ไลฟ์สไตล์

"นอนกรน" แก้ไขได้

"นอนกรน" แก้ไขได้

19 ส.ค. 2561

"นอนกรน" ภัยเงียบที่ทำร้ายสุขภาพขณะหลับ แก้ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม-ใช้เครื่องมือช่วยหายใจ-เลเซอร์

          ใครจะรู้ว่าเสียงดังครอกๆ ขณะหลับ ไม่ใช่เป็นแค่ “ภัยเสียง” ที่คอยรบกวนผู้ที่นอนข้างๆ อยู่ทุกค่ำคืน หากแต่ยังเป็น “ภัยร้าย” ที่ทำลายสุขภาพของผู้ที่มีอาการนอนกรน ซึ่งในระยะยาวอาจนำมาซึ่งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ไปจนถึงอัมพฤกษ์ อัมพาต ถ้าไม่รู้จักแก้ไขซะตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีทางแก้ไขหลากหลายวิธี ที่สำคัญไม่ต้องผ่าตัดให้เจ็บตัว และไม่ต้องเสียเวลาไปกับการพักฟื้นอีกด้วย

\"นอนกรน\" แก้ไขได้

          พญ.วรางคณา ไชยวงศ์ แพทย์ผู้มีประสบการณ์ประจำรมย์รวินท์ คลินิก ให้ความรู้เรืื่องสาเหตุของการ “นอนกรน” ว่า เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ได้แก่ บริเวณกล้ามเนื้อของลิ้นและโคนลิ้น เพดานอ่อน ผนังคอหอย หรือลิ้นไก่ เกิดหย่อนยานลงมากขึ้นจนไปขวางกั้นทางเดินผ่านของอากาศ ทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบลง จนเกิดเสียงดังผิดปกติขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ หรือส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง ยิ่งกว่านั้นสมองจะได้ออกซิเจนไม่เพียงพอในขณะหลับ ทำให้รู้สึกเพลียและไม่สดชื่นเหมือนพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทํางานลดลง ความจําไม่ดี หงุดหงิดง่าย ง่วงหลับใน และหากทิ้งไว้ในระยะยาวโดยไม่รักษาอาจนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคซึมเศร้า ฯลฯ

\"นอนกรน\" แก้ไขได้

พญ.วรางคณา ไชยวงศ์

           สำหรับวิธีรักษา พญ.วรางคณา ย้ำว่ามีหลายวิธี โดยสามารถเริ่มต้นง่ายด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง ได้แก่ การปรับสุขอนามัยการนอน เช่น นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง เข้านอนและตื่นนอนอย่างตรงเวลาสม่ำเสมอ การงดเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนนอน การหลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับและยาที่มีฤทธิ์กดประสาท หรือคลายกล้ามเนื้อ งดเว้นการดื่มชา กาแฟ และหยุดสูบบุหรี่ในช่วงบ่าย ที่สำคัญในรายที่อ้วน หรือน้ำหนักเกิน ต้องลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือถ้าจำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วย แต่ในรายที่เป็นไม่รุนแรงสามารถเลือกใช้เครื่องมือในช่องปาก เป็นการใส่เครื่องมือลักษณะคล้ายฟันยางหรือเครื่องดัดฟัน เพื่อป้องกันลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจ ปัจจุบันมีหลายชนิด มีข้อดีข้อเสียหรือข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป ควรปรึกษาแพทย์ด้านนี้ก่อนใช้

\"นอนกรน\" แก้ไขได้

กล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนต้น

          ส่วนในรายที่มีอาการกรนรุนแรงมากขึ้นจนเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ปัจจุบันมีการใช้เครื่องช่วยหายใจ “ซีแพ็บ” (CPAP : Continuous Positive Airway Pressure Therapy) โดยมีหลักการคือ เครื่องจะเป่าลมผ่านทางช่องจมูก และหรือทางปาก เพื่อให้มีความดันลมแรงพอที่จะเปิดช่องคอซึ่งเป็นทางเดินหายใจส่วนต้นได้ตลอดเวลาขณะนอนหลับ เครื่องซีแพ็บ มีหลายแบบ ได้แก่ 1.แบบอัตโนมัติ 2.แบบธรรมดา และ 3.แบบความดันลม 2 ระดับ ซึ่งการรักษานอนกรนด้วยวิธีนี้อาจจะเป็นวิธีที่ได้ผลดีและมีความปลอดภัยสูงหากใช้เครื่องอย่างถูกต้องและต่อเนื่องตลอดทุกคืน แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และมีข้อดีข้อเสีย หรือข้อจำกัดแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนทดลองใช้ และติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

\"นอนกรน\" แก้ไขได้

การทำสนอร์ เลเซอร์

          อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่ไม่อยากรักษาด้วยการผ่าตัด หรือไม่สะดวกในการติดตั้งเครื่องมือระหว่างนอน ล่าสุดสามารถรักษาอาการนอนกรนด้วยเลเซอร์ “สนอร์ เลเซอร์” เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ออกแบบและพัฒนาให้สามารถส่งพลังงานลงลึกถึงกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น เพื่อเข้าหดกระชับกล้ามเนื้อบริเวณนั้นอย่างปลอดภัย ไม่เจ็บ ไม่ต้องพักฟื้น ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวภายในช่องปาก ลดการปิดกั้นทางเดินหายใจ การนอนหลับกลับสู่ภาวะปกติ หลับได้ลึก รู้สึกสดชื่นหลังตื่นนอนในวันรุ่งขึ้น ในระหว่างทำจะรู้สึกอุ่นๆ ในปากและลำคอ อาจมีอาการคอแห้งได้บ้าง สามารถจิบน้ำระหว่างทำการรักษาได้ ผู้ที่เข้ารับการรักษาต้องทำต่อเนื่อง 3 ครั้ง ห่างกัน 2 และ 4 สัปดาห์ตามลำดับ กรณีทำมากกว่า 3 ครั้งให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจแพทย์