ไลฟ์สไตล์

ทุบ!มรณสถานหลวงปู่ทวดในวันที่รอ'พลังศรัทธาสามัคคี

ทุบ!มรณสถานหลวงปู่ทวดในวันที่รอ'พลังศรัทธาสามัคคี

12 ก.พ. 2559

ทุบ! มรณสถานหลวงปู่ทวดในวันที่รอ'พลังศรัทธาสามัคคีชาวพุทธสร้าง' : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

            “เส้นทางเคลื่อนศพของหลวงปู่ทวด” ในหนังสือจากสถาบันทักษิณคดีศึกษาเรื่อง “ย้อนรอยเส้นทางมรณสถานหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ของ ชัยวุฒิ พิยะกูล แห่งสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ลงสำรวจและเก็บข้อมูลทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ๑๘ จุด จาก กัวลาเกอร์นาลิง รัฐเประ มาเลเซีย มาจนถึงวัดช้างให้ จ.ปัตตานี มีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
      
            ๑.ริมฝั่งน้ำสุไหงบ๊ะห์ และสุไหงเกอร์นาริงค์ ต.เกอร์นาริงค์ อ.เกอริค รัฐเประ สถานที่เรียกว่า “สะมี่มาตี้” ๒.วันโกร๊ะใน (ร้าง) ต.กั๊วะลั๊ว อ.เปิงกาลันฮูลู รัฐเประ ๓.วัดจะดาบ (ร้าง) ต.ลูการ์สือมัง อ.โกร๊ะ รัฐเประ ห่างจากสามีฮูยันมา เคยเชื่อว่าเป็นจุดพักศพ แต่การสำรวจครั้งนี้ไม่พบหลักฐาน

ทุบ!มรณสถานหลวงปู่ทวดในวันที่รอ\'พลังศรัทธาสามัคคี

            ๔.โคกเมรุ ต.บาลิงนอก อ.บาลิง รัฐเกดะห์ เชื่อว่าเป็นจุดที่เคลื่อนศพผ่านวัดบาลิงในหรือวัดศรีมหาโพธิ์ วัดบาลิงนอก หรือวัดปาลิไลย์ หยุดพักศพที่ควนสูงแห่งหนึ่งเรียกว่า “โคกเมรุ”  ๕.บุกิตสามี หรือควนพระ รัฐเกดะห์ ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ แต่การสำรวจไม่พบหลักฐานที่แน่นอนว่าตั้งอยู่จุดใด ๖.บุกิตจันดี หรือควนเจดีย์ ต.เตอร์ลอยกานัน อ.สุไหงปัตตานี รัฐเกดะห์ ที่นี่บางคนเรียกว่า “ควนฆ้อง”

            ๗.วัดเทพสุวรรณาราม หรือวัดนางแปลง ต.ปาดังแปลง อ.เปิ้นดัง รัฐเคดาห์ ปัจจุบันสถานที่พักศพหลวงพ่อทวดมีร่องรอยเป็นเนินดินสูงตั้งอยู่หลังวัดคล้ายเป็นเนินดินจอมปลวกที่ถูกพังทลายให้ราบไปกับพื้น ๘.วัดโพธิเจติยาราม หรือวัดทุ่งควาย ต.ปาดังเกอร์เบา อ.เปิ้นดัง รัฐเกดะห์ สถานที่พักศพได้สร้างเจดีย์ครอบไว้ ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าในสถูปมีอัฐิหลวงพ่อทวดบรรจุอยู่

            ๙.วัดลำปำ ต.รัมไม อ.เปิ้นดัง รัฐเกดะห์ เจ้าอาวาสเล่าว่า สถูปหรือหลักไม้แก่น ชาวบ้านเรียกว่า “เขื่อนหลวงพ่อทวด” ๑๐.ควนกันข้าวแห้ง ต.เตอกายร์คีรี อ.ปาดังเอตรัป รัฐเกดะห์ ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นจุดพักศพ ๑๑.บ้านปลักคล้า ต.นาคา อ.ปาดังเตอรัป รัฐเกดะห์ ที่พักศพตั้งอยู่ริมคลองชันใกล้กับวัดปลักคล้า (ร้าง) ที่ตั้งศพเป็นเนินดินจอมปลวก กลางเนินดินมีหลักไม้แก่นปักรูปบัวตูม ไว้เป็นหลักฐาน มีการก่อปูนล้อมรอบเนินดินเป็นรูปสี่เหลี่ยม นำรูปหล่อหลวงพ่อทวดประดิษฐานไว้ ๑ องค์ ๑๒.บ้านนาข่า ต.นาคา อ.ปาดังเตอรัป รัฐเกดะห์

            ๑๓.บ้านบางฉมัก ต.เปอร์ดู อ.ปาดังเตอร์รัป รัฐเกดะห์ สถานที่นี้ปัจจุบันอยู่ในสวนยางพาราชาวบ้าน ชาวบ้านเรียกเขื่อนหลวงพ่อทวด ๑๔.วัดดินแดง ต.กัวลานารัง อ.ปาดังเตอรัป รัฐเกดะห์ มีไม้แก่นปักเหมือนที่ผ่านมาแต่มีดินปลวกขึ้นปกคลุม มีการสร้างอาคารก่ออิฐครอบเนินดินทรงสี่เหลี่ยมและหล่อรูปหลวงพ่อทวดขนาดใหญ่ไว้กราบไหว้บูชา ๑๕.วัดไทยประดิษฐาราม ต.ปาดังสะไหน อ.ปาดังเตอรัป รัฐเกดะห์ ได้บูรณะใหม่เป็นเป็นหลักหินทรงบัวตูม สร้างศาลาก่ออิฐครอบ และหล่อรูปหลวงพ่อทวดไว้กราบไหว้บูชา ที่นี่เป็นจุดสุดท้ายในมาเลเซียก่อนเข้าไทย (สมัยก่อนยังไม่ได้แบ่งเขตอย่างนี้)

            ๑๖.บ้านถ้ำตลอด ต.เขาแดง อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ชาวบ้านเชื่อว่ามีการพักศพที่นี่ เคยมีศาลาหลวงพ่อทวดแต่ปัจจุบันหักพังไปหมดแล้ว ๑๗.วัดบันลือคชาวาส ต.ช้างให้ตก อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี และ ๑๘.ศพหลวงพ่อทวดผ่านวัดทรายขาวและเขาตังเกียบ

            อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ ได้มีการรื้อถอนมรณสถานหลวงปู่ทวด ณ ริมฝั่งน้ำสุไหงบ๊ะห์และสุไหงเกอร์นาริงค์  ต.เกอร์นาริงค์ อ.เกอริค รัฐเประ ประเทศมาเลเซีย พวกเราชาวพุทธรู้สึกเศร้าสลดและสะเทือนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างประเมินค่าทางจิตใจไม่ได้เพราะเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาที่พวกเราเคารพบูชาสืบทอดกันมานานนับพันปี และอยู่ติดตัวพวกเรามาตั้งแต่เกิด ทั้งสายเลือดและจิตวิญญาณ ยิ่งเกิดขึ้นกับ “หลวงพ่อทวด” ของพวกเราชาวพุทธทั้งสองประเทศ ที่พวกเราบูชา พวกเราเคารพ และพวกเรานับถือแต่พวกเราก็พร้อมจะอดทนเพราะเราเชื่อว่าเวลาจะสอนให้มนุษย์มีสำนึกต่อการกระทำ"

            เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ใครจะถูกใครจะผิดอย่างไรพวกเราจะพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่รื้อฟื้น จะไม่โกรธ เพราะศาสนาของพวกเราสอนให้ “อภัย” ถึงแม้จะเป็นเรื่องราวที่พวกเราไม่ควรให้อภัยก็ตาม และเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘ คณะทำงานร่วม ๒ ประเทศได้เข้าไปยังจุดรื้อถอนสถานที่มรณสถาน เพื่อหาทางเก็บกู้สิ่งปรักหักพังที่เกิดขึ้นไม่ให้สะเทือนใจกับพุทธศาสนิกชนและเพื่อเป็นการแสดงถึงการรวมพลังสามัคคีทางพุทธศาสนาของชาวพุทธทั้งสองประเทศ พร้อมทั้งประกาศให้สังคมได้รับรู้โดยทั่วกันว่า

            “ถ้าใครทำลาย รื้อถอน สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา พวกเราชาวพุทธจะร่วมกันสร้างสัญลักษณ์ ตัวแทน หรือสิ่งมงคลทางพุทธศาสนาเพื่อสืบทอดให้รุ่งเรืองกันต่อไป”


พระหลวงพ่อทวด ๓ ท สองแผ่นดิน ๕๙

            “พระหลวงพ่อทวด ๓ ท สองแผ่นดิน ๕๙” จัดสร้างขึ้น เพื่อสืบทอดพุทธศาสนาสองประเทศ เพื่อสร้างหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ เพื่อสมทบทุนเก็บกู้และบูรณะสถูปหลวงพ่อทวดที่ถูกรื้อถอน เพื่อแจกตามโครงการรวมพลังศรัทธาไทย...ใต้ร่มเย็น ซึ่งประกอบด้วย  ๑.รูปหล่อโบราณเลขใต้ฐาน ๒.พระหลวงปู่ทวดหลังเตารีดพิมพ์เล็ก ๓.เหรียญทองคำเม็ดแตง ๔.เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ และพระผงหลวงปู่ทวด

            คำว่า “๓ ท” พระครูจารุธรรมมาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอเซะห์ เจ้าอาวาสวัดธรรมศิริวราราม (กอหรา) บ้านกอหรา รัฐเกดะห์ มาเลเซีย ให้ความหมายว่า ๓ ท ย่อมาจาก ทวด ไทย ไทรบุรี โดยได้มอบหมายให้ท่านบัญชา ศรีสุวรรณ นายกสมาคมบิ๊กไบค์แห่งรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย นำคณะทำงานเดินทางไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ซึ่งเป็นเส้นทางเคลื่อนพระศพ ๙ แห่ง ประกอบด้วย วัดกอหรา, วัดปาดังแปลง, สามีฮูยัน, วัดหลวงพ่อทวดอาบน้ำ, วัดหลวงพ่อทวดอาบน้ำ AYER KALA มีสถูปซึ่งอยู่ติดกับต้นตะเคียนใหญ่, ริมฝั่งน้ำสุไหงบ๊ะห์และสุไหงเกอร์นาริงค์ บ้านวังละมัย ต.กัวลานารัง, วัดไทยประดิษฐาราม ต.ปาดังไสน, วัดช้างให้ และวัดพะโคะในฝั่งไทย
       
            ทั้งนี้เมื่อวันจันทร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ที่วัดพะโคะ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีและสงขลารวมถึงนายกเมืองหาดใหญ่ ดร.ไพร พัฒโน ร่วมเป็นประธานในพิธีพร้อมด้วยคณะสื่อมวลชนจากกทม. และที่สำคัญได้มีพิธีพลีพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่านปี ๑๔๙๗ เพื่อนำมาเป็นชนวนมวลสารโดยมีสักขีพยานสายตรงหลวงพ่อทวด “ชัยนฤทธิ์ เพ็ชรพันธุทอง” โดยได้กำหนดพิธีพุทธาภิเษกวาระแรก วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙ ณ วัดธรรมศิริวราราม (กอหรา) วาระสองวัน ๗ เมษายน ๒๕๕๙ ณ วัดพะโคะ
       
            ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญได้ที่โทร.๐๘-๗๙๙๘-๙๗๗๗

หลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ที่ต่างแดน


            วัดธรรมศิริวราราม เป็นวัดเก่าแก่ของไทย จนกระทั่งในสมัย ร.๕ ได้เกิดการผลัดเปลี่ยนให้เป็นเขตแดนของประเทศมาเลเซีย โดยวัดไทยแห่งนี้ตั้งอยู่ในชุมชนคนเชื้อสายไทยประมาณ ๑๕๐ หลังคาเรือน และมีวัดไทยเป็นแหล่งสอนหนังสือภาษาไทยให้แก่ลูกหลานคนเชื้อสายไทย
       
            ในขณะนี้ทางวัดกำลังดำเนินการก่อสร้างหลวงปู่ทวดเนื้อปูนปั้นขนาดหน้าตักกว้าง ๑๒ เมตร ความสูงประมาณ ๑๙ เมตร บนวิหารทรงไทย ซึ่งจะใช้เป็นพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ทวดสูง ๓ ชั้น ใช้งบประมาณก่อสร้างกว่า ๓๕ ล้านบาท
        
            พระครูจารุธรรมมาภรณ์  บอกว่า  หลวงปู่ทวดองค์ใหญ่จัดสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ คือ ๑.เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานหลวงปู่ทวด ๒.เพื่อเป็นที่สักการบูชาของสาธุชนทั่วไป ๓.เพื่อเป็นการยกย่องบูชาหลวงปู่ทวดให้เด่นชัดในดินแดนที่ท่านได้ละสังขาร และ๔.เพื่อความมั่นคงของพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย โดยทุกๆ ปีทางวัดจะจัดงานบุญประจำปี ๓ วัน คือ วันที่ ๑๐-๑๒ มีนาคม