10 วิธีรับมือ "เด็กกินยาก" ไม่ยอมกินข้าว เลือกกิน สำคัญที่การเลี้ยงดู
ควรทำความเข้าใจกับสมาชิกครอบครัวทุกคนเพื่อไปในทางเดียวกัน 10 วิธีรับมือ "เด็กกินยาก" ไม่ยอมกินข้าว เลือกกิน สำคัญที่การเลี้ยงดู
จะต้องทำอย่างไรล่ะ เมื่อเจ้าตัวเล็ก เลือกกิน เป็น "เด็กกินยาก" (Picky eaters) ไม่ยอมกินข้าว พ่อแม่ผู้ปกครองก็กังวลว่าลูกน้อยจะไม่แข็งแรง จนหลายคนใช้วิธีบังคับ ทำให้เกิดศึกห้ำหั่นบนโต๊ะกินข้าว หรือแม้จะใช้วิธีหลอกล่อสารพัดวิธี ก็ยังไม่สามารถป้อนข้าวลูกได้ แต่ละมื้อบางทีต้องใช้เวลาไปกว่า 2 ชั่วโมง วันนี้มีเคล็ดลับให้เจ้าตัวเล็กที่บ้านยอมหม่ำข้าวกันค่ะ
สาเหตุที่เด็กไม่ยอมกินข้าว
- ไม่หิว เพราะกินขนม นม จนอิ่มแล้ว
- เป็นการแสดงออกเพื่อต่อต้านวิธีการที่พ่อแม่บังคับให้กิน หรือ เป็นการเรียกร้องความสนใจ
- เกิดจากการฝึกไม่ถูกวิธี เช่น ไม่ให้เด็กหัดป้อนเองเพราะกลัวเลอะเทอะ ครอบครัวที่รับประทานอาหารไม่พร้อมกัน หรือ บรรยากาศขณะกินไม่ดี พ่อแม่ทะเลาะกัน
10 วิธีการรับมือ "เด็กกินยาก" เลือกกิน (Food rules for picky eaters)
- หลีกเลี่ยงการรบกวนเด็กระหว่างกิน พ่อแม่ไม่ควรอนุญาตให้เด็กเล่นของเล่นหรือดูโทรทัศน์ระหว่างกินข้าว เพราะเด็กจะถูกดึงความสนใจไป
- ระหว่างที่คุณแม่กำลังทำอาหาร ให้ลูกมีส่วนร่วมเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการทำอาหาร เช่น ให้ลูกลองจับ ช่วยหยิบอาหาร ทำให้เด็กได้สัมผัสกลิ่น รสชาติ และเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของอาหารก่อนและหลังปรุง ทำให้ลูกอยากรับประทานอาหารที่ตนเองมีส่วนร่วมในการทำมากขึ้น
- ให้ลูกรับประทานอาหารเอง อาจจะเลอะเทอะบ้างแต่พ่อแม่ต้องอดทน เพราะจะช่วยให้ลูกรับประทานอาหารได้มากขึ้น
- ชื่นชมเด็ก ที่สามารถรับประทานได้ด้วยตนเอง
- เพิ่มความอยากอาหาร ไม่ควรให้นมหรือขนมใกล้กับมื้ออาหาร เพราะจะทำให้ลูกอิ่มจนไม่กินข้าว (อาหารมื้อหลัก และอาหารว่างควรห่างกัน ประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง) ถ้าใกล้มื้ออาหารแล้วควรให้เพียงน้ำเปล่า และที่สำคัญ เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ข้าวเป็นอาหารหลัก นมจะเป็นอาหารเสริม จึงไม่ต้องกังวลว่าลูกจะกินนมไม่พอ
- จำกัดเวลาในการกิน มื้ออาหารไม่ควรเกิน 30 นาที แม้ว่าเด็กจะกินได้ไม่มากก็ตาม ก็ให้เก็บจานเมื่อครบ 30 นาที
- สร้างบรรยากาศในการกินข้าว ให้สนุกสนาน ไม่ตึงเครียด ไม่บีบบังคับมากเกินไป
- เลือกชนิดและปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับเด็ก ค่อย ๆ ตักให้ทีละน้อย ถ้าลูกกินหมดจึงค่อยเติมให้
- เทคนิคในการเริ่มอาหารชนิดใหม่ ต้องเริ่มทีละน้อย พยายามให้ลองซ้ำ ๆ บางคนอาจต้องลองให้ซ้ำ ๆ ถึง 10 - 15 ครั้ง กว่าลูกจะยอมกินอาหารชนิดนั้น ๆ , พ่อหรือแม่กินอาหารชนิดใหม่ต่อหน้าลูก โดยแสดงให้เห็นว่าอร่อยมาก ลูกบางคนจะขอชิมเอง
- ลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ไม่อนุญาตให้เด็กเล่นอาหารหรือพูดคุยมากเกินไปแทนที่จะกิน , ต้องสม่ำเสมอในการฝึก ไม่สลับไปมา เช่น บางวันให้กินเอง บางวันแม่ป้อนให้ บางวันดุ บางวันใจดี ดังนั้น ควรทำความเข้าใจกับสมาชิกครอบครัวคนอื่น ๆ เพื่อให้ฝึกไปในทางเดียวกัน ไม่ใช่ยายป้อนข้าวให้แต่แม่ให้ลูกกินเองทำให้เด็กเกิดความสับสนได้ , สอนให้เด็กนั่งอยู่ที่โต๊ะอาหารจนกระทั่ง ทุกๆคนกินเสร็จ
สิ่งสำคัญ คือ ต้องเข้าใจว่า วัย 1 - 5 ปี เป็นช่วงที่เด็กเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด (autonomy) อยากทำอะไรเอง ดังนั้น ถ้าพ่อแม่ใช้วิธีที่ผิด เช่น ปล่อยให้วิ่งเล่นโดยแม่ตามป้อนเวลาลูกเผลอ หรือ ยังชงนมเผื่อไว้ เท่ากับเป็นการบอกลูกว่ากินข้าวนิดหน่อยไม่เป็นไร เพราะยังไงก็มีนมให้กิน วิธีเหล่านี้เป็นการขัดแย้งกับธรรมชาติของเด็ก ต้องฝึกให้เด็กกินอาหารเองให้เร็วที่สุด ตั้งแต่อายุ 1 ปี
อ่านข่าวที่คุณอาจสนใจ
- หนูโกรธแล้วนะ 7 วิธี "สอนลูกน้อย" ให้จัดการอารมณ์อย่างไรดี
- 8 "คำพูด" พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรพูดกับลูก เกิดผลร้ายมากกว่าอย่างที่คิดไม่ถึง
- 6 ข้อ "พ่อแม่สร้างลูกในเชิงบวก" และควรชิงลงมือทำก่อนจะต่อต้าน
- 6 วิธีจัดโซน "เรียนออนไลน์" ยุค โควิด-19 อย่างไรให้ลูกรู้สึกอยากเรียน
- "เวลา" สร้างความสุข 15 นาทีสำคัญ ในแต่ละวันของ "ลูก"
- รู้จัก "ยุง" มัจจุราช รั้งอันดับ 1 ใน 15 คร่าชีวิตมนุษย์ สิ่งมีชีวิตอันตรายที่สุดในโลก
- เช็กลิสต์ด่วน อาการของ "ลูกน้อย" ป่วยเป็น โควิด-19 หรือแค่ไข้หวัดทั่วไป
- รักลูกอย่างไร ห่างไกล "โรคอ้วน" ลดเสี่ยงติดเชื้อ โควิด-19 รุนแรง - เสียชีวิต
- 10 ข้อควรรู้ "โรคโควิด-19" ในเด็ก มีอาการอะไรบ้าง อัตราการเสียชีวิตเท่าไหร่
- เช็กอาการ "โรคซึมเศร้า" ช่วงวิกฤติ โควิด-19 สาเหตุปัจจัยเสี่ยงการรักษาป้องกัน
- ปกป้อง "ลูกน้อย" จาก 4 โรคที่มากับหน้าฝน ร้ายสุด เสียชีวิตลงได้