ไลฟ์สไตล์

  "หมูกรอบ"  ความอร่อยกับปัจจัยเสี่ยง 7 โรค

"หมูกรอบ"  ความอร่อยกับปัจจัยเสี่ยง 7 โรค

04 ก.ค. 2564

คะน้าหมูกรอบ,ข้าวหมูกรอบ , ข้าวหมูแดง ,ก๋วยจั๊บ , กระเพราหมูกรอบ  เมนูอาหารพื้นฐานที่มี "หมูกรอบ"เป็นส่วนประกอบ  เพื่อสร้างรสชาด แต่บนความอร่อยนั้นก็มีความเสี่ยงต่อสุขภาพตามมา

กว่าจะมาเป็น “หมูกรอบ”  ต้องผ่านทั้งการต้ม ทอด หรือบางสูตรต้มแล้ว นำไปตากแดดก่อนที่จะนำมาทอดให้เป็นสีเหลืองกรอบ  ขึ้นอยู่กับสูตรของแต่ละที่   ซึ่งวัตถุดิบหลักคือ หมูสามชั้น ที่มีไขมันสูงอยู่แล้ว  และเมื่อถึงขั้นตอนการทอดด้วยน้ำมันก็คือการเพิ่มจำนวนไขมันให้มากขึ้นกว่าเดิม

ส่วนน้ำมันที่ใช้ทอดหมูเพื่อให้เป็น” หมูกรอบ”  ที่นิยมคือการใช้น้ำมันหมู หรือน้ำมันปาล์ม  การทอดแต่ละครั้งจะต้องใช้ปริมาณน้ำมันสูงมาก  จึงเป็นที่มาของการใช้น้ำมันทอดซ้ำ   และอีกหนึ่งขั้นตอนที่ก็คือวิธีการหมักด้วยเกลือ เพื่อเพิ่มรสชาติเค็ม   แน่นอนว่านี่คือความเสี่ยงต่อโรคไต

 

ความเสี่ยงจากการรับประทาน “หมูกรอบ”   ได้แก่ โรคอ้วน  เนื่องจากหมูกรอบ ทำมาจากหมูสามชั้น ซึ่งเป็นแหล่งสะสมไขมันสูง อีกทั้งต้องนำไปทอดด้วยน้ำมันที่ให้พลังงานสูง เพื่อให้ได้ความกรอบและสีเหลืองสวยงาม   การรับประทานหมูกรอบ 100 กรัม  ให้พลังงานมากถึง 385-420 แคลอรี  รวมกับไขมันอีก 30 กรัม    และไขมันที่ได้รับคือการสะสมภาระโรคอ้วนให้เกิดขึ้น

 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจเต้นผิดปกติ   ปัจจัยที่ตามมาจากโรคอ้วน  จะส่งให้ระบบของหัวใจของคนอ้วน ทำงานหนักขึ้นกว่าคนร่างกายแข็งแรง การทำงานของหัวใจจะบีบตัวแรงกว่า เพื่อที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้เพียงพอ  และการทำงานหนักเกินไปของหัวใจ  จะมีผลต่อระกล้ามเนื้อหัวใจในที่สุด

 

โรคหลอดเลือดหัวใจ  น้ำมันที่ใช้ทอดหมูกรอบ ที่ทำมาจากน้ำมันปาล์มหรือน้ำมันหมู  น้ำมันเหล่านี้จะมีไขมันอิ่มตัวสูง และการรับไขมันอิ่มตัวมากเกินไป จะเป็นการเพิ่มระดับของแอลดีแอล คอเลสเตอรอล ที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ง่าย รวมไปถึงโรคหลอดเลือดในสมองตีบ 

 

โรคมะเร็งตับ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม    หมูกรอบ  ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น เพราะน้ำมันที่ผ่านความร้อนสูง และบางร้านใช้น้ำมันเก่าทอดซ้ำๆ จะทำให้เกิดสารพิษในน้ำมันมากขึ้น อาทิ สารอะคริลาไมด์ที่จะพบได้ในอาหารทอด หากสารนี้สะสมในร่างกายมากเกินไป  ก็จะทำให้เกิดโรคมะเร็งทั้งสามชนิด

 

\"หมูกรอบ\"  ความอร่อยกับปัจจัยเสี่ยง 7 โรค

\"หมูกรอบ\"  ความอร่อยกับปัจจัยเสี่ยง 7 โรค

 

 

โรคไต   หมูกรอบ  ที่มีความเค็ม   ในขณะที่การบริโภคเกลือที่ดีต่อสุขภาพจะต้องได้รับไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน หรือเกลือ 1 ช้อนชา (โซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัม/วัน) แต่เมนูข้าวหมูกรอบ 1 จาน  จะมีโซเดียมสูงถึง 700 – 1,000 มิลลิกรัม นี่จึงเป็นการบ่งชี้ ถึงความเสี่ยงจากโรคไต

 

โรคความดันโลหิตสูง   การรับโซเดียมในปริมาณที่สูงมากเกินไปจะทำให้เป็น โรคความดันโลหิตสูงได้ อีกทั้งการได้รับสารพิษที่มีชื่อว่า สารโพลาร์ ซึ่งมาจากขั้นตอนการทอดหมูกรอบด้วย ยิ่งเป็นตัวเร่งให้เผชิญกับโรคนี้ได้ง่ายขึ้น

 

โรคเบาหวาน   ข้อเท็จจริงที่ต้องตระหนักก็คื  ไม่จำเป็นต้องรับประทานหวาน  ก็สามารถเป็นโรคเบาหวานได้  เพียง ได้รับประทานโซเดียมในปริมาณที่สูงเข้าไป  และการที่เป็นโรคอ้วนอยู่แล้ว ก็ง่ายต่อการเป็นเบาหวานในที่สุด

 

การรับประทาน “หมูกรอบ” สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งในปริมาณที่เหมาะสม    พร้อมกับทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้มากขึ้น  เช่น ผักสด ผลไม้ ผักต้ม  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ    คือการลดความเสี่ยงจากโรคร้ายข้างต้นได้

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก https://www.justbeautyplus.com/

 

\"หมูกรอบ\"  ความอร่อยกับปัจจัยเสี่ยง 7 โรค

 

\"หมูกรอบ\"  ความอร่อยกับปัจจัยเสี่ยง 7 โรค