สทนช. นำทัพ ผุด ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง
"สทนช." นำทัพหน่วยงานภาครัฐ เปิด "ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง " ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล พระนครศรีอยุธยา วางเป้าหมายภารกิจ เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน ตั้งแต่การป้องกันก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย จนถึงหลังเกิดภัย
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ "สทนช." ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมทรัพยากรน้ำ กรมประชาสัมพันธ์ และกองบัญชาการกองทัพไทย เปิด "ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง " ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา
เพื่อเตรียมความพร้อมและบริหารจัดการสถานการณ์ ตลอดจนติดตามประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำและอำนวยการหน่วยงานในพื้นที่บริหารจัดการมวลน้ำในช่วงฤดูฝน ให้เกิดความเป็นเอกภาพจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายโดยเร็ว "ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง " ทำหน้าที่วางแผนเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน ตั้งแต่การป้องกันก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย และหลังเกิดภัย โดยจะร่วมกันวางแผนและจัดสรรน้ำอย่างเหมาะสม พร้อมวิเคราะห์คาดการณ์ที่แม่นยำ ทันต่อเหตุ การณ์ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนการปฏิบัติงานจนเห็นผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
ลดผลกระทบ และช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันต่อสถานการณ์ ซึ่งทุกหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจะการเตรียมเจ้าหน้าที่ ทรัพยากร สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้พร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคกลาง โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยาในช่วงปลายฤดูฝนนี้ ลดผลกระทบ และช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันต่อสถานการณ์ ซึ่งทุกหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจะการเตรียมเจ้าหน้าที่ ทรัพยากร สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้พร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคกลาง โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยาในช่วงปลายฤดูฝนนี้
สำหรับสถานการณ์น้ำในขณะนี้ ร่องมรสุมพาดผ่านผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยในช่วงนี้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยานั้น มวลน้ำหลากจากตอนบนไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดมีน้ำไหล ผ่านเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ 1,498 ลบ.ม./วินาที จะส่งผลให้น้ำท่าบริเวณด้านท้ายน้ำมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำในบางพื้นที่
ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ส่วนหน้าภาคกลาง ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นการรับน้ำเข้าทุ่งผักไห่ พร้อมร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในประเด็นการรับน้ำเข้าทุ่งผักไห่ โดยในที่ประชุม ได้มีมติสมัครใจในการนำน้ำเข้าทุ่งฯ ซึ่งเกษตรกรยังเห็นว่า การรับน้ำเข้าทุ่งนั้น ยังสามารถช่วยในเรื่องของไล่หนู และเป็นการกำจัดวัชพืชในนาอีกทั้งยังเป็นการเติมปุ๋ยธรรมชาติ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาได้อีกด้วย
ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง
นอกจากนี้ยังได้คาดการณ์ว่า อ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณอ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ คาดการณ์ว่าจะมีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน และมีแนวโน้มปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80
"พื้นที่ที่ที่รับผลกระทบขณะนี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ ในพื้นที่ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และ พระนครศรีอยุธยา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งเข้าให้ความช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่การเกษตรใน 6 อำเภอ ใน จ.ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยาแล้ว ขณะเดียวกัน สทนช.ได้เน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการน้ำและเก็บกักน้ำปลายฤดูฝน รวมถึงเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่ว่าน้ำที่เก็บกักจะไว้สำรองไว้ใช้อุปโภค บริโภค ไม่สนับสนุนการทำนาปีต่อเนื่อง โดยกำหนดมาตรการเสริมเมนูอาชีพให้เป็นทางเลือกของเกษตรกร" เลขาธิการ สทนช. ระบุ
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี