ข่าว

เช็กด่วน! วิธีช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น "ผู้ป่วยแอลกอฮอล์เป็นพิษ"

เช็กด่วน! วิธีช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น "ผู้ป่วยแอลกอฮอล์เป็นพิษ"

28 ธ.ค. 2567

เช็กด่วน! วิธีช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ผู้ป่วยแอลกอฮอล์เป็นพิษ อาการอันตรายตามระดับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด

แอลกอฮอล์เป็นพิษ คืออะไร ?
ภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ (alcohol poisoning) คือ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดในปริมาณมากและดื่มแบบรวดเร็วในช่วงเวลาสั้น ๆ ทำให้ตับไม่สามารถขับสารนี้ออกจากเลือดได้ทัน ระบบการทำงานของร่างกายรวนจนเกิดภาวะช็อกที่เป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้

 

สาเหตุของภาวะ แอลกอฮอล์เป็นพิษ

  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดจนมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนี้
  • การดูดซึมสารในร่างกายของแต่ละบุคคล
  • ปริมาณความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในแต่ละชนิดของเครื่องดื่ม
  • เพศหญิงจะมีปฏิกิริยาต่อแอลกอฮอล์ได้ไวกว่าผู้ชาย


อาการของภาวะ แอลกอฮอล์เป็นพิษ

  • สับสน
  • พูดไม่ชัด พูดไม่รู้เรื่อง
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ไม่สามารถทรงตัวได้
  • ง่วงซึม นอนหลับเยอะกว่าปกติ
  • อาเจียน
  • หายใจผิดปกติ
  • เกิดอาการชัก
  • การเคลื่อนไหวของดวงตาเร็วกว่าปกติ
  • ตัวเย็นจัด
  • ผิวหนังซีด กลายเป็นสีม่วง
  • หมดสติ ไม่รู้สึกตัว
  • เกิดภาวะกึ่งโคม่า ร่างกายไม่สามารถตอบสนองได้
  • หัวใจวายเฉียบพลัน
  • หยุดหายใจ


วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • รีบโทรแจ้งหน่วยกู้ชีพ 1669 หรือโทรแจ้งตำรวจ 191 เพื่อขอความช่วยเหลือ
  • ปลุกผู้ป่วยให้ตื่นและพยุงให้อยู่ในท่านั่ง
  • หากยังดื่มน้ำได้ ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเปล่า
  • หากผู้ป่วยหมดสติ ให้จับนอนตะแคงหรืออยู่ในท่าพักฟื้น คอยดูว่าผู้ป่วยยังหายใจอยู่หรือไม่
  • หากพบว่าหยุดหายใจให้ทำการช่วยหายใจ หรือหากพบหัวใจหยุดเต้นให้เริ่มการกู้ชีพ CPR
  • ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยอบอุ่น
  • คอยสังเกตอาการจนกว่ารถพยาบาลจะมา
  • อย่าให้ผู้ป่วยหลับ
  • ห้ามอาบน้ำให้ผู้ป่วย
  • การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากในระยะเวลาที่สั้นและเร็ว ทำให้ตับขับแอลกอฮอล์ออกจากกระแสเลือดไม่ทันจนเกิดภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ
     

ลักษณะอาการที่อาจพบและระดับแอลกอฮอล์ในเลือด

 

  • 20 – 49 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ อารมณ์ดี ผ่อนคลาย และการตัดสินใจช้าลงเล็กน้อย
  • 50 – 99 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เริ่มเสียการทรงตัว ควบคุมตัวเองได้น้อยลง และตอบสนองช้าลง
  • 100 – 199 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เดินเซ กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน
  • 200 – 299 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ คลื่นไส้ อาเจียน การรับรู้ลดลง และจำเหตุการณ์ไม่ได้
  • 300 – 399 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หมดสติ ชีพจรลดลง และอุณหภูมิร่างกายลดลง
  • มากกว่า 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีโอกาสหยุดหายใจและเสียชีวิตได้
  • การตอบสนองต่อระดับแอลกอฮอล์อาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล แม้ระดับจะน้อยกว่า 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ก็อาจเสี่ยงจะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือการนอนหลับลึกในท่าผิดปกติที่อุดกั้นทางเดินหายใจได้ เช่น การนอนคอพาดกับระเบียงจนกดทางเดินหายใจ

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี