ข่าว

จุดบั้งไฟใต้น้ำรำถวายพญาแถนข้ามแม่น้ำมูลครั้งแรก

จุดบั้งไฟใต้น้ำรำถวายพญาแถนข้ามแม่น้ำมูลครั้งแรก

01 มิ.ย. 2562

ศรีสะเกษ - คมข่าวทั่วไทย

 

วันที่ 1 มิถุนายน 2562 ที่ ลำน้ำมูล หลังที่ว่าการอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นั่งเรือมาตามลำน้ำมูล ก่อนที่จะมาขึ้นฝั่งยังแพที่ต่อเป็นขัว หรือ ทางเดินข้ามแม่น้ำมูล ระยะความยาว 250 เมตร ที่สร้างมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ธนาธร แข็งขัน นายอำเภอราษีไศล พร้อมด้วยวัฒนธรรมอำเภอ,  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ พี่น้องประชาชนชาวอำเภอราษีไศล ร่วมกันจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟอำเภอราษีไศล ประจำปี 2562 ซึ่งได้มีการสืบทอดมายาวนานกว่า 150 ปี

 

 

 

จากที่เดิมเคยทำบั้งไฟจากลำไม้ไผ่ ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นท่อเหล็ก และปัจจุบันใช้เป็นท่อพีวีซีในการบรรจุอัดเป็นบั้งไฟ จนชาวราษีไศล ได้กำหนดคำขวัญอำเภอราษีไศล ว่า “หาดทรายมูลคู่บ้าน ลิงบ้านหว้านคู่เมือง ดงภูดินลือเลื่อง เมืองแห่งบั้งไฟแสน ดินแดนหอมแดง แห่งหมูหันรสดี ฝายราษีสุดสวย พร้อมด้วยไข่ไก่งาม” ซึ่งวันนี้ได้มีพี่น้องประชาชน นักท่องเที่ยว มารอชมสาวสวยชนเผ่าเยอ ที่จะรำถวายพญาแถน บนขัวที่สร้างขึ้นมาพิเศษ ข้ามลำน้ำมูล จำนวน 509 คน และชมการจุดบั้งไฟใต้น้ำ ครั้งแรกของชาวจังหวัดศรีสะเกษ ด้วย

 

 

 

จุดบั้งไฟใต้น้ำรำถวายพญาแถนข้ามแม่น้ำมูลครั้งแรก

 

 

 

จุดบั้งไฟใต้น้ำรำถวายพญาแถนข้ามแม่น้ำมูลครั้งแรก

 

 

 

จุดบั้งไฟใต้น้ำรำถวายพญาแถนข้ามแม่น้ำมูลครั้งแรก

 

 

 

ว่าที่ร้อยตรี ธนาธร แข่งขัน นายอำเภอราษีไศล กล่าวว่า อำเภอราศีไศล มีประวัติความเป็นมาผูกอยู่กันสายน้ำ เป็นวิถีชีวิตที่มีอาชีพเกษตรกรรม นอกจากจะมีประเพณีบุญแข่งเรือยาวใหญ่แล้ว ยังมีประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเมื่อก่อนจะทำบั้งไฟกันโดยใช้ไม้ไผ่มาผูกอัดดินประสิวเข้าไปก่อนนำมาจุดเพื่อขอฝนจากพญาแถน ที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลแห่งนี้ ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นบั้งไฟท่อเหล็ก และปัจจุบันใช้ท่อพีวีซีอัดเป็นบั้งไฟแทน แต่ไม่เคยละทิ้งในการสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟไปเลย ซึ่งนักท่องเที่ยวจะรอชมบั้งไฟอำเภอราษีไศล กันเป็นจำนวนมากในทุกๆ ปี

จากคำขวัญตอนหนึ่งที่ว่า “เมืองแห่งบั้งไฟแสน” และวันปีนี้ที่ประชุมสภาวัฒนธรรมอำเภอราษีไศล ได้ลงมติที่จะมีการจัดบั้งไฟใต้น้ำ เพราะต้นฉบับอยู่ที่บ้านหนองแค อำเภอราศีไศล ของเราเอง จึงควรที่จะฟื้นประเพณีการจุดบั้งไฟใต้น้ำ เพื่อนำมาเป็นจุดขาย ส่งเสริมการท่องเที่ยว พร้อมกับจัดสาวเยอ จำนวน 509 คน มารำอยู่บนขัว ที่สร้างขึ้นมาข้ามลำน้ำมูล คู่กับสะพานใหญ่ที่ใช้เดินทางสัญจรเป็นปกติอยู่ด้วย

 

 

 

จุดบั้งไฟใต้น้ำรำถวายพญาแถนข้ามแม่น้ำมูลครั้งแรก

 

 

 

นายวีระศักดิ์ วิจิตรแสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า อำเภอราษีไศล นับว่าเป็นอำเภอขนาดใหญ่ และมีความรัก ความสามัคคีกันเป็นอันมาก มีทั้งหมด 14 ตำบล 184 หมู่บ้าน มีประเพณีที่สำคัญๆ ที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตของชาวอีสานโดยแท้ และสามารถที่จะนำมาพัฒนา ต่อยอดให้เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี อย่างเช่นวันนี้ ชาวอำเภอราษีไศล ได้สร้างสะพานไม้ลอยน้ำข้ามลำน้ำมูลกว่า 250 เมตร เพื่อใช้ในการเปิดงาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวอำเภอราษีไศล ทำได้ยิ่งใหญ่ สมกับเป็นเมืองแห่งบั้งไฟแสนในอดีต และปัจจุบันก็ทำได้ยิ่งใหญ่ ก็อยากจะให้มีการอนุรักษ์สืบต่อ และพัฒนาสิ่งที่ดีดี เป็นที่นิยมบวกเข้าไป และวันนี้ก็สืบสานประเพณีแบบเป็นงานบุญปลอดเหล้า ร่วมกับ สสส.ด้วย ต้องขอบคุณทุกฝ่ายด้วย

 

 

 

จุดบั้งไฟใต้น้ำรำถวายพญาแถนข้ามแม่น้ำมูลครั้งแรก

 

 

 

ส่วน นายยุทธชัย แจ่มศรี อายุ 66 ปี อยู่บ้านเลขที่ 21/1 หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองแคน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นเจ้าฉบับบั้งไฟใต้น้ำ เปิดเผยว่า ตนได้คิดค้นที่จะผลิตบั้งไฟใต้น้ำ และได้เป็นผลสำเร็จจุดจากใต้น้ำได้มาแล้วกว่า 20 ปี จากที่คนเรามักที่จะไปเล่นพนันบั้งไฟกัน ตนจึงคิดบั้งไฟที่จุดจากใต้น้ำ เพราะเมื่อคนไม่เห็นบั้งไฟ ก็ไม่สามารถที่จะเล่นพนันบั้งไฟได้ โดยคิดตามหลักการง่ายๆ ก็คือ นำขวดไปจุ่มน้ำ หากไม่ตะแคงขวด น้ำก็ไม่ไหลเข้า เพราะในขวดจะมีอากาศอัดอยู่ และหากนำบั้งไฟกดลงไปใต้น้ำ ไม่ตะแคงบั้งไฟ บั้งไฟก็ไม่มีน้ำไหลเข้า เมื่อจุดขึ้นมาหยุดจากผิวน้ำก็จะลอยขึ้นสู่อากาศได้อย่างสบาย และตนยังได้อาบน้ำเย็นสบายด้วย  

 

 

 

จุดบั้งไฟใต้น้ำรำถวายพญาแถนข้ามแม่น้ำมูลครั้งแรก

 

 

 

จุดบั้งไฟใต้น้ำรำถวายพญาแถนข้ามแม่น้ำมูลครั้งแรก

 

 

 

จุดบั้งไฟใต้น้ำรำถวายพญาแถนข้ามแม่น้ำมูลครั้งแรก

 

 

 

จุดบั้งไฟใต้น้ำรำถวายพญาแถนข้ามแม่น้ำมูลครั้งแรก