
  2. กู้ภัย 
  3. สายแพทย์ 

 

 

แนวทางการปฎิบัติงาน

 

1. สายวิศวะกรรมโดยจะใช้วิธีการสร้างอุโมงค์ซ้อนอุโมงค์เนื่องจากว่าเพดานด้านบนเห็นแสงสว่างแสดงว่าดินมีช่องว่าง ซึ่งต้องปิดรอยรั่วตรงนี้ไม่ให้ดินถล่มลงมาอีก โดยจะใช้ปูนซีเมนต์ขึ้น

 

2. วิธีการที่จะทำไม่ให้ดินล่วงลงมาต้องฉีดคอนกรีตเลี้ยงบริเวณเนินดินไม่ให้สไลด์หากเจาะเข้าไปโดยไม่มีคอนกรีตอาจทำให้ดินสไลด์ลงมาได้ ซึ่งเมื่อสักครู่ที่ผ่านมามีการหยุดการขุดและไปทำอุโมงค์ซึ่งจากการพูดคุยและเสนอแนะให้มีการทำควบคู่กันไป ฉีดปูน กั้นร่อยรั่ว สร้างอุโมงค์ 

 

3. เรื่องของกู้ภัยจะมีการเตรียมความพร้อม เพราะขณะนี่ทีมกู้ภัยอยู่ห่างจากผู้ประสบภัยรายแรกเพียง 1.2 เมตร ซึ่งกำลังเร่งขุดดินเข้าไปได้ หากเจอโลหะ หรือเจอผู้สูญหายจะต้องว่างแผนว่าจะส่องกล้องเข้าไปอย่างไร 

 

4. ให้กู้ภัยไปประเมินปากที่ทำอุโมงค์ซ้อนอุโมงค์แพทย์สามารถเข้าให้น้ำเกลือได้หรือไม่ ถ้าทำได้ก็จะทำเป็น วอมโซนที่แพทย์จะทำงานได้ปลอดภัย ถ้าต้องขนย้ายได้ ก็จะเร่งทำหากจำเป็นต้องใช้ เฮลิคอปเตอร์ ก็ต้องดำเนินการเพราะระยะจะใกล้กว่าใช้รถ 

 

 

จากการตรวจความพร้อมทั้งวิศกรรมโครงสร้าง สายกู้ภัย สายการแพทย์

 

ตอนนี้การปฏิบัติงาน ล่าสุดสามารถหาวิธีส่งสายช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ แต่ความกังวล เรื่องหากมีฝนตกลงมาอาจจะเป็นอุปสรรคเนื่องจากกลัวว่าน้ำฝนจะไหลทะลุเข้ามา ให้ต้องแก้ปัญหาอีก และเพิ่มภาระงานมากขึ้น 

 

ทั้งนี้ ยืนยันว่าจะพบคนแรกเพียง 1.2 เมตร ซึ่งระยะดังกล่าวเป็นการใช้สแกนทั้งซ้ายและขวาจุดที่พบผู้สูญหายอาจจะมีระยะไม่เท่ากันและทั้ง 3 คนก็ยังมีสัญญาชีพอยู่ เชื่อว่าตอนนี้แนวทางการปฎิบัติงานทางเจ้าหน้าที่มาถูกทางแล้ว

 

นอกจากนี้ นายชัยวัฒน์ ยังมีการโทรศัพท์ปรึกษา "หมอภาคย์" พ.อ.นพ.ภาคย์ โลหารชุน ซึ่งเป็นหมอที่เคยช่วยหมูป่า ที่ จ.เชียงราย เนื่องจากว่ามีประสบการณ์ในการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว ซึ่งหมอภาคย์แนะนำให้ดำเนินการเรื่องหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน โดยร่วมกับโรงพยาบาลมหาราช โรงพยาบาลสุรนารี และ โรงพยาบาลปากช่องนานา ซึ่งจะต้องปรึกษาทั้งสามโรงพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ซึ่งหากแพทย์ทั้งสามโรงพยาบาลสามารถมาที่จุดประจำการได้ก็เป็นเรื่องดี ซึ่งในเบื้องต้นมีโรงพยาบาลปากช่องนานาประจำการอยู่แล้ว