ข่าว

กทม. ปรับอัตราค่าธรรมเนียมเก็บขยะใหม่ ทำไม ปปช. ต้องจ่าย 60 บาท?

กทม. ปรับอัตราค่าธรรมเนียมเก็บขยะใหม่ ทำไม ปปช. ต้องจ่าย 60 บาท?

01 ธ.ค. 2567

ไขข้อสงสัย! กทม. ปรับอัตราค่าธรรมเนียมเก็บขยะใหม่ สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป ทำไมประชาชนต้องจ่าย 60 บาท? แล้วได้อะไรจากการจ่ายค่าทำเนียม

 

มารู้เรื่องค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะกันเถอะ ทำไมประชาชนต้องจ่าย 60 บาท โดยค่าใช้จ่ายที่  กทม. แจ้งนั้นเฉพาะบ้านที่ไม่คัดแยกขยะ สำหรับบ้านที่มีขยะไม่เกิน 20 ลิตร/วัน หรือไม่เกิน 4 กก./วัน และมีการคัดแยกขยะ ยังเก็บ 20 บาท เท่าเดิม

 

กทม. ปรับอัตราค่าธรรมเนียมเก็บขยะใหม่ ทำไม ปปช. ต้องจ่าย 60 บาท?

 

โดยการปรับอัตราค่าขยะใหม่นี้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดและคัดแยกขยะอย่างจริงจัง และมุ่งหวังให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความสะอาดและการจัดการสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน

 

กทม. ปรับอัตราค่าธรรมเนียมเก็บขยะใหม่ ทำไม ปปช. ต้องจ่าย 60 บาท?

 

 

 

 

 

ในปัจจุบัน กทม. รับภาระจัดการขยะในปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละวันต้องจัดการขยะเฉลี่ยเกือบหมื่นตัน ซึ่งมีใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะอยู่ที่ประมาณ 2,300 บาท/ตัน เมื่อปริมาณขยะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การแยกขยะจึงเป็นอีกแนวทางสำคัญที่จะช่วยลดภาระในด้านการจัดการขยะ โดยข้อบัญญัติฯ ค่าธรรมเนียมขยะฉบับใหม่ จะมีผลบังคับใช้ในอีก 180 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งคาดว่าประมาณเดือนมิถุนายน 2568

 

กทม. ปรับอัตราค่าธรรมเนียมเก็บขยะใหม่ ทำไม ปปช. ต้องจ่าย 60 บาท?

 

ค่าธรรมเนียมขยะอัตราใหม่ สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปที่มีขยะไม่เกิน 20 ลิตร/วัน (หรือประมาณ 4 กก./วัน) แบ่งเป็น 2 กรณี 

กรณีที่ 1 บ้านที่ไม่คัดแยกขยะ 

- จะมีค่าธรรมเนียมขยะ 60 บาท/เดือน (แบ่งเป็น ค่าเก็บขนขยะ 30 บาท + ค่ากำจัดขยะ 30 บาท)

 

กรณีที่ 2 บ้านที่คัดแยกขยะ 

- จะมีค่าธรรมเนียมขยะเพียง 20 บาท/เดือน เท่าเดิม (แบ่งเป็น ค่าเก็บขนขยะ 10 บาท + ค่ากำจัดขยะ 10 บาท) ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

 

สำหรับการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ เริ่มเมื่อไหร่จะมาแจ้งรายละเอียดให้ทราบกันอีกครั้งนะคะ ในเบื้องต้นจะเป็นการลงทะเบียนทางแอปพลิเคชัน BKK Waste Pay และจะต้องมีการส่งหลักฐานการคัดแยกขยะผ่านแอปพลิเคชันดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ

 

 

แล้วเราได้อะไรจากการปรับอัตราค่าธรรมเนียม?

- ลดปริมาณขยะในพื้นที่กรุงเทพฯ

- พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะทั้งระบบ

- พัฒนาคุณภาพชีวิตคนกรุงเทพฯ

- ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก