ข่าว

ชาวบ้านสวดยับ บริหารจัดการน้ำไร้ประสิทธิภาพ "น้ำท่วม"หนักกว่าปี 54

ชาวบ้านสวดยับ บริหารจัดการน้ำไร้ประสิทธิภาพ "น้ำท่วม"หนักกว่าปี 54

22 ต.ค. 2565

ชาวอ่างทอง เหลืออด สวดยับ "น้ำท่วม" รุนแรงกว่าปี 54 ชาวบ้านสุดกลั่น โวยรับมือไม่ไหว มวลน้ำไหลหลากมาทุกทิศทาง จวกยับบริหารจัดการน้ำไร้ประสิทธิภาพ

22 ต.ค.2565  สถานการณ์น้ำท่วม ในพื้นที่ จังหวัดอ่างทอง จากภาพมุมสูงบริเวณคลองบางตาแผ่น หรือคลองโพะสะ หมู่ที่ 1 ต.ศาลาแดง อ.เมือง จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นคลองที่รับน้ำจากทุ่งลำท่าแดง ปริมาณน้ำยังคงแรง และขยายวงกว้างต่อเนื่องจนล้นประตูระบายน้ำมานานกว่า 5 วันแล้ว

 

ส่งผลกระทบไปยังชุมชนริมสองฝั่งคลองทั้งในชุมชนเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง ต.ศาลาแดง ต.บ้านแห ต.คลองวัว จ.จำปาหล่อ อ.เมืองอ่างทอง รวมถึงพื้นที่ใน อ.วิเศษชัยชาญ และ อ.ป่าโมก ก่อนที่จะไหลข้ามไปสมทบกับพื้นที่ อ.บางบาลและ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีน้ำท่วมสูงอยู่แล้ว

 

 

 

 

 

 

ภาพมุมสูง น้ำท่วมพื้นที่อ.เมือง จ.อ่างทอง

 

 

ขณะที่ระดับน้ำที่ล้นตลิ่ง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ โดยเฉพาะบ้านเรือนที่เป็นชุนชนขนาดใหญ่เช่นชุมชนชัยมงคล 2 เขตเทศบาลเมืองอ่างทอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบ้านชั้นเดียวสูงกว่า 1.5 เมตร ทำให้ได้รับผลกระทบอย่างหนักจนไม่สามารถอาศัยอยู่ในบ้านได้ ต้องทิ้งออกไปอยู่ด้านนอก บางรายที่ไม่มีที่ไปก็ต้องพยายามกั้นน้ำ เพื่อไม่ให้เข้าภายนบ้านที่หนุนทรัพยสินไว้สูงท่วมหัว 

 

โดยชาวบ้านบอกว่า แม้จะสู้กับน้ำมาตลอด และสามารยืนหยัดได้เท่าระดับปี 2554 แต่แรงดันน้ำที่มหาศาลในปีนี้ ทำให้ทะลุแนวถนนด้านล่าง จนระเบิดเป็นทางยาวหลายสิบเมตร  หากค่อย ๆ ปล่อยมาก็สามารถจะสู้ไหว แต่หากปล่อยมาขนาดนี้ ยังไงก็ไม่ไหว เพราะยิ่งทำให้พื้นที่ ซึ่งมีน้ำท่วมหนักอยู่แล้ว ถูกซ้ำเติมหนักเข้าไปอีก

 

 

ชาวบ้านสวดยับ บริหารจัดการน้ำไร้ประสิทธิภาพ "น้ำท่วม"หนักกว่าปี 54

 

 

อย่างไรก็ตาม จากการสังเกตพบว่า น้ำจะถูกปล่อยมาในช่วงค่ำ ซึ่งในช่วงค่ำคืนทุกวัน จะมีน้ำไหลแรงมาก คาดว่าทางชลประทานน่าจะยกประตูระบายน้ำในช่วงกลางดึก เพื่อระบายน้ำทางด้านตอนเหนือให้หลากเข้าท่วมพื้นที่ที่กำลังประสบปัญหา และถือว่าเป็นการบริหารน้ำแบบไร้ประสิทธิภาพมากที่สุด 

 

 

 

ชาวบ้านสวดยับ บริหารจัดการน้ำไร้ประสิทธิภาพ "น้ำท่วม"หนักกว่าปี 54

 

 

สำหรับสถานการณ์ล่าสุด เขื่อนเจ้าพระยา ที่จังหวัดชัยนาท ลดการระบายน้ำลงต่อเนื่อง  โดยขณะนี้ระบายน้ำ อยู่ที่ 2702ลบ.เมตร/วินาที น้ำเหนือเขื่อน 17.68 เมตร ท้ายเขื่อน 16.37 เมตร ทำให้ระดับน้ำที่สถานีชลมาตร C7A หน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง อยู่ที่ 9.38 เมตร/รทก. น้ำไหลผ่าน 2,605 ลบ.เมตร/วินาที

 

ขณะที่แม่น้ำน้อย ประตูระบายน้ำยางมณีน้ำเหนือประตู 9.76 เมตร ท้ายประตู 9.73 เมตร โดยมีรายงานแจ้งว่าน้ำส่งผลกระทบพื้นที่ใน 5 อำเภอของจังหวัดอ่างทองคือ อ.ไชโย อ.เมือง อ.ป่าโมก และลุ่มแม่น้ำน้อย ในอ.โพธิ์ทองและ อ.วิเศษชัยชาญ มีบ้านเรือนถูกน้ำท่วมแล้ว 47 ตำบล 266 หมู่บ้าน 17871 หลัง และยังมีอีกหลายจุดที่น้ำล้นตลิ่งต่อเนื่อง ซึ่งทางจังหวัดอ่างทองได้เตรียมความพร้อมในการรับมือและแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด

 

 

จีระนันท์ กลิ่นสุคนธ์ จ.อ่างทอง

 


ติดตามข่าวสาร คมชัดลึก อื่นๆ ได้ที่
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057