กระจูด สู่มรดกภูมิปัญญาสร้างรายได้จากรุ่น สู่รุ่น
"กระจูด" วัชพืชไร้ค่า ในชุมชน เติบโตสู่ภูมิปัญาสร้าง รายได้แก่ชาวบ้าน จากสายพระเนตรอันยาวไกลที่ทรงเล็งเห็นความสำคัญของหัตถศิลป์ของคนในชุมชน สู่ตลาดโลกสร้างรายได้เข้าประเทศ
กระจูด หลายคนคงเคยได้ยิน แต่อาจจะยังไม่ทราบว่า คืออะไร กระจูดคืออะไร
"กระจูด" เป็นพืชที่มีชื่อทางวิทยศาสตร์ว่า Lepironia articulata วงศ์กก Cyperaceae เป็นพืชล้มลุกสองปี มีลำต้นกลมสีเขียวอ่อน ด้านในกลวง มีเยื้ออ่อนยุ่นคั่นเป็นข้อเล็ก ๆ สูง 1-2 เมตร ชอบขึ้นในพื้นต่ำหนองน้ำขัง เป็นพืชเขตร้อน พบกระจายทั่วไปในทวปเอเชียเขตร้อนบริเวณคาบสมุทรอินโดจีน “กระจูด” สามารถเติบโตได้ดีในพื้นที่ป่าพรุ ซึ่งพบได้มากในพื้นที่ภาคใต้ และภาคตะวันออกของไทย
ในภาคใต้ มีการนำกระจูดมาทำเป็นข้าวของเครื่องใช้ โดยภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นนานหลายชั่วอายุคน เดิมทีกระจูดถูกนำมาใช้เป็นงานจักรสานในบ้านเรือน อย่างเรียบง่าย เช่น เสื่อกระจูด กระจาดใส่ของ กระสอบใส่ข้าวสาร ที่มีความเหนียวคงทน ดูดซับความชื้นได้ดี ไม่เปื่อย ไม่ขาดง่าย ที่สำคัญยิ่งใช้ยิ่งมีความสวยงาม จะมีความนิ่ม และมีสีสันที่สวยงามมากขึ้น
จากภูมิปัญญาง่ายๆจากบรรพบุรุษ สู่การเปลี่ยนแปลงในรุ่นลูก สืบมาถึงรุ่นหลาน ทำให้วิวัฒนาการของกระจูดไม่ได้อยู่แค่เสื่อ หรือของใช้เรียบง่ายเท่านั้น แต่กระจูดยังเดินทางเข้าสู่ตลาดของใช้แฟชั่น ที่สามารถสร้างรายได้ในชุมชนเป็นกอบเป็นกำให้คนในชุมชน
ปี พ.ศ.2541-2542 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จปฏิบัติพระราชกรณียกิจเยี่ยมเยียนประชาชนพื้นที่ทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง พระองค์ทรงสร้างศิลปาชีพหัวป่าเขียว สร้างงานศิลปาชีพงานทอผ้า งานปักผ้า งานสานกระจูดและด้านอื่นๆ ที่ส่งเสริมให้กับประชาชนในพื้นที่ และการให้ความสำคัญความเป็นความเป็นอยู่ชีวิตของประชาชนทุกคน ทรงรับซื้อชิ้นงาน ของชาวบ้านทุกชิ้น ชาวบ้านทำงานส่งเข้าศิลปาชีพมีรายได้จนถึงปัจจุบัน ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลทรงมีแนวพระราชดำริให้ฟื้นฟูและพัฒนางานฝีมือพื้นบ้านในแต่ละภูมิภาค
ด้วยเหตุนี้กระจูดที่ชาวบ้านใช้เวลาว่างจากการทำนา ทำสวนยาง ผลิตชิ้นงานที่เดิมทีทำใช้เองในครัวเรือน ในรูปแบบเรียบง่าย มีลวดลายสีสันแบบดั้งเดิม ทั้งลายสอง ลายลูกแก้ว จึงกลายเป็นสินค้าหัตถศิลป์ที่กลายเป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วประเทศ
กระจูดถูกนำมาพัฒนาต่อยอดงานฝีมือจากความเรียบง่าย สู่ความทันสมัย ใส่ความเป็นแฟชั่น สร้างรายได้ให้ชุมชน และยังกลายเป็นสินค้าส่งออก สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ
ปัจจุบันกระจูดไม่ได้เป็นเพียงแค่เสื่อปูนอนในบ้านเรือนเท่านั้น แต่ภูมิปัญญาด้านหัตถศิลป์นี้ได้ถูกต่อยอดและพัฒนา เป็นกระเป๋าแฟชั่นสตรี ตะกร้าใส่ของ กระถางต้นไม้ ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ต่างๆที่สวยงาม จากชุมชนจากชุมชนต่าง ๆ มากมาย
ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มกันในการจัดทำวิสาหกิจชุมชนจำนวนมาก เพื่อจัดทำผลิตภัณฑ์จากกระจูด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และผลิตภัณฑ์กระจูด ก็ถูกพัฒนาให้มีความทันสมัยมากขึ้น ใช้งานง่าย และคงทนมากขึ้นอีกด้วย
ขอบคุณภาพจาก
Varni กระจูด ,Charintra premium craft , วิกิพีเดีย