สื่อภาพยนตร์กับการอยู่รอดในยุค Digital Disruption
เทศกาลหนังเมืองแคนจัดสัมมนาการอยู่รอดของสื่อภาพยนตร์ในยุค Digital Disruption เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและการปรับตัวของคนทำหนัง หลังกระแสหนังไทยซบเซา ในยุค Digital Disruption
ในงานเทศกาลหนังเมืองแคนครั้งที่ 4 KAEN INTERNTIONAL FILM FESTIVAL 4 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 13-16 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีการประกวดหนังสั้น เสวนาหนังในยุคดิจิทัล การแสดงหนังสั้น และแฟชั่นโชว์ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น โฟกัสอารีน่าและศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าขอนแก่น
โดยเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 ในเทศกาลหนังเมืองแคนครั้งที่ 4 KAEN INTERNTIONAL FILM FESTIVAL 4 ได้มีการจัดโครงการสัมมนาธุรกิจภาพยนต์สองฝั่งโขง " เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับหนังอีสาน-ลาว " ในหัวข้อ " หนังในยุค Digital Disruption" ณ คุ้มศรีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้ความรู้และพูดคุยในเรื่องของการปรับตัวการอยู่รอดของวงการภาพยนตร์ไทย - ลาวในยุค Digital Disruption ของเหล่าวิทยากรผู้กำกับหนังไทย – ลาว โดยมีนักศึกษา อาจารย์และบุคคลทั่วไป ให้ความสนใจเข้ารับฟังกว่า 80 คน
การเปิดงานเป็นไปด้วยความสนุกสนาน จากการแสดงต้อนรับของตัวแทนนักศึกษาระดับบัณทิตศึกษารุ่น10 โดยมี ปริตา ธรรมธรฐิติ ตัวแทนนักศึกษาระดับบัณทิตศึกษารุ่น10 สาขาวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นผู้กล่าวรายงานการเปิดงานในครั้งนี้ " การจัดงานเสวนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และแนวคิดธุรกิจภาพยนต์ในยุค Digital Disruption ในการประกอบการสร้างสังคม เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ตรงในกระบวนการจัดสัมมนาและทำงานร่วมกันอย่างมีระบบในรายวิชาสัมมนาทางการวิจัยวัฒนธรรมศิลปกรรมและออกแบบขั้นสูงของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรวัฒนธรรม ศิลปกรรมการออกแบบนรุ่นที่ 10 "
และมี รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดี ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยกล่าวว่า เป็นเกียรติอย่างยิ่งในการเปิดงานโครงการสัมมนาธุรกิจภาพยนตร์สองฝั่งโขง เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับหนังอีสานลาว การเสวนา หนังในยุค Digital Disruption ครั้งนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เล็งเห็นถึงความสำคัญของยุคแห่งเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งกำลังจะแปลคุณค่าของมนุษย์ที่เทคโนโลยีเข้ามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อการเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของคนในสังคม หรือที่เรียกว่า Disruption โดยเฉพาะคนกลุ่มใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีอย่างมาก ในขณะนี้มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด แม้ในวงการภาพยนตร์ ซึ่งเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้จำนวนมากและมีมูลค่าทางธุรกิจไม่น้อยต้องปรับตัวเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยการเสวนาในวันนี้แบ่งหัวข้อการบรรยายออกเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1คือการบรรยายเรื่อง หนังไทย - ลาว จะอยู่อย่างไรในยุค " Digital Disruption " บรรยายโดย ธนิตย์ จิตนุกูล นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย
ปรัชญา ปิ่นแก้ว ผู้กำกับภาพยนตร์ นักเขียนบทภาพยนตร์ ชยนพ บุญประกอบ ผู้กำกับภาพยนตร์ พูชะนะ สิริวงสา ผู้กำกับฮูปเงา สปป.ลาว ผศ.ดร.ปรีชา สาคร ผู้ช่วยศาตราจารย์ ภาควิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ผู้กำกับภาพยนตร์
ช่วงที่ 2 การเสวนาหนังยุค Digital Disruption " คนดู - เปลี่ยน - คนทำ - ปรับ - สะท้อนหนังกับภาวะ Digital Disruption " โดยมี ราเชนทร์ ลิ้มตระกูล ผู้กำกับภาพยนตร์ บัณทิต ทองดี ผู้กำกับภาพยนตร์ , นักเขียนบทภาพยนตร์ ผู้กำกับละคร , ผู้ควบคุมการสร้าง อานิไซ แก้วลา กลุ่มลาวนิวเวฟ สปป.ลาว สุลิยา ภูมิวง Animator - Photographer สปป.ลาว
ซึ่งการเสวนาในครั้งนี้ถูกดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ปรีชา สาคร ที่คอยซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของเหล่าวิทยากรเกี่ยวกับหัวข้อเสวนา หนังในยุค Digital Disruption และการอยู่รอดของคนทำหนังและอนาคตของโรงหนัง
ราเชนทร์ ลิ้มตระกูล เล่าว่า Digital Disruption ไม่รู้สึกว่ามันเปลี่ยนแปลงแค่ปรับตัวกับมันให้ทัน เทคโนโลยีทำมาเพื่อตอบสนองมนุษย์ทำให้มนุษย์ต้องหาทางแก้ปัญหา การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของโทรศัพท์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอินเทอร์เน็ตพัฒนาขึ้น ทำให้คนบริโภคคอนเทนต์มากขึ้น มองว่า Disruption มีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือมีคนเข้าถึงสิ่งที่เรานำเสนอมากขึ้น วงการทั่วโลกจะไม่ตายแต่มันจะหมุนเวียนหมุนเวียนเป็นวัฏจักร เราต้องปรับตัวเข้าหามัน แต่ข้อเสียอาจจะเป็นปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์กฎหมาย เรื่องการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีที่พัฒนาเรื่อย ๆ เช่น AR VR AI อาจจะเข้ามาแทนที่มนุษย์
ด้าน สุลิยา ภูมิวง แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ในเรื่องของแอนนิเมชั่นทุกคนต้องการดู 3D 4D ต้องวิ่งตามกระแส ถ้าทำแต่ 2D แบน ๆ มันน่าเบื่อเราต้องปรับตัว แต่เราไม่ได้ปรับตัวที่เจาะตลาดมุมกว้าง เราจะปรับตัวโดยการเจาะตลาดแคบ ๆ เราเอาแค่คนที่ชอบเจาะกลุ่มเด็ก เด็กชอบแต่เด็กไม่ได้ซื้อพ่อแม่เขาซื้อ ยังไงพ่อแม่ก็ต้องซื้อสื่อดี ๆ ให้ลูกอยู่แล้ว คือเราเจาะกลุ่มเป้าหมายถูกต้องเราก็อยู่รอด
ในขณะที่ อะนิไซ แก้วลา กล่าวว่า เชื่อว่าโรงหนังอาจจะยังมีอยู่ และยังทำหนังอยู่ในอนาคต เทคโนโลยีเปลี่ยนไป เราก็ปรับเปลี่ยนตาม แต่คนก็ยังดูหนังอยู่ แต่แพลตฟอร์มอาจจะปรับเปลี่ยนไป
ขณะที่ ธนิตย์ จิตนุกูล เผยว่า สมาคมเองก็พยายามที่จะมีกิจกรรมจัดการพูดคุยสัมมนามาแชร์กันเพื่อเกิดการพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ เป็นไปได้ไหมที่สมาคมจะมีโรงหนังเป็นของตัวเองไว้ฉาย หนังที่ไม่ได้ถูกเผยแพร่มาฉายในโรงของเราเองเรายังอยากจะทำหนังอยู่เพื่อให้คนไทยได้ดูและก็เป็นหนังที่ฉายโรงอยู่
ทั้งนี้ การจัดการสัมมนาธุรกิจภาพยนตร์สองฝั่งโขง " เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับหนังอีสาน - ลาว " การเสวนา " หนังในยุค Digital Disruption " ขึ้นก็เพื่อหาจุดยืนของหนังเมืองแคน และคนทำหนังทั้งกลุ่มคนทำหนังในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และกลุ่มคนรักหนัง ( กลุ่มทำหนังอินดี้ )ทั้งในประเทศไทยและลาว ได้มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ Disruption ที่มีอิทธิพลต่อภาพยนตร์และคนทำภาพยนตร์ในขณะนี้
“ Disruption ผู้กำกับจะล้มไหม หนังจะถูกล้มไหม ก็ได้คำตอบแล้วว่า หนังนี้เป็นคอนเทนต์ การสร้างคอนเทนต์ยังไงคนก็อยากดูส่วนจะผ่านช่องทางไหน ก็แล้วแต่ ถ้าถามว่าผู้กำกับส่วนใหญ่ เขาก็อยากให้ดูหนังในโรงมากกว่าทางช่องทางอื่น ยืนยันว่าหนังไทยไม่มีวันตาย อยู่ที่ว่าผู้กำกับไทยและลาวจะทนได้ไหมต่อ Disruption ที่มันจะเกิด ” รศ.ดร. นิยม ทิ้งท้าย
ข่าว/ภาพ ธนรรถพร อุ่มเกต นักข่าวภูมิภาค จ.ขอนแก่น