ข่าว

องค์การสวนสัตว์ฯ ปล่อย "นกกาฮัง" คืนสู่ธรรมชาติ ในรอบ20ปี

องค์การสวนสัตว์ฯ ปล่อย "นกกาฮัง" คืนสู่ธรรมชาติ ในรอบ20ปี

27 ต.ค. 2565

องค์การสวนสัตว์ฯ ปล่อย "นกกาฮัง" กลับคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในเขตพื้นที่ภาคเหนือ หลังจากสูญหายไปจากผืนป่าภาคเหนือของประเทศไทย มานานกว่า 20 ปี

วันที่ 27 ตุลาคม 2565 ที่อุทยานแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง นายจำลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วย นายอรรถพร ศรีเหรัญ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย นายสักรินทร์ ปัญญาใจ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง นายนพรัตน์ รักษ์ไพรสาณฑ์ นายอำเภอเมืองปาน และคณะผู้บริหารองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ-เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในพื้นที่ภาคเหนือ มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หัวหน้าหน่วยงานภาครัฐ ผู้นำชุมชน ผู้นำโรงเรียน ตัวแทนบริษัทเอกชน และชาวบ้านในจังหวัดลำปาง ร่วมกันเปิด “โครงการทดลองปล่อยนกกาฮังคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในเขตพื้นที่ภาคเหนือ” ณ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง ภายใต้แนวคิด “พานกกาฮังปิ๊กบ้าน” นำ นกกาฮัง หรือ นกกก หนึ่งในนกเงือกขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย จำนวน 2 ตัวที่ได้รับการคัดเลือกและฟื้นฟูพฤติกรรมปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ถือเป็นนกกาฮังคู่แรกที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติของภาคเหนือ ภายหลังการสูญหายไปหมดสิ้น

 

โดยทางคณะผู้วิจัยของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ภาคเหนือกว่า 6 แห่ง อาทิ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ อุทยานแห่งชาติขุนแจ อุทยานแห่งชาติศรีลานนา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว สถานีวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนจาก วช. สกสว. บริษัทกรุงสยามเครื่องดื่มจำกัด เพจโครงการ SOS for birds and Turtle และโรงพยาบาลสัตว์เลี้ยงพรีเมียร์ ในการศึกษาวิจัยภายใต้ชุดแผน “การบูรณาการจัดการประชากรและการฟื้นฟูพฤติกรรมนกกาฮัง เพื่อเตรียมความพร้อมในการทดลองปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ” ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่นำเอาการศึกษาทางด้านพันธุกรรม การศึกษาประเมินพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการทดลองปล่อย และการฟื้นฟูพฤติกรรมก่อนการนำปล่อยคืนสู่ธรรมชาติมาใช้บูรณาการร่วมกัน

นายจำลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง

นายอรรถพร ศรีเหรัญ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย
 

​นายอรรถพร ศรีเหรัญ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าปัจจุบันการแพร่กระจายของนกกาฮังในประเทศไทยตกอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ถีงแม้จะมีพื้นที่การกระจายที่กว้างแต่มีความหนาแน่นของประชากรต่ำ ทั้งนี้พบว่าบางพื้นที่ของประเทศไทย เช่น พื้นที่ทางภาคเหนือ นกกาฮังได้สูญหายจากธรรมชาติไปหมดสิ้น ในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา 
องค์การสวนสัตว์ฯ ปล่อย \"นกกาฮัง\" คืนสู่ธรรมชาติ ในรอบ20ปี

องค์การสวนสัตว์ฯ ปล่อย \"นกกาฮัง\" คืนสู่ธรรมชาติ ในรอบ20ปี

 

ทั้งนี้ทางองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ที่มีพันธะกิจหลักทางด้านการอนุรักษ์ วิจัยพันธุ์สัตว์ป่าหายากทั้งในถิ่นอาศัยและนอกถิ่นอาศัย ได้ดำเนินความพยายามในการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ จนมีจำนวนประชากรบางส่วนที่เพียงพอต่อการปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ 

“นกกาฮัง” หรือ “นกกก” นั้นถือเป็นนกเงือก 1 ใน 13 ชนิดที่พบในประเทศไทย

“นกกาฮัง” จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562

ซึ่ง “นกกาฮัง” หรือ “นกกก” นั้นถือเป็นนกเงือก 1 ใน 13 ชนิดที่พบในประเทศไทย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และอยู่ในบัญชีแดงขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (ไอยูซีเอ็น) โดยองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ประสบความสำเร็จด้านการขยายพันธุ์นกกาฮังในสภาพเพาะเลี้ยง รวมถึงนกเงือกชนิดอื่น ๆ บางชนิด ซึ่งมีการศึกษาวิจัยมาเป็นลำดับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540

 

โดยประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์นกกาฮังครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545 และประสบความสำเร็จต่อเนื่องทุกปี ถึง ปัจจุบัน เมื่อพิจารณาถึงความสำคัญที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศ และเป็นชนิดพันธุ์ที่มีความโดดเด่น ดึงดูดความสนใจของสาธารณะชนทั่วไปในการสร้างให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของสัตว์ป่าหายากที่ใกล้สูญพันธุ์ของประเทศไทยได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรขึ้นในพื้นที่อนุรักษ์ภาคเหนือของประเทศไทย 

 

ทั้งนี้ตามแผนระยะที่ 1 ทางโครงการวิจัยฯ มีแผนการทดลองปล่อยนกกาฮังคู่แรกคืนสู่ธรรมชาติในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง เพื่อศึกษาการใช้พื้นที่เชิงนิเวศ การกระจาย และการอยู่รอดได้ในพื้นที่ โดยจะทยอยปล่อยเพิ่มเติมเป็นระยะๆ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน รวมถึงพื้นที่ป่าอนุรักษ์ภาคเหนือแห่งอื่น ๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น รวมถึงจะมีการดำเนินงานติดตามภายหลังการทดลองปล่อยที่สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของ IUCN SSC และ AZA ในการปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติที่เป็นไปตามหลักทางวิชาการสากลในอีกหลายปีข้างหน้าต่อไป

องค์การสวนสัตว์ฯ ปล่อย \"นกกาฮัง\" คืนสู่ธรรมชาติ ในรอบ20ปี

องค์การสวนสัตว์ฯ ปล่อย \"นกกาฮัง\" คืนสู่ธรรมชาติ ในรอบ20ปี

องค์การสวนสัตว์ฯ ปล่อย \"นกกาฮัง\" คืนสู่ธรรมชาติ ในรอบ20ปี

องค์การสวนสัตว์ฯ ปล่อย \"นกกาฮัง\" คืนสู่ธรรมชาติ ในรอบ20ปี องค์การสวนสัตว์ฯ ปล่อย \"นกกาฮัง\" คืนสู่ธรรมชาติ ในรอบ20ปี


องค์การสวนสัตว์ฯ ปล่อย \"นกกาฮัง\" คืนสู่ธรรมชาติ ในรอบ20ปี องค์การสวนสัตว์ฯ ปล่อย \"นกกาฮัง\" คืนสู่ธรรมชาติ ในรอบ20ปี

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่

เพิ่มเพื่อน Line: https://lin.ee/qw9UHd2

Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/