ไลฟ์สไตล์

จิตรกรรมไทยจะมีทิศทางเป็นอย่างไร?? ในยุคดิจิทัล

จิตรกรรมไทยจะมีทิศทางเป็นอย่างไร?? ในยุคดิจิทัล

03 ก.ย. 2561

พานาโซนิค จัดเสวนา "จิตรกรรมไทยจะมีทิศทางเป็นอย่างไร ?? ในยุคที่อะไรๆ ก็เป็นดิจิทัล"

จิตรกรรมไทยจะมีทิศทางเป็นอย่างไร?? ในยุคดิจิทัล

“ลิงที่รอดชีวิต” รางวัลยอดเยี่ยมอันดับ 1 ครั้งที่ 20

     ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยนั้น ทำให้ได้เห็นการเกิดขึ้นและสูญสลายไปมากมาย ในแวดวงของศิลปะก็เช่นกัน ในแต่ละช่วงเวลานั้นบริบททางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมมักเข้าไปมีอิทธิพลต่อกระบวนการทางความคิดของศิลปิน ทำให้ผลงานในช่วง 20 ปีที่แล้วและปัจจุบันนี้สะท้อนให้เห็นมิติของการดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลเช่นนี้จะส่งผลต่อการนำเสนอผลงานจิตรกรรมอย่างไรบ้าง ลองฟังความคิดเห็นจากการถกประเด็นแลกเปลี่ยนกันระหว่างศิลปินชั้นครูและศิลปินรุ่นใหม่ ในงานเสวนา “จิตรกรรมไทยจะมีทิศทางเป็นอย่างไร ?? ในยุคที่อะไรๆ ก็เป็นดิจิทัล” ซึ่งจัดขึ้นไปเมื่อเร็วๆ นี้ ในงานนิทรรศการแสดงผลงาน จิตรกรรมร่วมสมัยพานาโซนิค “เพื่อความสุขของมวลมนุษยชาติ” ครั้งที่ 20 ภายใต้หัวข้อ “สร้างสรรค์เพื่อความสมบูรณ์แห่งชีวิต”

จิตรกรรมไทยจะมีทิศทางเป็นอย่างไร?? ในยุคดิจิทัล

ศ.กิตติคุณกำจร สุนพงษ์ศรี-ศ.ธีระชัย สุขสวัสดิ์ ร่วมเสวนาฯ

     ศ.กิตติคุณกำจร สุนพงษ์ศรี ศิลปินที่ผลิตผลงานมาแล้วมากมายและเห็นการดำเนินไปของวงการจิตรกรรมไทยหลายยุคหลายสมัย ได้ชี้ให้เห็นถึงภาพรวมการเปลี่ยนแปลงว่า จิตรกรรมไทยนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ จิตรกรรมแบบประเพณี และจิตรกรรมตามยุคสมัย แต่สำหรับจิตรกรรมร่วมสมัยนั้น หากนับกันจริงๆ ตามประวัติศาสตร์แล้ว เริ่มต้นขึ้นช่วงเวลาที่เกิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ในปี 2492 เป็นการเปิดศักราชของวงการจิตรกรรมร่วมสมัยในประเทศไทย ซึ่งลักษณะของผลงานจะถูกนำเสนอออกมาจากมุมมองของศิลปินที่มองเห็นสถานการณ์ต่างๆ ในแต่ละยุค และหยิบยกเรื่องราวนั้นมาสร้างสรรค์ ดังนั้นจิตรกรรมร่วมสมัยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น ทั้งจากบริบททางสังคม รวมไปถึงการเปิดรับประเพณีจากต่างชาติเข้ามา

      จิตรกรรมไทยจะมีทิศทางเป็นอย่างไร?? ในยุคดิจิทัล

   หากจะพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยของประเทศไทย ในยุคดิจิทัลอย่างทุกวันนี้ ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ดิจิทัลสามารถเข้ามาช่วยยกระดับการเข้าถึงงานศิลปะของมวลมนุษยชาติได้มากขึ้น เปิดกว้างให้กับวงการศิลปะ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรนั้นผลงานศิลปะหรือจิตรกรรมจะต้องถูกแฝงไปด้วยจิตวิญญาณของศิลปิน ซึ่งเป็นเรื่องยากที่ดิจิทัลจะเป็นผู้สื่อสารจิตวิญญาณเหล่านั้นออกมาได้ ผลงานแต่ละชิ้นจะมีแก่นแท้ในตัวมันเอง ดังนั้นศิลปินต้องสร้างความเป็นตัวตนและแก่นแท้ให้ยังคงอยู่ในผลงานที่ถ่ายทอดออกไป สิ่งนี้คือสิ่งที่ต้องคำนึงถึง

    ศ.ธีระชัย สุขสวัสดิ์ ประจำสาขาศิลปกรรม หัวหน้าภาควิชามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เล่าว่าตลอดระยะเวลา 20 ปีของการประกวดจิตรกรรมร่วมสมัยพานาโซนิค รูปแบบการเปลี่ยนแปลงผลงาน ไม่ได้เปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ แต่เป็นการค่อยๆ เปลี่ยนพัฒนาขึ้นตามบริบทโดยรอบของสังคม ยุคก่อนหน้านี้ศิลปินได้รับเรื่องราวต่างๆ มาในส่วนที่เคยเข้าใจ แต่ปัจจุบันเมื่อได้รับสื่อใหม่ สิ่งใหม่ที่เข้ามาก็จะเปลี่ยนแปลงด้วยความรวดเร็วและมีการนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจมากขึ้น แต่ในขณะที่ด้านทักษะ ฝีมือ ก็ยังคงความประณีต ละเอียดอ่อน ใส่ใจกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อยู่

จิตรกรรมไทยจะมีทิศทางเป็นอย่างไร?? ในยุคดิจิทัล

    ในส่วนของสื่อดิจิทัลนั้น นับว่าเป็นเครื่องมือที่เข้ามาช่วยทำให้การนำเสนอที่น่าสนใจยิ่งขึ้น ก่อเกิดประโยชน์ต่อศิลปินในด้านการค้นคว้าข้อมูลเพียงแค่คลิกอุปกรณ์สมาร์ทโฟนในมือ ได้เห็นความเป็นไปของศิลปินในยุคปัจจุบันว่ากำลังทำผลงานอะไร ใช้เทคนิคแบบไหน แล้วตัวเองจะต่อยอดให้เกิดความแตกต่างไปได้ถึงระดับใด นอกจากนี้ อุปกรณ์ดิจิทัลยังเป็นเครื่องมือช่วยลดทอนความยุ่งยากของจิตรกรรมให้สะดวกมากขึ้นด้วย

จิตรกรรมไทยจะมีทิศทางเป็นอย่างไร?? ในยุคดิจิทัล

ศิริพร เพ็ชรเนตร

    ส่วน ศิริพร เพ็ชรเนตร ตัวแทนของศิลปินจิตรกรรมยุคใหม่ ผู้ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมอันดับ 1 การประกวดจิตรกรรมร่วมสมัยพานาโซนิค “เพื่อความสุขของมวลมนุษยชาติ” ครั้งที่ 20 แสดงความเห็นว่า “ศิลปะหรืองานจิตรกรรมถือเป็นสิ่งที่ช่วยต่อยอดแนวคิดให้คนในสังคม ช่วยจุดประกายความคิด รวมไปถึงช่วยขัดเกลาคนให้มีจิตใจที่อ่อนโยนเพิ่มมากขึ้น ผลงานของศิลปินในแต่ละยุคสมัยมีเสน่ห์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา ขึ้นอยู่กับการสร้างสรรค์ของคนแต่ละยุค เพราะศิลปินนั้น ได้รับแรงขับเคลื่อนหรือแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์จากสิ่งแวดล้อม ตัวตน สภาพสังคม ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตช่วงนั้น

จิตรกรรมไทยจะมีทิศทางเป็นอย่างไร?? ในยุคดิจิทัล

      สำหรับการทำงานศิลปะในปัจจุบันเปิดกว้างมาก ความเจริญด้านเทคโนโลยีทำให้การสร้างสรรค์ผลงานเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม วิดีโอ อาร์ต หรือแม้แต่การถ่ายภาพเอง ศิลปินสามารถใช้จินตนาการเพื่อสร้างสรรค์ผลงานได้มากขึ้น ยุคดิจิทัลช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น สามารถหาข้อมูล ใช้โปรแกรมเข้ามาช่วยตัดต่อ ดูแสงเงาก่อน แล้วมาลงมือวาดจริง ช่วยประหยัดเวลาและป้องกันการผิดพลาดจากการได้เห็นผลงานทั้งหมดของก่อนลงมือทำ ขณะเดียวกันจิตวิญญาณหรือความรู้สึกของการถ่ายทอดเรื่องราวก็ถูกใส่เข้าไปผ่านฝีแปรง และเส้นสี ยุคดิจิทัลยังทำให้มีช่องทางที่ช่วยในการนำเสนอผลงานศิลปะให้เข้าถึงคนได้กว้างขวางมากขึ้นด้วย