ข่าว

เช็ค 3 จังหวัด เฝ้าระวัง "แม่น้ำท่าจีน" ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น 13-16 ต.ค. นี้

เช็ค 3 จังหวัด เฝ้าระวัง "แม่น้ำท่าจีน" ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น 13-16 ต.ค. นี้

12 ต.ค. 2565

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ หรือ "กอนช." เตือน พืันที่ 3 จังหวัด เฝ้าระวัง "แม่น้ำท่าจีน" ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ระหว่างวันที่ 13- 16 ต.ค. นี้

12 ต.ค.2565  กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ  (กอนช.)  รายงานว่าจากการติดตามเฝ้าระวังระดับน้ำ บริเวณลุ่มน้ำท่าจีน พบว่า มีฝนตกหนัก  ในช่วงวันที่ 9 - 10 ต.ค. 2565 บริเวณตอนบนเขื่อนกระเสียว ส่งผลให้วันที่ 11 ตุลาคม 2565 มีน้ำปริมาณมากไหลเข้า เขื่อนกระเสียว 15 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำเก็บกัก 318 ล้าน ลบ.ม  หรือ คิดเป็นร้อยละ 106 และมีน้ำไหลผ่านอาคารระบายน้ำล้นและอาคารระบายน้ำในตัวเขื่อน รวม 130 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลงสู่ลำห้วยกระเสียวและแม่น้ำท่าจีนตามลำดับ 

 

ส่งผลให้ระดับน้ำสูงขึ้นในช่วงวันที่ 13 - 16 ต.ค. 2565 ประกอบกับกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้คาดการณ์ ระดับน้ำทะเลหนุน ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน บริเวณปากน้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร และพื้นที่ใกล้เคียง จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ 

 

 

 

น้ำท่าจีนเอ่อทะลัก เข้าท่วมถนน เมื่อวันที่ 11 ต.ค.

 

จึงขอให้เฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

 - ลำห้วยกระเสียว บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ตำบลแจงงาม และหนองโพธิ์ อำเภอหนองหญ้าไซ ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง ตำบลกระเสียว และหนองสะเดา อำเภอสามชุก ตำบลหนองกระทุ่ม ป่าสะแก วังศรีราช หัวเขา และบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นและล้นตลิ่งประมาณ 0.10 – 0.15 เมตร 

 

- แม่น้ำท่าจีน บริเวณตั้งแต่อำเภอสามชุก ศรีประจันต์ เมืองสุพรรณบุรี บางปลาม้า และสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอบางเลน นครชัยศรี และสามพราน จังหวัดนครปฐม อำเภอกระทุ่มแบน และเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม  ประมาณ 0.15 - 0.30 เมตร
 

 

 

 

กอนช. เตือน พื้นที่เฝ้าระวัง ระดับน้ำ แม่น้ำท่าจีน เพิ่มสูงขึ้น

 

 


     
ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ ในการให้ความช่วยเหลือประชาชน รวมถึง ได้ปรับแผนบริหารจัดการน้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ  รวมถึงใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่แก้มลิง หน่วงน้ำ และรองรับน้ำหลาก 

 

สำหรับเขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี ขอให้บริหารจัดการน้ำโดยใช้ฝายยางหน่วงและชะลอน้ำ เพื่อลดการระบายน้ำ ผ่านทางระบายน้ำให้น้อยที่สุด และระบบชลประทานในการนำเข้าคลองต่างๆ ให้มากที่สุด 

 

 


ติดตามข่าวสาร คมชัดลึก อื่นๆ ได้ที่
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057