ข่าว

ออกแล้ว! ผลตรวจที่ดิน "ไร่เชิญตะวัน" พระ ว.วชิรเมธี พ้นครหารุกที่ป่าสงวน

ออกแล้ว! ผลตรวจที่ดิน "ไร่เชิญตะวัน" พระ ว.วชิรเมธี พ้นครหารุกที่ป่าสงวน

25 ต.ค. 2567

กรมป่าไม้ แถลงผลตรวจสอบ "ศูนย์วิปัสสนา ไร่เชิญตะวัน" ของ "พระ ว.วชิรเมธี" ไม่พบการบุกรุกพื้นที่นอกเหนือจากที่มีการขออนุญาต

25 ต.ค. 2567 นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ ในฐานะโฆษกกรมป่าไม้ เป็นประธานในการแถลงข่าวผลการตรวจสอบกรณีพื้นที่ที่กรมป่าไม้อนุญาตให้มูลนิธิวิมุตตยาลัยและศูนย์วิปัสสนาไร่เชิญตะวัน เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยปุย อ.เมือง จ.เชียงราย 

 

ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าว กรมป่าไม้ได้ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและมูลนิธิวิมุตตยาลัยให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 3 แปลง ได้แก่

 

  • แปลงที่ 1 เนื้อที่ 113 ไร่ 1 งาน 82 ตารางวา โดยมูลนิธิวิมุตตยาลัยได้รับการอนุญาตจากกรมป่าไม้ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566 จนถึงวันที่ 12 มีนาคม 2596 เพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ ธรรมสมโภช 750 ปี รัตนบุรีเชียงราย โรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ และเพื่อใช้เป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐาน
  • แปลงที่ 2 เนื้อที่ 14 ไร่ 3 งาน 97 ตารางวา โดยได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2566 ถึง วันที่ 22 พฤศจิกายน 2596 เพื่อเป็นสถานที่จัดตั้งวัดไร่เชิญตะวัน
  • แปลงที่ 3 เนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน 01 ตารางวา อนุญาตให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อสร้างศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน มีการขออนุญาต เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2566 ถึง 22 พฤศจิกายน 2596
     

โดยภายหลังการเข้าตรวจสอบพื้นที่ของคณะทำงานซึ่งมีเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่มูลนิธิวิมุตตยาลัย ผลตรวจสอบพบว่ามูลนิธิวิมุตตยาลัยและสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงรายได้ครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีอยู่ในขอบเขตตามหนังสือที่ได้รับอนุญาต และยังไม่พบการกระทำผิดเงื่อนไขของการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่า

 

นายบรรณรักษ์ กล่าวเพิ่มเติม โดยเงื่อนไขการอนุญาตเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่เขตป่าเสื่อมโทรม ผู้ได้รับอนุญาตต้องคงรักษาประเดิมไว้และฟื้นฟูให้เกิดพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ใหม่รวมถึงมีสิ่งปลูกสร้างได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่ซึ่งได้รับอนุญาต โดยกรณีการขออนุญาตเพื่อสร้างสร้างวัดกรมป่าไม้จะพิจารณาอนุญาตให้ใช้พื้นที่ไม่เกิน 15 ไร่ต่อ 1 วัด

 

ออกแล้ว! ผลตรวจที่ดิน \"ไร่เชิญตะวัน\" พระ ว.วชิรเมธี พ้นครหารุกที่ป่าสงวน

 

แต่ทั้งนี้ ส่วนของมูลนิธิวิมุตตยาลัยซึ่งได้รับอนุญาตถึง 113 ไร่เศษ เป็นการยื่นเจตจำนงขอใช้พื้นที่เข้ามา โดยมีความเห็นชอบของประชาชนข้างเคียงแล้ว และ หากมองเรื่องการอนุรักษ์ป่าเรื่องดี เพราะเชื่อว่าหลักทางพระพุทธศาสนามีส่วนช่วยให้เกิดการอนุรักษ์ป่าได้มากกว่า การจัดสรร พื้นที่ให้ประชาชนทำกินซึ่งอาจจะยากต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีอาชีพ

อย่างไรก็ตาม ในทุกปีกรมป่าไม้ได้มีการตรวจสอบการใช้ประโยชน์พื้นที่เขตป่าทุกแปลงที่ได้รับอนุญาตว่ายังเป็นไปตามเงื่อนไขที่มีการขอใช้ประโยชน์หรือไม่หากพบพื้นที่ใดกระทำผิดเงื่อนไขจะดำเนินการว่ากล่าวตักเตือน จนไปถึงการยกเลิกการอนุญาต ซึ่งกรณีที่ไม่สามารถทำตามเงื่อนไขเรื่องการฟืนฟูป่า ทางผู้ที่ขออนุญาตสามารถชดเชยเป็นเงินแทนได้ โดยมีอัตราเรียกเก็บ 12,090 บาทต่อไร่ 

 

โดยในส่วนของ มูลนิธิวิมุตตยาลัย จะเริ่มตรวจสอบและ จ่ายเงินบำรุงค่าฟื้นฟูป่าในปีหน้าโดยโดยจะเริ่มคิดประมาณ ร้อยละ 25 ของเงินทั้งหมดก่อน เพราะ เพิ่งได้รับอนุญาตให้เข้าใช้ประโยชน์พื้นที่เมื่อปี 2566 ซึ่งการฟื้นฟูป่านั้นต้องใช้ระยะเวลามากกว่าห้าปีจึงจะสามารถประเมินความอุดมสมบูรณ์ได้

 

ออกแล้ว! ผลตรวจที่ดิน \"ไร่เชิญตะวัน\" พระ ว.วชิรเมธี พ้นครหารุกที่ป่าสงวน

 

ออกแล้ว! ผลตรวจที่ดิน \"ไร่เชิญตะวัน\" พระ ว.วชิรเมธี พ้นครหารุกที่ป่าสงวน

 

ออกแล้ว! ผลตรวจที่ดิน \"ไร่เชิญตะวัน\" พระ ว.วชิรเมธี พ้นครหารุกที่ป่าสงวน

 

ออกแล้ว! ผลตรวจที่ดิน \"ไร่เชิญตะวัน\" พระ ว.วชิรเมธี พ้นครหารุกที่ป่าสงวน

ออกแล้ว! ผลตรวจที่ดิน \"ไร่เชิญตะวัน\" พระ ว.วชิรเมธี พ้นครหารุกที่ป่าสงวน