อัปเดต "ทางหลวง" 28 แห่ง น้ำท่วม สัญจรไม่ได้ ใน 11 จังหวัด
กรมทางหลวง สรุปสถานการณ์น้ำท่วม ดินสไลด์ บน "ทางหลวง" 22 จังหวัด 50 สายทาง 76 แห่ง การจราจรผ่านได้ 48 แห่ง ผ่านไม่ได้ 28 แห่ง ในพื้นที่ 11 จังหวัด
8 ต.ค.2565 กรมทางหลวง สรุป สถานการณ์อุทกภัยและดินสไลด์บนทางหลวง โดยล่าสุด เมื่อเวลา 15.00 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ในพื้นที่ 22 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย, จ.ศรีสะเกษ, จ.สุรินทร์, จ.บุรีรัมย์, จ.นครราชสีมา, จ.หนองบัวลำภู, จ.ขอนแก่น, จ.มหาสารคาม, จ.ยโสธร,จ.เพชรบูรณ์, จ.ชัยภูมิ, จ.อุบลราชธานี, จ.ร้อยเอ็ด, จ.ลพบุรี, จ.สุพรรณบุรี, จ.อ่างทอง, จ.พระนครศรีอยุธยา, จ.สิงห์บุรี, จ.นครสวรรค์, จ.ปราจีนบุรี, จ.เพชรบุรี และ จ.ตรัง จำนวน 50 สายทาง จำนวน 76 แห่ง
ทางหลวงที่การจราจรผ่านได้ 48 แห่ง การจราจรผ่านไม่ได้ 28 แห่ง ในพื้นที่ 11 จังหวัด โดยทุกจุดมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกด้านการจราจร รายละเอียดดังนี้
จ.เชียงราย 1 แห่ง
ทางหลวงหมายเลข 1338 ตอนขาแหย่ง - ป่าเหมี่ยง ในพื้นที่ อ.แม่ฟ้าหลวง ช่วง กม.ที่ 4+500 – 4+550 ระดับน้ำสูง 40 ซม. สะพานขาด ให้ใช้ทางเลี่ยง ทล.1130 และเส้นทางบ้านห้วยส้าน – บ้านป่าเหมี่ยง คาดว่าผ่านได้วันที่ 10 ต.ค. 65
จ.ขอนแก่น จำนวน 2 แห่ง
- ทางหลวงหมายเลข 2065 ตอน พล – ลำชี ในพื้นที่ อ.พล ช่วง กม.ที่ 33+150 – 34+000 ระดับน้ำ 40 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
- ทางหลวงหมายเลข 2183 ตอน น้ำพอง – โคกท่า ในพื้นที่ อ.น้ำพอง ช่วง กม.ที่ 14+500 – 15+100 ระดับน้ำ 40 - 50 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
จ.ชัยภูมิ จำนวน 1 แห่ง
ทางหลวงหมายเลข 2179 ตอน จตุรัส – บำเหน็จณรงค์ ในพื้นที่ อ.บำเหน็จณรงค์ ช่วง กม.ที่ 13+500 – 13+600 น้ำกัดเซาะคันทางชำรุด ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
จ.ศรีสะเกษ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่
- ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ศรีสะเกษ – ห้วยขะยุง ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ ช่วง กม.ที่ 311+900 – 313+384 ระดับน้ำ 60 – 80 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
- ทางหลวงหมายเลข 2083 ตอน หัวช้าง – สะเดา ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วงกม.ที่ 16+000 – 19+500 ระดับน้ำ 40 - 60 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
- ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน บ้านด่าน – เมืองน้อย ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วงกม.ที่ 27+500 – 29+000 ระดับน้ำ 40 - 60 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
- ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน บ้านด่าน - เมืองน้อย ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วง กม.ที่ 30+000 – 31+500 ระดับน้ำ 50 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
- ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน เมืองน้อย – กันทรารมย์ ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ ช่วง กม.ที่103+500 – 107+125 เป็นช่วงๆ ระดับน้ำ 50 - 80 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
- ทางหลวงหมายเลข 2373 ตอน โนนสำนัก – ดอนไม้งาม ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 12+000 – 14+625 ระดับน้ำ 30 - 40 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
- ทางหลวงหมายเลข 2412 ตอน ท่าศาลา – ละทาย ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ ช่วง กม.ที่ 12+000 – 16+500 เป็นช่วงๆ ระดับน้ำ 70 - 80 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
จ.สุรินทร์ จำนวน 1 แห่ง
ทางหลวงหมายเลข 2378 ตอน จอมพระ – สะพานบุรีรินทร์ ในพื้นที่ อ.จอมพระ ช่วง กม.ที่ 18+900 – กม.20+040 ระดับน้ำ 30 - 40 ซม.
จ.บุรีรัมย์ จำนวน 1 แห่ง
ทางหลวงหมายเลข 2378 ตอน สะพานบุรีรินทร์ – ไทรงาม ในพื้นที่ อ.สตึก ช่วง กม.ที่ 20+00 – 20+200 ระดับน้ำ 45 ซม.
จ.นครราชสีมา จำนวน 1 แห่ง
ทางหลวงหมายเลข 2285 ตอน ประทาย - ชุมพวง ในพื้นที่ อ.ชุมพวง ช่วง กม.ที่ 18+700 - กม.20+300 ระดับน้ำ 20 – 35 ซม.
จ.หนองบัวลำภู จำนวน 1 แห่ง
ทางหลวงหมายเลข 2146 ตอน หนองบัวลำภู - เขื่อนอุบลรัตน์ ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 39+500 – 42+000 ระดับน้ำ 40 ซม.
จ.อุบลราชธานี จำนวน 7 แห่ง
- ทางหลวงหมายเลข 24 ตอน วารินชำราบ – อุบลราชธานี ในพื้นที่ อ.วารินชำราบ ช่วง กม.ที่ 418+400 – 419+600 ระดับน้ำ 110 ซม. แนะนำเส้นทางเลี่ยง ทล.217 ทางแยกต่างระดับบัวเทิง เลี้ยวซ้ายไปสะพานข้ามแม่น้ำมูล เข้าสู่ตัวเมืองอุบลราชธานี
-ทางหลวงหมายเลข 23 ตอน เขื่องใน - อุบลราชธานี ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 259+700 – 261+800 ระดับน้ำ 50 ซม. ให้ใช้ทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
-ทางหลวงหมายเลข 23 ตอน เขื่องใน - อุบลราชธานี ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 274+840 น้ำกัดเซาะข้างท่อเหลี่ยม ทำให้ถนนทรุด ปิดการจราจรขาออก ใช้ทางเบี่ยง
- ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ห้วยขะยุง – วารินชำราบ ในพื้นที่ อ.วารินชำราบ ช่วง กม.ที่ 313+400 – 313+700 ระดับน้ำ 65 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
- ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ห้วยขะยุง – วารินชำราบ ในพื้นที่ อ.วารินชำราบ ช่วง กม.ที่ 319+600 – 319+800 ระดับน้ำ 120 ซม.
- ทางหลวงหมายเลข 231 ตอน ถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานี ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 3+600 – 9+300 ระดับน้ำ 53 - 115 ซม. ใช้ทางเลี่ยงถนนวงแหวนด้านทิศตะวันออก ทล.231
- ทางหลวงหมายเลข 2404 ตอน เขื่องใน – นาคำใหญ่ ในพื้นที่ อ.เขื่องใน ช่วง กม.ที่ 14+120 – 14+550 ระดับน้ำ 55 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ทล.2408 และ 2382
จ.มหาสารคาม จำนวน 1 แห่ง บนทางหลวงหมายเลข 291 ตอน ทางเลี่ยงเมืองมหาสารคาม ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 2+751 – 7+635 ระดับน้ำ 20 - 25 ซม.
จ.ยโสธร จำนวน 1 แห่ง บนทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน กู่พระโกนา - บ้านด่าน ในพื้นที่ อ.ฌพนทราย ช่วง กม.ที่ 25+000 - กม.26+315 ระดับน้ำ 20 วม. ไม่มีทางเลี่ยง เป็นช่วง กม.ต่อเนื่องกับ จ.ศรีสะเกษ ที่น้ำท่วมสุง
จ.ลพบุรี จำนวน 1 แห่ง บนทางหลวงหมายเลข 205 ตอน ม่วงค่อม - คลองห้วยไผ่ ในพื้นที่ อ.ชัยบาดาล ช่วง กม.ที่ 58+900 – 59+500 ระดับน้ำ 50 ซม. ให้ใช้ทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
จ.อ่างทอง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
- ทางหลวงหมายเลข 3501 ตอน อ่างทอง – บางหลวงโดด ในพื้นที่ อ.ป่าโมก ช่วง กม.ที่ 9+900 – 11+000 ระดับน้ำนอกคันกั้นดิน 80 ซม. ท่วมผิวจราจร 10 ซม.
- ทางหลวงหมายเลข 3501 ตอน อ่างทอง – บางหลวงโดด ในพื้นที่ อ.ป่าโมก ช่วง กม.ที่ 10+400 – 11+000 ระดับน้ำนอกคันกั้นดิน 80 ซม. ท่วมผิวจราจร 5 - 10 ซม.
จ.สิงห์บุรี จำนวน 1 แห่ง
ทางหลวงหมายเลข 311 ตอนแยกวัดสนามไชย - วัดกระดังงา ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 33+500 – 36+000 ระดับน้ำ 105 ซม. (ทางโค้งด้านใน) ให้ใช้ทางเลี่ยงทางหลวงชนบท สห.3030
คมชัดลึก ยังมีเนื้อหาสาระอื่นๆ ดูเพิ่มเติมได้ที่
Website - www.komchadluek.net
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057