ข่าว

เปิด 4 ข้อสังเกต น้ำท่วมพะเยา เผย สิ่งก่อสร้างที่ขวาง รุกรานทางน้ำตั้งแต่ต้น

18 ก.ย. 2567

อาจารย์ ม.มหาสารคาม เปิด 4 ข้อสังเกต สาเหตุน้ำท่วมพะเยา เผย สิ่งก่อสร้างที่ขวาง รุกรานทางน้ำตั้งแต่ต้น สื่อเก่าแฉ ขบวนการงาบป่า

17 ก.ย. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Chainarong Setthachua" เปิด 4 ข้อสังเหตเบื้องต้น ซึ่งคาดว่าเป็นสาเหตุของ "น้ำท่วมพะเยา" โดยระบุว่า

 

ข้อสังเกตเบื้องต้นสาเหตุน้ำท่วมหน้ามหาวิทยาลัยพะเยา นอกจากฝนตกแล้ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศควรเป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณาเหตุน้ำท่วมที่หน้ามหาวิทยาลัยพะเยา เมื่อรุ่งสางวันนี้ จากการตรวจเช็ค Google map มีประเด็นที่เป็นข้อสังเกต ดังนี้

 

1.มีน้ำห้วยสองสายที่ไหลมาบริเวณน้ำท่วม คือ หนองเม็ง-นาปอย ซึ่งเป็นน้ำห้วยที่ยาวที่สุดในโซนนี้ และห้วยแม่กาหลวงที่ไหลไปบรรจบกันที่หน้ามหาวิทยาลัยพะเยา ก่อนไหลงกว๊านพะเยา ซึ่งเป็นจุดน้ำไหลหลากรุนแรง

 

เปิด 4 ข้อสังเกต น้ำท่วมพะเยา เผย สิ่งก่อสร้างที่ขวาง รุกรานทางน้ำตั้งแต่ต้น

 

2.ทางต้นน้ำของห้วยหนองเม็ง-นาปอย มีอ่างเก็บน้ำห้วยตูบขอบ และฝายเล็กๆ (ในวงกลมสีเหลือง) 

 

เปิด 4 ข้อสังเกต น้ำท่วมพะเยา เผย สิ่งก่อสร้างที่ขวาง รุกรานทางน้ำตั้งแต่ต้น

3.บริเวณทางตอนบนของห้วยกาหลวงมีการก่อสร้างอุโมงค์โครงการรถไฟทางคู่คร่อมลำห้วยแม่กาหลวง น่าจะมีการถมลำน้ำจนรถบรรทุกวิ่งได้ (ภาพ 3) เมื่อเกิดน้ำมา ถนนดังกล่าวก็กลายเป็นเขื่อนย่อมๆ และบริเวณทางทิศใต้ของถนนก็กลายสภาพเป็นอ่างเก็บน้ำที่น้ำสะสมในปริมาณมาก ซึ่งต่อมาได้มีคนถ่ายภาพมุมสูงพบว่าถนนนั้นขาดหลังเกิดเหตุการณ์ น้ำไหลหลาก ชมภาพถนนขาดได้จากเพจ คนอนุรักษ์  

 

 

ขณะเกิดเหตุน้ำไหลหลากลงมา ในตอนเช้า ผู้ใช้เฟสบุ๊ครายหนึ่งระบุว่า น้ำไหลหลากมาจากเขื่อนแตกซึ่งสาเหตุอาจมาจาก 2 หรือ 3 ก็ได้ และอาจเข้าใจผิดว่าเขื่อนพัง ดูคลิปคลิก 

 

4.หน้ามหาวิทยาลัยพะเยาที่เรียกกันว่ากาดหลุม  บริเวณนี้เป็นที่ สปก.  หลังมีมหาวิทยาลัย บริเวณนี้มีการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า และหอพักหนาแน่นทั้งบริเวณห้วยแม่กาหลวงที่อาจสร้างรุกล้ำหรือกีดขวางทางน้ำ รวมทั้งถนนที่ข้ามลำน้ำที่ทำทางไหลของน้ำแคบมาก

 

ภาพแผนที่ทั้งหมดเป็นแผนที่จากการตรวจเช็คจาก Google map ในเบื้องต้นเพื่อตั้งข้อสังเกตในกรณีน้ำไหลหลากหน้ามหาวิทยาลัยพะเยาในครั้งนี้เท่านั้น ส่วนความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลต้องมีการตรวจเช็คซ้ำจากพื้นที่จริงอีกครั้ง เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งอาจมาจากหลายสาเหตุรวมกัน และหาแนวทางป้องกันและแก้ปัญหาต่อไป

affaliate-2

 

นิเวศวิทยาการเมืองเรื่องภัยพิบัติน้ำท่วมหน้า ม.พะเยา จะเข้าใจภัยพิบัติที่เกิดหน้ามหาวิทยาลัยพะเยา เมื่อรุ่งสางวานนี้ได้ นอกจากการดูสิ่งก่อสร้างที่ขวางและรุกรานทางน้ำตั้งแต่ต้นน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำ ไซต์งานและการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟทางคู่ อาคารพาณิชย์ หอพัก โรงแรม ห้างสรรพสินค้า สะพานที่แคบนิดเดียวแล้วจนน้ำไหลได้น้อย เรายังต้องดูประวัติศาสตร์การทำลายธรรมชาติในบริเวณนี้ด้วย

 

แต่เดิม บริเวณนี้คือป่า มีการประกาศพื้นที่ป่าบางส่วนเป็น สปก. เมื่อมีมหาวิทยาลัยนเรศวรก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยพะเยามาตั้ง ป่าหายไปจำนวนมากจากขบวนการงาบป่า

 

สื่อท้องถิ่นภาคประชาชนผู้ที่คร่ำหวอดกับข่าวเมืองพะเยาคนหนึ่งบอกว่า มีขบวนการงาบป่าโดยจ้างชาวบ้านล้มป่าตอนกลางคืน ค่าจ้างไร่ละ 6,000 บาท และมีการย้ายหมุด สปก. แล้วเอาที่ไปขาย คนที่จ้างก็คือผู้มาใหม่ (new comers) และมีเจ้าหน้าที่คอยตีกิน จนกลายเป็นข่าวใหญ่ที่หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในขณะนั้น คือ พะเยารัฐ ได้เจาะลึกและพาดหัวข่าวต่อเนื่อง ขณะที่ปัจจุบัน พื้นที่หน้ามหาวิทยาลัย โดยเฉพาะกาดหลุมถูกทำให้กลายเป็นเมืองไปแล้ว

 

ปัญหาหน้ามหาวิทยาลัยจึงอีรุงตุงนังมาก จนยากจะแก้ไข แต่ก็จำเป็นต้องย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์เพื่อให้เข้าใจรากเหง้าของปัญหา ไล่มาจนถึงปัจจุบัน ไม่งั้นการแก้ปัญหาก็เหมือนตาบอดคลำช้าง

 

เปิด 4 ข้อสังเกต น้ำท่วมพะเยา เผย สิ่งก่อสร้างที่ขวาง รุกรานทางน้ำตั้งแต่ต้น

 

เปิด 4 ข้อสังเกต น้ำท่วมพะเยา เผย สิ่งก่อสร้างที่ขวาง รุกรานทางน้ำตั้งแต่ต้น