ข่าว

ชาวบ้านฮือฮาพบอีกครั้ง "แสงปริศนา" เหนือฟ้าเมืองไทย

ชาวบ้านฮือฮาพบอีกครั้ง "แสงปริศนา" เหนือฟ้าเมืองไทย

22 ธ.ค. 2567

ชาวบ้านฮือฮาพบอีกครั้ง "แสงปริศนา" เหนือฟ้าเมืองไทยลักษณะเป็นแสงสีขาว มีจุดสว่างหนึ่งจุด พร้อมฝ้าลักษณะฟุ้งออกไปรอบๆ โดยมีการพบเห็นในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย

 

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลาประมาณ 19:40 น. มีรายงานผู้พบเห็นแสงปริศนาเหนือฟ้าเมืองไทย ลักษณะเป็นแสงสีขาว มีจุดสว่างหนึ่งจุด พร้อมฝ้าลักษณะฟุ้งออกไปรอบ ๆ เริ่มปรากฏให้เห็นทางทิศตะวันตกใกล้กับตำแหน่งของดาวศุกร์ จากนั้นเคลื่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อนจะหายลับไป มีผู้พบเห็นในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย 

 

ชาวบ้านฮือฮาพบอีกครั้ง \"แสงปริศนา\" เหนือฟ้าเมืองไทย

 

 

จากการตรวจสอบจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  พบว่าเมื่อเวลา 18:34 น. (ตามเวลาประเทศไทย) SpaceX บริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศในสหรัฐฯ ได้ปล่อยจรวดฟัลคอน 9 (Falcon 9) จากฐานปล่อยจรวดในฐานทัพอวกาศฟานเด็นเบร็ค (Vandenberg Space Force Base) รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา จากช่วงเวลาที่มีผู้พบเห็นแสงปริศนา ประกอบกับลักษณะของแสงกล่าว คาดว่าจะเป็นแสงที่ไอพ่นจรวดสะท้อนแสงอาทิตย์เมื่อจรวดอยู่ในอวกาศ เช่นเดียวกันกับกรณีที่มีผู้พบเห็นแสงปริศนาเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา

 

ภาพประกอบข่าว

 

สำหรับเที่ยวบินของ SpaceX ครั้งนี้มีชื่อว่า Bandwagon-2 บรรทุกดาวเทียมจำนวนมากจากลูกค้าที่เป็นหน่วยงานหรือบริษัทจากชาติต่าง ๆ เข้าสู่วงโคจรระดับต่ำรอบโลก (LEO) ตัวอย่างของดาวเทียมเหล่านี้ ได้แก่

- 425 Project SAR Sat 2 : ดาวเทียมสังเกตการณ์ทางทหาร ของกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้

- LizzieSat-2 และ LizzieSat-3 : ดาวเทียมด้านอินเตอร์เนต ของ Sidus Space บริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศในสหรัฐฯ

- ICEYE-X2 : ดาวเทียมสังเกตการณ์การณ์โลกด้วยระบบเรดาร์ ของ ICEYE บริษัทด้านการสังเกตการณ์โลก รวมถึงการผลิตและจัดการดาวเทียมขนาดเล็ก ในฟินแลนด์

- Hawk 11A,11B,11C : ดาวเทียมด้านข่าวกรองทางสัญญาณ จาก HawkEye 360 บริษัทเอกชนสหรัฐฯ ด้านการเก็บ-วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาตำแหน่งด้วยสัญญาณคลื่นวิทยุ โดยใช้เครือข่ายดาวเทียม

- Crocube : ดาวเทียมขนาดเล็กสำหรับสังเกตการณ์โลกดวงแรก ของประเทศโครเอเชีย

- LASARSat : ดาวเทียมขนาดจิ๋วสำหรับสาธิตเทคโนโลยี ของประเทศเช็กเกีย

- XCUBE-1 : ดาวเทียมขนาดจิ๋วสำหรับสังเกตการณ์โลก ของ Xplore บริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศในสหรัฐฯ

จะเห็นได้ว่าเรามีโอกาสพบเห็นแสงในลักษณะนี้ได้บ่อยยิ่งขึ้นในยุคที่เทคโนโลยีอวกาศกำลังก้าวหน้า ถือเป็นเรื่องปกติ และไม่ต้องตื่นตระหนก

 

SpaceX  Bandwagon-2

 

ที่มา - NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ