ไลฟ์สไตล์

พระปิดตาคเณศฤษี พญาฉัททันต์บรรพต เขาอ้อ ร.ศ.๒๓๘ องค์จำลองของมหาเทพคชสารบรรพตอายุ๒๕๒ล้านปี

พระปิดตาคเณศฤษี พญาฉัททันต์บรรพต เขาอ้อ ร.ศ.๒๓๘ องค์จำลองของมหาเทพคชสารบรรพตอายุ๒๕๒ล้านปี

24 เม.ย. 2564

พระปิดตาคเณศฤษี พญาฉัททันต์บรรพต เขาอ้อ ร.ศ.๒๓๘ องค์จำลองของมหาเทพคชสารบรรพตอายุ๒๕๒ล้านปี  คอลัมน์...  ตามรอยตำนานแผ่นดิน  โดย...  เอก อัคคี

.....

นับได้ว่าเป็นรุ่นแรกในการจัดสร้างก็ว่าได้
ที่มีการจำลององค์พญาช้างหินงอกโบราณดึกดำบรรพ์
อายุราว ๒๕๒ ล้านปีออกมาเป็นกายจำแปลงกึ่งมนุษย์กึ่งช้าง

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง...   เปิดตำรับปรุงยาจินดามณี ของ อ.สิทธิชัย โหรบัณฑิต ครูหมอยาสายสำนักเขาอ้อ

พระปิดตาคเณศฤษี พญาฉัททันต์บรรพต เขาอ้อ ร.ศ.๒๓๘ องค์จำลองของมหาเทพคชสารบรรพตอายุ๒๕๒ล้านปี

พระปิดตาคเณศฤษีพญาฉัททันต์บรรพต


ถามว่า ทำไมอายุมากถึง๒๕๒ ล้านปี
เพราะนี่มันก่อนการก่อเกิดศาสนาเสียอีก
อย่าลืมสิครับว่า หินงอกออกมาเป็นเศียรพญาช้างนั้น
เกิดมาพร้อมกับการยุบตัวของชั้นดินชั้นหินผิวโลก
ทะเลหดแผ่นดินงอก เกิดเป็นภูเขา เป็นโตรกถ้ำ ผืนดิน
ส่วนที่อยู่กลางทะเลก็กลายเป็นเกาะแก่ง บนบกก็กลายเป็นเขา


นักธรณีวิทยาเคยมาสำรวจอายุหินภายในถ้ำแล้วระบุอายุว่า
ชั้นหินที่นี่มีอายุ ๒๕๒ ล้านปี แสดงว่าช้างหินงอกมีอายุเท่ากัน


ที่น่าสนใจและชวนขบคิดคือ แสดงว่า อาจจะมีการกราบไหว้นับถือหินงอกที่เป็นเศียรช้างในถ้ำนี้มาก่อนศาสนาใดๆในโลกเหมือนที่ อ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง เคยเขียนบทความอ้างทรรศนะของ ศจ.ไมเคิล ไรท์ นักวิชาการผู้ล่วงลับ ลงตีพิมพ์ในศิลปวัฒนธรรมในทำนองชวนให้ สังคมไทยฉุกคิดว่า หรือพระคเณศจะมาจากอุษาคเนย์?


ท่านชี้ชวนให้เห็นว่า ไม่ว่าจะอุษาคเนย์หรืออินเดียต่างนับถือช้างมาอย่างเก่าแก่ (ในอินเดีย การนับถือช้างเป็นคติที่มีมาก่อนศาสนาฮินดู)


“ปู่เจ้าสมิงพราย” หรือเจ้าป่าเจ้าเขาของเราก็ไม่รู้ว่าหมายถึงช้างหรือไม่ แต่ช้างดูจะเป็นสัตว์ที่มีความหมายมากๆ ในศาสนาโบราณ


โดยเฉพาะในเขตร้อนชื้น ก็เพราะช้างเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในอาณาจักรของสัตว์บก น่าเกรงขาม ฉลาดและทรงพลังอำนาจ
แม้แต่ในปัจจุบัน ชาวบ้านเมื่อพูดกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์มักเรียกตนเองว่า “ลูกช้าง”


กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เรามักเรียกตนเองว่า “ลูกช้าง”

 

พระปิดตาคเณศฤษี พญาฉัททันต์บรรพต เขาอ้อ ร.ศ.๒๓๘ องค์จำลองของมหาเทพคชสารบรรพตอายุ๒๕๒ล้านปี

ถ้ำฉัททันต์บรรพต วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง


คำนี้น่าสนใจนะครับ ในอินเดียภาคใต้มีชื่อเรียกพระพิฆเนศวร์ด้วยภาษาพื้นเมือง (ทมิฬ) ว่า “ปิลไลยาร์” (เติม ร์ เป็นการแสดงความเคารพ) คำนี้มีผู้แปลว่า “ลูกชาย” แต่บางท่านว่าในเซนส์ของภาษาทมิฬมันหมายถึง “ลูกช้าง” มากกว่า


ศจ.ไมเคิล บอกว่า คิดว่าเราคงไม่ได้รับคติความเชื่อ “ลูกช้าง” มาจากแขกหรอกครับ แต่อย่างน้อยๆ ก็แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อพื้นเมืองของเรากับเขาคล้ายกัน ด้วยเหตุนี้ความเชื่อเกี่ยวกับพระพิฆเนศวร์จึงสามารถเข้ามาสู่สังคมไทยได้โดยสะดวกตั้งแต่โบราณโดย “ปราศจากอุปสรรค”


ถ้าคิดดังที่ครูไมค์เคยเสนอ อาจเป็นได้ที่คติการนับถือช้างจะส่งจากอุษาคเนย์ไปยังอินเดีย อันนี้ผมไม่กล้ายืนยันเพราะยังมีหลักฐานไม่มากพอ


แต่ก็มิใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เสียเลย เพราะอินเดียเองก็ติดต่อค้าขายกับเรามาช้านาน รับอะไรกันไปๆ มาๆ และมีอะไรตรงกันหลายอย่าง เพราะจะว่าไปชาวอารยันผู้รจนาพระเวทไม่รู้จักช้าง (เพราะมาจากที่ที่ไม่มีช้าง)


ในคัมภีร์พระเวทจึงไม่มีเทพที่มีเศียรเป็นช้าง แม้จะถือกันว่าในมณฑล (เล่ม) ที่สิบแห่งฤคเวทมีบทสวดถึง “คณปติ” ซึ่งเป็นพระนามสำคัญของพระพิฆเนศวร์ แต่ในพระเวทบอกเพียงว่าพระองค์คือเทพของกวีมิได้มีที่ใดเลยที่บอกว่าพระองค์มีรูปร่างอย่างช้าง แม้ในภายหลังจะสวมพระนาม “คณปติ” “พรหมนัสปติ” ให้กับเทพที่มีเศียรเป็นช้างของพื้นเมืองในภายหลัง


กว่าพระคเณศจะกลายเป็นเทพองค์เดียวกับเทพเศียรช้างนั้น 
ก็ล่วงถึงยุคปุราณะแล้วและกว่าจะปรากฏเทวรูปก็ล่วงมาเกือบพุทธศตวรรตที่ ๙ อย่างแคว้นมหาราษฎร์ซึ่งเป็นแคว้นนับถือพระพิฆเนศวร์มากที่สุดในประเทศอินเดียนั้น พระคเณศองค์สำคัญล้วนแต่เป็นหินธรรมชาติที่มีรูปร่างคล้ายช้าง จะเก่าแก่เพียงไหนไม่มีใครทราบได้ (เว้นเสียแต่องค์สร้างใหม่)


อ.คมกฤชเคยเห็นเวลาพราหมณ์ที่นั่นประกอบพิธีบูชา ท่านจะถวายหญ้า “ทูรวา” หรือหญ้าแพรกที่จัดเป็นพวงไว้บนพระเศียรของเทวรูปเป็นแบบเดียวกับที่เวลาเราเห็นช้างป่าใช้งวงเด็ดหญ้าแล้วยกไปไว้บนหัว หรือเอาปัดตามตัวแล้วติดไปบนหัวนั่นแหละ


นอกจากนี้ ในงานเทศกาลต่างๆ ในแคว้นนั้นยังใช้ “แตรงอน” ซึ่งส่งเสียงแบบเดียวกับการร้องของช้างด้วย หลายท่านอาจเถียงว่าพระพิฆเนศวร์ไม่ใช่ช้าง


อ.คมกฤช บอกว่า อันนั้นคือแง่มุมจากความเชื่อครับ แต่ตามความคติโบราณและความเข้าใจเชิงสัญญวิทยาศาสนา เทพเจ้าก็คือสัตว์พาหนะ สัตว์สัญลักษณ์หรือสัตว์ที่เกี่ยวพันกับเทพนั้นๆ ด้วย พระศิวะก็คือโค พระแม่ก็คือเสือ และพระคเณศก็คือช้าง ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวพันกับการนับถือสัตว์ในฐานะสัญลักษณ์ของเผ่า (คณะ) ในอดีต

 

พระปิดตาคเณศฤษี พญาฉัททันต์บรรพต เขาอ้อ ร.ศ.๒๓๘ องค์จำลองของมหาเทพคชสารบรรพตอายุ๒๕๒ล้านปี

พระปิดตาคเณศฤษีทั้ง3เนื้อ คือ ทองแดงเถื่อน,เพชรหน้าทั่งและชนวนรวม


พระคเณศจึงเก่าแก่มากในบรรดาเทพฮินดูทั้งหลาย แม้ว่าโดยเทวตำนานเรามักจะคุ้นชินท่านในฐานะที่เป็นเด็กน้อยร่าเริง เพราะอิทธิพลจากตำนานในคัมภีร์ปุราณะ ที่พราหมณาจารย์โบราณรจนาให้ท่านเป็นโอรสของพระศิวะหรือพระแม่ปารวตี


แต่ความจริงแล้ว ในมิติทางประวัติศาสตร์ท่านเป็นผีหรือเทพที่มีมาก่อนศาสนาฮินดูจะสถาปนาขึ้นและหยั่งลึกลงในอินเดีย ศจ.ไมค์ ถึงกับคล้ายๆจะ ส่งสัญญาณว่า ด้วยเหตุนี้ คติความเชื่อหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นข้อกำหนดอย่างหนึ่งของศาสนาฮินดูที่ว่า พระคเณศจะต้องได้รับการสักการะบูชาเป็นเบื้องต้น (สันสกฤตว่า อาทิปูชยัม) หรือเป็นองค์แรกเสมอในพิธีกรรมหรือในกิจการต่างๆ นั้น (อย่างน้อยที่สุดก็ต้องเอ่ยพระนาม) เป็นเพราะท่านเป็นเทพที่เก่าแก่ที่สุดนั่นเอง


(ศัพท์สันสกฤตว่า อาทิเทวตา หรือเทวตาที่มีมาแต่แรก) เป็นของที่มีมาแต่เดิม เทพไหนๆ ก็มาทีหลัง เหตุที่เก่าแก่เพราะเป็นของพื้นเมือง เก่าแก่กว่าเทพของชาวอารยันทั้งหมด


พระคเณศ จึงเป็นเทพที่มีบทบาทหลากหลาย เพราะความเก่าแก่ยาวนานทำให้พระองค์ “ซ่อน” อะไรไว้หลายอย่างรอให้เราตีความจากเทพพื้นเมืองในที่สุด ความนิยมนับถือในพระองค์จะทำให้เกิดนิกายของพระองค์เอง คือนิกาย “คาณปัตยะ”


นิกายคาณปัตยะแพร่หลายมากในแคว้นมหาราษฎร์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔-๑๗ นำโดยนักบุญ “โมรยา โคสาวี” ผู้ที่ชาวบ้านนอกจากจะเชื่อกันว่าท่านเป็น “คเณศภักตะ”หรือผู้ภักดีในพระคเณศยังถือกันว่า ท่านและวงศ์วานของท่านอีก ๗ รุ่น ล้วนแค่เป็นพระคเณศอวตารทั้งสิ้น


อ.คมกฤช เล่าไว้ว่าเคยไปสักการะสถานที่สำคัญของพระคเณศแห่งหนึ่งชื่อ “มหาคณปติ” (หมายถึงพระคณปติผู้ยิ่งใหญ่) ตำนานแห่งสถานที่นั้น (สถาลปุราณัม) ชวนให้เพื่อนผู้ร่วมทางฉงน รูปที่ประดับเทวสถานชวนให้ฉงายเข้าไปอีก


เพราะตำนานที่นี่เล่าว่า เมื่อพระศิวะจะทรงปราบอสูร “ตรีปุระ”  (ในตำราฝ่ายเราเรียก ตรีบุรัม) แต่อสูรนี้ร้ายนัก ปราบไม่ลงเสียที สุดท้ายพระองค์จึงต้องไปขอพรต่อพระคเณศยังสถานที่ตั้งพระมหาคณปตินี่เอง พระคเณศจึงสอนมนตร์ของพระองค์ให้เพื่อใช้ในการปราบเจ้าอสูรร้ายนั้น สุดท้ายพระศิวะชนะอสูรตรีปุระด้วยมนตร์และอำนาจของพระคเณศ


ภาพในเทวสถานที่บอกเล่าตำนานสถานที่ จึงเป็นรูปพระศิวะกำลังวันทนาการน้อมไหว้พระคเณศ ใครเคยอ่านเทวตำนานพระคเณศมาบ้างก็คงงง เพราะเชื่อมาตลอดว่าพระศิวะเป็นพระบิดา เหตุใดพระบิดาถึงมาไหว้ลูกชายตัวเอง


ตำนานนี้แม้จะคล้ายตำนานจากคัมภีร์ปุราณะอื่นๆ อยู่บ้าง แต่ถูกดัดแปลงและให้ความสำคัญกับพระคเณศเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นตำนานจากปุราณะของนิกายคาณปัตยะโดยเฉพาะ ซึ่งมีอยู่สองปุราณะคือ คเณศปุราณะและมุทคลปุราณะ


สําหรับนิกายคาณปัตยะแล้ว พระ “ปรมาตมัน” หรือพระเป็นเจ้าสูงสุดก็คือองค์พระคเณศ พระปรมาตมันนี้เป็นทั้งผู้สร้าง ผู้รักษา ผู้ทำลายจักรวาล และทรงสำแดงออกเป็นเทพเจ้าทั้งหลาย


และพระปรมาตมันที่เป็นองค์พระคเณศนี้เอง ก็สำแดงพระองค์ออกมาเป็น “พระคเณศ” ในปางต่างๆ รวมทั้งที่เป็นโอรสของพระศิวะด้วย พระศิวะจึงต้องบูชาพระคเณศ เพราะพระองค์เป็นพระเจ้าสูงสุดสำหรับนิกายนี้ ทรงยิ่งใหญ่กว่าเทพทุกๆ พระองค์


นอกจากบทบาทหรือศัพท์แขกมักใช้อย่างไพเราะว่า “ลีลา” ของพระคเณศจะมีหลากหลาย นับแต่ผีพื้นเมืองของชาวบ้านที่สุดท้ายได้กลายเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุดแห่งสกลจักรวาลสำหรับปราชญ์และพราหมณาจารย์แล้ว พระองค์ยังเป็นที่รักของคนทั้งหลายด้วยว่าพระองค์สำแดงความ “ก้ำกึ่ง” อันเป็นพรมแดนสนธยาของชีวิตและจิตใจของเรา
 

พระองค์จะเป็นเด็กก็ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ก็ไม่เชิง จะคนก็ไม่สัตว์ก็ไม่ จะชายหรือหญิงก็ดูไม่ออก (พระองค์มีปางสตรีชื่อ ไวนายกี หรือ คเณศวรีด้วย) พระองค์ทรงมหิทธานุภาพหรือทรงขี้เล่น ทรงเรียบง่ายหรือทรงยิ่งใหญ่ ฯลฯ


ในพรมแดนของความก้ำกึ่งนี้ จึงเป็นที่ที่เราสามารถก้าวข้ามไปมา ระหว่างความเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ หลุดพ้นหรือติดข้อง โลกิยะหรือโลกุตระ กลัวหรือกล้า ฯลฯ


จะว่าไปแล้วพระองค์จึงเป็นทั้งอุปสรรคและเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค 

......

เพราะฉะนั้น จากหินงอกเศียรช้างดึกดำบรรพ์ในถ้ำกลางป่าดิบที่เหล่านักพรตฤษีชนพื้นเมืองพัทลุงสักการะถูกสวมครอบด้วยคติความเชื่อเป็นพระคเณศในศาสนาพราหมณ์ฮินดูและครอบอีกชั้นด้วยพุทธศาสนาในนามพญาฉัททันต์ ในยุคปัจจุบัน


ความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ที่ผ่านกาลเวลามายาวนานจึงสุดพรรณาผมจึงจัดสร้างองค์จำลองของท่านไว้เป็นที่ระลึกจำนวน ๑๑๐ องค์ แต่แบ่งให้บูชากัน ๑๐๘ อีก ๑ องค์ไว้ในถ้ำ อีก๑ องค์ให้ครูสร้างขนาดห้อยคอ ๒,๙๙๗ แบ่งเป็น ๓เนื้อทองแดงเถื่อน,เพชรหน้าทั่ง,ชนวนรวม เนื้อละ ๙๙๙ องค์
ปลุกเสก ๓ วาระ โดย อ.เปลี่ยน หัทยานนท์ เมื่อปี ๒๕๖๒