เตือน! 7 วันอันตรายปีใหม่ ดื่มแล้วขับ ตำรวจคุมเข้มทำผิดซ้ำได้รับโทษสูงขึ้น
เตือน! 7 วันอันตรายช่วงปีใหม่ "ดื่มแล้วขับ" ตำรวจคุมเข้ม 27 ธ.ค. 2567-2 ม.ค. 2568 บังคับใช้กฎหมาย เน้น 10 ข้อหา เน้นหนักเรื่องการดื่มแล้วขับหาก กระทำผิดซ้ำเป็นครั้งที่ 2 รวบรวมพยานหลักฐานส่งฟ้องต่อศาลให้ได้รับโทษสูงขึ้น
ข้อมูล 7 วันอันตรายช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย พบว่า สาเหตุหลักของการเสียชีวิตเกิดจากดื่มแล้วขับมากถึง 23.16% ในช่วงเทศกาลปีใหม่ตำรวจคุมเข้ม 27 ธ.ค. 2567-2 ม.ค. 2568 บังคับใช้กฎหมาย เน้น 10 ข้อหา เน้นหนักเรื่องการดื่มแล้วขับหาก กระทำผิดซ้ำเป็นครั้งที่ 2 รวบรวมพยานหลักฐานส่งฟ้องต่อศาลให้ได้รับโทษสูงขึ้น
พ.ต.อ.อังกูร ทวีเกตุ ผู้กำกับการจราจร กองแผนงานความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้กำหนดแผนปฏิบัติงานเทศกาลปีใหม่ 2568 ช่วงคุมเข้ม 27 ธ.ค. 2567-2 ม.ค. 2568 บังคับใช้กฎหมาย เน้น 10 ข้อหา เน้นหนักเรื่องการดื่มแล้วขับ ในปีใหม่ 2567 ที่ผ่านมามีการจับกุมข้อหาเมาแล้วขับสูงถึง 20,917 ราย ตรวจสอบประวัติผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเมาแล้วขับที่กระทำผิดซ้ำเป็นครั้งที่ 2 รวบรวมพยานหลักฐานส่งฟ้องต่อศาลให้ได้รับโทษสูงขึ้น
สำหรับผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็ก และเยาวชน ใช้มาตรการสืบสวนขยายผลไปยังร้านค้าที่จำหน่ายสุรา โดยมีบัญชีร้านค้าเสี่ยงทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และใช้มาตรการทางกฎหมายกับผู้ปกครองที่ปล่อยปละละเลย หรือสนับสนุนให้เด็ก และเยาวชนดื่มสุราตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ทั้งนี้บทลงโทษดื่มแล้วขับหากทำผิดครั้งแรก มีอัตราโทษ จำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 5,000 ถึง 20,000 บาท ทำผิดซ้ำข้อหา "เมาแล้วขับ" ภายใน 2 ปี นับแต่วันกระทำผิดครั้งแรก เพิ่มโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับ 50,000 ถึง 100,000 บาท ถูกพักใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ ถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
สถิติตัวเลขความสูญเสียในช่วงเทศกาลปีใหม่ 3 ปีย้อนหลัง
ตั้งแต่ปี 2565 เกิดอุบัติเหตุ 2,707 ครั้ง บาดเจ็บ 2,672 คน เสียชีวิต 333 ราย ปี 2566 เกิดอุบัติเหตุ 2,440 คน บาดเจ็บ 2,437 คน เสียชีวิต 317 ราย และในปี 2567 ที่ผ่านมาเกิดอุบัติเหตุ 2,288 ครั้ง บาดเจ็บ รวม 2,307 คน เสียชีวิต รวม 284 ราย
สาเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว 40.6% ตัดหน้ากระชั้นชิด 23.31% ดื่มแล้วขับ 14.29% ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ 87.01% ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด อยู่ในช่วงอายุ 30-39 ปี 19.67% ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ดำเนินงานภายใต้หัวข้อหลักในการรณรงค์ “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” ลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน และอุบัติภัยอื่น ๆ ในช่วงวันหยุด เพื่อให้ประชาชนเดินทางอย่างสุขใจ
แอลกอฮอล์หลังถูกดูดซึมเข้าร่างกาย ส่งผลต่อสื่อประสาท สูญเสียการควบคุมตัวเอง เสียการควบคุมการเคลื่อนไหวทรงตัว ถ้าได้รับแอลกอฮอล์ปริมาณมากจะกดการหายใจ ทำให้รู้สึกตัวน้อยลง และยังทำให้ตัดสินใจช้าลง เหยียบเบรกไม่ทัน ซึงการดื่มส่งผลกระทบต่อความสามารถในการขับขี่
1. มองไม่เห็นคนข้ามถนน แอลกอฮอล์ส่งผลต่อการโฟกัสของดวงตา
2. สมองสั่งเบรกไม่ทัน แอลกอฮอล์ทำให้การส่งต่อข้อมูลจากสมองสู่อวัยวะส่วนอื่นช้าลง
3. ตัดสินใจผิดพลาด แอลกอฮอล์ส่งผลต่อความสามารถในการตัดสินใจเมื่อเจอเหตุการณ์เฉพาะหน้า
4. ง่วงซึม หลับใน แอลกอฮอล์ทำให้ประสาทเฉื่อยชา
ร่วมเสอนชื่อ "คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 21"
(18.12.2024 - 09.01.25)
FB : คมชัดลึก อวอร์ด (komchadluek award)
Web : คมชัดลึก( http://awards.komchadluek.net )