ไม่ต้องทนนอน 'กรน' อีกต่อไป
03 ก.ย. 2558
ดูแลสุขภาพ : ไม่ต้องทนนอน 'กรน' อีกต่อไป
คุณเคยมีอาการอย่างนี้กันบ้างไหม ?
- นอนตื่นสายทั้งๆ ที่เมื่อคืนก็ไม่ได้นอนดึก
- นอนมาก ตื่นก็สาย แต่ทำไมไม่สดชื่น แถมมีอาการง่วงๆ ซึมๆ อีกต่างหาก
- หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย ความสามารถในการจำลดลง
- ตกบ่ายก็เกิดอาการหาวและอยากนอน
การนอนหลับที่ปกติเป็นเรื่องของธรรมชาติอย่างหนึ่ง รวมถึงการ “นอนกรน” แต่ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้รับรู้ว่าการ “นอนกรน” มีอันตรายต่อสุขภาพของตนเองและคนใกล้ชิดอย่างมาก จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นคน “นอนกรน” เรื่องนี้ง่ายมากๆ นั่นคือ ถามคนใกล้ชิด (ไม่ว่าจะเป็นสามี ภรรยา หรือลูกหลานก็ได้) ถ้าไม่เชื่อก็ควรให้คนใกล้ชิดบันทึกเสียงขณะหลับไว้เปิดฟังในเวลาตื่นนอนว่าเสียง “นอนกรน” ของตนรบกวนคนอื่นขนาดไหน คราวนี้แหละ รู้แน่ๆ ว่า “นอนกรน” รบกวน คนใกล้ชิดมากน้อยขนาดไหน และตนเองจะมีอันตรายอะไรบ้าง ทำอย่างไรถึงจะไม่ “นอนกรน” อีกต่อไป
อาการนอนกรน มี 2 ประเภท คือ
1.1 กรนธรรมดา (primary snoring) จะมีผลกระทบต่อคนรอบข้าง โดยเฉพาะกับคู่นอน ทำให้นอนหลับยาก เนื่องจากเสียงดัง
1.2 ภาวะก้ำกึ่งระหว่าง กรนธรรมดา และกรนอันตราย (upper airway resistance syndrome) และกรนอันตราย มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย) นอกจากจะมีผลกระทบต่อคนรอบข้างแล้ว ถ้าผู้ป่วยไม่รักษาอาจมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและอาจถึงชีวิตได้
เมื่อรู้สึกว่ามีปัญหานอนกรนหรือสงสัยว่ามีอาการหยุดหายใจขณะหลับ นอกจากปรึกษาคนใกล้ชิดที่ช่วยสังเกตอาการขณะนอนหลับแล้ว ควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะให้การตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษา ให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับท่านได้ ตามสถิติแล้ว อาการนอนกรนและการหยุดหายใจจากการอุดตันทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่พบในบุคคลที่มีน้ำหนักมากกว่ามาตรฐาน ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และเกิดมากขึ้น เมื่อสูงอายุมากขึ้น อย่างไรก็ตามแม้จะไม่พบปัจจัยเหล่านี้ผู้ป่วยก็ยังมีอาการกรนและหยุดหายใจขณะหลับ ควรพิจารณาถึงอาการและผลที่เกิดขึ้นตามมาจากการนอนที่ผิดปกติ เช่นอาการอ่อนเพลีย อาการปวดศีรษะตอนเช้า หรืออาการหมดสมรรถภาพทางเพศ หลับในช่วงกลางวันบ่อยๆ ประวัติการใช้ยา การดื่มสุรา ประวัติครอบครัว โรคความดันเลือดสูง โรคหัวใจ เป็นข้อมูลที่สำคัญในการดูและรักษา
การใช้อุปกรณ์ครอบฟันที่ช่วยจัดตำแหน่งขากรรไกร (Sleep Splints) ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีในการช่วยรักษาอาการกรน อุปกรณ์นี้ออกจะได้ผลดีในการช่วยรักษาหรือจัดการกับผู้ที่อาจจะมีปัญหาเรื่องการหยุดหายใจชั่วคราวในขณะนอนหลับด้วย (sleep apnea) ทาง VDC Dental Clinic มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาด้าน Sleep Splint ที่จะช่วยให้คุณลดอาการนอนกรนเครื่องมือที่ใช้ในการป้องกันหรือลดอาการในผู้ป่วยที่นอนกรนหรือภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ เพียงแค่พิมพ์ปาก กับทางคลินิกทันตกรรมเพื่อผลิตเครื่องมือสามารถใช้ได้ง่าย โดยสวมเครื่องมือในขณะกลับปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากเเละฟันได้
คลินิกทันตกรรมวัชรพล