ข่าว

เปิด 2 แนวทาง แผนรับตัวคนงานรายแรก ออกจากอุโมงค์รถไฟ ก่อนนำส่ง รพ.

28 ส.ค. 2567

เปิด 2 แนวทาง แผนรับตัวคนงานรายแรก ออกจากอุโมงค์รถไฟ เจ้าหน้าที่สแตนบายรถฉุกเฉิน-เฮลิคอปเตอร์ นำส่งโรงพยาบาล

28 ส.ค. 2567 ความคืบหน้าการช่วยเหลือคน 3 คนงาน เหตุดินถล่มอุโมงค์รถไฟความเร็วสูง จ.นครราชสีมา อัปเหตุเมื่อเวลา 14.50 น. ภายหลังจากที่ได้รับรายงาน ทางทีมกู้ภัยฯ ได้นำท่อเหล็กแทงเข้าไปบริเวณที่จุดคาดว่าน่าจะเป็นจุดจอดรถดัมพ์ หรือรถบรรทุก ซึ่งเมื่อแทงเหล็กเข้าไปก็กระทบเข้ากับวัตถุบางอย่าง ที่คาดว่าน่าจะเป็นรถดัมพ์ที่ทีมกู้ภัยตามหา จึงได้แจ้งทีมแพทย์เข้าไปสแตนบายภายในอุโมงค์

ภายหลังจากได้รับคำสั่งทีมแพทย์ได้เตรียมความพร้อม ก่อนที่จะขึ้นรถกู้ภัย ของมูลนิธิสว่างวิชชาธรรมสถาน เข้าไปด้านในอุโมงค์จำนวน 2 คัน

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้พบจุดที่คาดว่าภายในรถคันดังกล่าวนั้นมีแรงงานเมียนมา ซึ่งเป็นผู้ประสบเหตุรายแรกติดอยู่ เบื้องต้นอยู่ระหว่างตรวจสอบเพื่อความแน่ชัด โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังเร่งทำลายก้อนหินขนาดใหญ่ ก่อนจะส่องกล้องไปตรวจสอบต่อไป ว่ามีผู้สูญหายอยู่ภายในหรือไม่ ทั้งนี้ยืนยันว่า ไม่มีเสียงเคาะกระจก
 

เปิด 2 แนวทาง แผนรับตัวคนงานรายแรก ออกจากอุโมงค์รถไฟ ก่อนนำส่ง รพ.

ขณะที่ด้านนอกทางทีมกู้ภัยอีกชุดก็ได้มีการเตรียมเปลสนามและอุปกรณ์ ที่ใช้ในการกู้ชีพฯ เข้ามาในพื้นที่ด้วยเช่นเดียวกัน

ด้าน นพ.สุผล ตติยนันทพร นายแพทย์สาธารณสุขประจำจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า รถมูลนิธิฯ ที่นำทีมแพทย์เข้า ไปด้านในอุโมงค์ เป็นรถที่มีแพทย์เฉพาะทาง ที่มีความสามารถในการประเมินอาการ และมีความชำนาญสูง นอกจากนี้ภายในรถยังมีอุปกรณ์ที่จำเป็นในการกู้ชีพอย่างครบครัน
 

เปิด 2 แนวทาง แผนรับตัวคนงานรายแรก ออกจากอุโมงค์รถไฟ ก่อนนำส่ง รพ.

affaliate-1

สำหรับขั้นตอนการส่งตัว ของผู้ป่วยนั้น มีด้วยกัน 2 ช่องทาง คือทางบกและทางอากาศ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยด้วย ซึ่งถ้าเป็นกรณีทางบก จะนำผู้ป่วยขึ้นรถและนำไปส่งที่โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา ซึ่งมีศักยภาพสูงสุดในขณะนี้ โดยระหว่างทางได้เตรียมโรงพยาบาลสีคิ้วไว้ด้วย เผื่อผู้ป่วยมีภาวะเร่งด่วน ที่จะต้องช่วยเพื่อเติมศักยภาพในการรักษานอกจากภายในรถ

แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีความ stable ก็จะมีรถตำรวจน้ำทาง เดินทางตรงไปที่โรงพยาบาลมหาราช ส่วนกรณีที่จะต้องเดินทางด้วยทางอากาศนั้น ภายหลังจากที่มีการตัดสินใจร่วมกันก็จะนำผู้ป่วยขึ้น เฮลิคอปเตอร์ เพื่อไปลงที่สนามกีฬาเมือง ก่อนจะนำตัวขึ้นรถกู้ชีพเพื่อนำส่งโรงพยาบาลมหาราชฯ

เปิด 2 แนวทาง แผนรับตัวคนงานรายแรก ออกจากอุโมงค์รถไฟ ก่อนนำส่ง รพ.

 

สำหรับภายในรถกู้ภัยที่เข้าไปช่วยมีอุปกรณ์ช่วยชีวิตครบครัน ทั้งยาฉุกเฉิน อุปกรณ์จำเป็น ที่ต้องช่วยชีวิต สำหรับการประเมินอาการ ทีมช่วยเหลือและแพทย์เฉพาะทางจะเป็นผู้ประเมินในลำดับแรก ว่ามีความรุนแรงของอาการบาดเจ็บมากน้อยแค่ไหน และจะรีบตัดสินใจ ก่อนจะรายงานมาอย่างศูนย์อำนวยการร่วมด้วยวิทยุสื่อสาร เพื่อทำการพิจารณาอีกครั้งว่าจะเดินทางด้วยทางบกหรือทางอากาศ

สำหรับการช่วยเหลือในภาวะดินถล่มแบบนี้ คาดการณ์ว่าผู้ป่วยอยู่ภายในรถอาการที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องของอากาศ และอาการขาดน้ำ ซึ่งอาจจะส่งผลให้ เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ อันเนื่องมาจากผ่านระยะเวลาหลายวัน ซึ่งภายในรถของเรามีสารน้ำไว้ครบครันหมดแล้ว แต่ว่าถ้าเป็นผู้สุดท้ายที่ไม่ได้อยู่ในรถ สิ่งที่ต้องประเมินร่วมด้วย คืออาการเกี่ยวกับอวัยวะกระดูกแตกหัก

ส่วนเรื่องอาหารนั้นโดยปกติแล้วคนเราสามารถขาดอาหารได้ 3-4 วัน จึงคิดว่าผู้ป่วยน่าจะยังทนไว้แต่อีกสิ่งที่น่าเป็นห่วงคืออากาศเพราะถ้าหากผู้ป่วยอยู่ภายในรถ เรื่องอากาศมีความจำกัดอยู่ในห้องโดยสารรถยนต์ อาจจะมีอากาศเสีย หรือคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเราจะต้องเตรียมพร้อม ในการช่วยเหลือ ในปัจจัยพวกนี้ด้วย ซึ่งข้อจำกัดของอากาศถือว่ามีผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก ประกอบกับภาวะการขาดน้ำจะทำให้มีผลกับเลือดที่อาจจะเป็นกรด หรือด่าง ส่งผลให้เลือดผิดปกติไป
 

เปิด 2 แนวทาง แผนรับตัวคนงานรายแรก ออกจากอุโมงค์รถไฟ ก่อนนำส่ง รพ.


ต่อมา 16.20 น. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า หากเอาคนงานออกมาได้ ต้องประเมินก่อนว่าจะเคลื่อนย้ายอย่างไร เราเชื่อมั่นว่าจะช่วยชีวิตคนให้ได้ สัญญาณต่างๆ ที่เราตรวจจับได้ ตอนนี้เขาติดอยู่ในรถดัมพ์ ยังไม่เห็นคน มีการตอบสนอง มีสัญญาณชีพ ส่วนกรณีทั้ง 3 คน มีสัญญาณชีพ ที่ไม่เท่ากัน สันนิษฐานว่าเป็นเพราะระยะทาง ส่วนรถพยาบาลที่เข้าไปด้านใน เพื่อเตรียมพร้อมทุกอย่าง เซฟทั้งคนกู้ภัยฯ และผู้ประสบภัยด้วย