ข่าว

มวลน้ำทะลักอ่วม น้ำท่วมอยุธยา 5 อำเภอ อดีต ผอ.โรงเรียน วอนรัฐแก้ปัญหาซ้ำซาก

มวลน้ำทะลัก อยุธยาอ่วม น้ำท่วม 5 อำเภอ อดีต ผอ.โรงเรียน วอนรัฐบาลแก้ปัญหาซ้ำซาก ร้อง ยกพื้นบ้านสูง หมด 4 ล้านบาท ยังไม่รอด

สถานการณ์น้ำท่วม ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับผลกระทบ น้ำท่วม แล้ว 5 อำเภอ 52 ตำบล 223 หมู่บ้าน 6,031 ครัวเรือน ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.บางไทร อ.พระนครศรีอยุธยา และ อ.เสนา พบส่วนใหญ่บ้านเรือนพี่น้องประชาชน ชุมชนที่ได้รับผลกระทบอยู่ นอกแนวคันกันน้ำ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย คลองสาขาต่างๆ ที่รับน้ำจาก แม่น้ำพระยา น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมมาประมาณ 1 สัปดาห์ 

 

 

โดยระดับน้ำวันนี้เริ่มมีปริมาณสูงขึ้นกระมา 10 - 20 เซนติเมตร หลังจาก เขื่อนเจ้าพระยา มีการระบายน้ำเพิ่มการระบายน้ำ อยู่ที่ 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พบว่าใน พื้นที่ หมู่ที่ 3 ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา พบว่าบ้านเรือนพี่น้องประชาชนในชุมชนหลายร้อยหลังคาเรือน ถูกน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมมาประมาณ 1 สัปดาห์ 

 

 

น้ำท่วมอยุธยา

 

 

ชาวบ้านเปิดเผยว่า น้ำขึ้นมาประมาณ 1 สัปดาห์ ตอนแรกขึ้นมาแล้วก็ลง แล้วก็ขึ้นมาตอนนี้ขึ้นแล้วยังไม่ลง และขึ้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง บ้านตนเองขนาดอยู่ดอนกว่าชาวบ้านก็ถูกน้ำท่วมแล้ว 50 - 60 เซนติเมตร ตอนนี้เริ่มได้รับผลกระทบ หญ้าพืชผักที่จมน้ำเริ่มเน่า น้ำเริ่มคัน ตอนนี้ระแวกนี้น้ำท่วมใต้ถุนบ้านแล้วทุกหลัง ต้องมาลุ้นว่าปีนี้จะหนักเหมือนปีที่แล้วหรือเปล่าที่เหลือคืบเดียว จะถึงพื้นบ้าน ภาวนาอย่าให้เหมือนปีที่แล้ว

 

น้ำท่วมอยุธยา

น้ำท่วมอยุธยา

 

 

พ่อเมืองกรุงเก่าสั่งตรวจสอบเขื่อนกั้นน้ำเสนา

 

นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดว่า หลังจากเขื่อนเจ้าพระยาเร่งระบายน้ำออกท้ายเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำน้อยที่รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่ อ.เสนา สูงขึ้นต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการป้องกันพื้นที่ตลาดเสนา ที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและจะถูกน้ำท่วมเป็นจุดแรกๆ หากมีการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา โดย ตลาดเสนา หรือ ตลาดบ้านแพน มีเขื่อนป้องกันน้ำ จะเป็นแนวป้องกันน้ำเข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจของอำเภอเสนา และมีบางส่วนได้ทรุดตัว

 

 

ทางเทศบาลฯ ได้ดำเนินการปั้นคันดินสูง 2 เมตร พร้อมจัดสร้างบ่อพักน้ำขนาดใหญ่ เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่จะระบายออกสู่แม่น้ำน้อย ซึ่งขณะนี้ได้เร่งดำเนินการปั้นคันดินป้องกัน ต่อเนื่อง ด้าน สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่และการป้องกันพื้นที่สำคัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางจังหวัดได้มีแผนการป้องกันไว้แล้ว และได้กระชับให้ทุกหน่วยงาน ประสานความร่วมมือในการป้องกัน และดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม รวมถึงแจ้งข่าวสารให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง

 

 

น้ำท่วมอยุธยา

 

 

อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวอนรัฐบาลแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก

 

เขื่อนเจ้าพระยา ปรับเพิ่มการระบายน้ำลงสู้พื้นที่ท้ายเขื่อน อยู่ในอัตรา 1,500 ลบ.ม./วินาที เพื่อเร่งระบายมวลน้ำ จากพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือลงสู่อ่าวไทย ส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ ภายในแม่น้ำน้อย คลองสาขาต่างๆที่รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ล้นตลิ่ง เข้าท่วมในพื้นที่ อ.บางบาล เสนา ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 50 ซม. ถึง 1.50 เมตร

 

โดยพบว่าที่ชุมชนวัดตะกู ม.7 ต.วัดตะกู อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ ปริมาณน้ำจากคลองบางหลวง ได้ล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมใต้ถุนบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมคลอง ระดับท่วมสูง 50ซม.-1.50 เมตร บางช่วงที่เป็นพื้นที่ต่ำน้ำไหลข้ามถนนทางเข้าชุมชนแล้ว บ้านเรือนประชาชนบางส่วนเป็นบ้านแบบใต้ถุนสูง บางบางบ้านดัดแปลงชั้นล่างเป็นที่อยู่อาศัย ต้องเก็บของข้าวของขึ้นเอาไว้ที่สูงให้พ้นระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น 

 

ที่บ้านเบ็ญจพร หมู่ที่ 7 ต.วัดตะกู อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา บ้านของ นายพรศักดิ์ ชมบุหงา อายุ 71 ปี อดีต ผู้อำนวยการโรเรียนบางบาล ที่ลานหน้าบ้านมีการปรับพื้นที่สูงกว่าถนนทางเข้าชุมชนประมาณ 1.50 เมตร พร้อมกับตัวบ้านที่สูงจากถนนอีก 2 เมตร ภายในบ้านยังคงมีคราบน้ำท่วมตั้งแต่ปี 2554 และปี 2565 โดยข้าวของเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่างๆมีการหนุนสูงเอาไว้ประมาณ 1 เมตร ยังไม่ได้ขนเอาลงมา 

 

 

น้ำท่วมอยุธยา

 

 

นายพรศักดิ์ บอกว่า ตนเองเป็นชาว อ.บางบาล เป็นอดีตข้าราชการครู ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากมาตลอดบางปีท่วมน้อย บางปีท่วมมาก ต้องปรับเปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่ซ่อมแซมบ้านหลังน้ำท่วม ปรับปรุงบ้านเพื่อหนีน้ำท่วม ถมดินบริเวณบ้าน ทำรั้ว ยกบ้านให้สูง ต้องกู้เงินจากสหกรณ์อมทรัพย์ครู ทั้งมาซ่อมแซมและปรับปรุงบ้านเพื่อสู้กับน้ำท่วมเรื่อยมา ใช้เงินประมาณ 4 ล้านบาท 

 

จนเมื่อปี 2565 น้ำท่วมสูงกว่า 2554 ถึง 30 ซม. ตนเองถึงแม้นจะยกพื้นที่บริเวณรอบบ้าน ทำบ้านให้สูงขึ้น ยังถูกน้ำท่วมถึงพื้นบ้าน ต้องหาโต๊ะ อุปกรณ์ต่างๆ มาขนของเอาไว้ที่สูง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ตั้งแต่ 2565 ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ยังไม่ได้ขนของลง สภาพบ้านจะระเกะระกะอย่างที่เห็นไม่สวยงาม เหมือนที่ฝันไว้ว่าหลังเกษียณราชการจะใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน 

 

อยากจะฝากถึง นายกรัฐมนตรี นักการเมืองหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยากให้หาทางแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากให้ชาวบ้าน จะลงทุนด้วยงบประมาณเท่าก็ทำ จะได้ไม่ต้องมาเสียงบประมาณในการดูแลเยียวยาชาวบ้าน ซ่อมแซมถนน ให้สิ้นเปลืองงบประมาณ

 

 

 

 

โดย : สุทธิพร กองสุทธิผล

 

ข่าวยอดนิยม