ไลฟ์สไตล์

สัมผัสเสี้ยวชีวิต 'ด.ต.วิไล' ครูตชด.ถักทอรร.ในฝันของท้องถิ่น

สัมผัสเสี้ยวชีวิต 'ด.ต.วิไล' ครูตชด.ถักทอรร.ในฝันของท้องถิ่น

12 ธ.ค. 2562

สัมผัสเสี้ยวชีวิต ครูผึ้ง 'ด.ต.วิไล ธนวิภาศรี ' ครูตชด. ผู้ประสานความร่วมมือร่วมใจในชุมชน ช่วยกันถักทอรร.ในฝันของท้องถิ่นให้เกิดขึ้นจริง..

 

 

               รอยยิ้ม... ท่าทีร่าเริงเป็นมิตรของเด็กๆ และความตั้งใจมาเรียนจนอัตราการขาดเรียนด้วยสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ใช่การลาป่วยมีตัวเลขเป็นศูนย์เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เห็นได้จากโรงเรียนในสังกัด“กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน” (ตชด.)บ้านห้วยสลุง อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก

     อ่านข่าว :  เปิด25ข้อทวงศักดิ์ศรี ครูไทยกลับคืน

 

               สิ่งที่กล่าวมาไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เกิดขึ้นแต่เป็นความเสร็จในการจัดการที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองและทุกๆ คน ในโรงเรียนแห่งนี้ ที่ค่อยๆ ถักทอภาพของโรงเรียนในฝันขึ้นมาร่วมกัน

 

สัมผัสเสี้ยวชีวิต \'ด.ต.วิไล\' ครูตชด.ถักทอรร.ในฝันของท้องถิ่น

                            ด.ต.หญิง วิไล ธนวิภาศรี 

 

                แต่สิ่งเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นยาก หากขาดหัวเรือหลักอย่าง “ด.ต.หญิง วิไล ธนวิภาศรี” ครูใหญ่โรงเรียน ตชด. บ้านห้วยสลุง คอยกำกับทิศทาง

               ด.ต.หญิง วิไล หรือครูผึ้งของเด็กนักเรียนโรงเรียนตชด.บ้านห้วยสลุงเล่าว่า เหตุผลสำคัญของการทำงานได้อย่างเข้าใจธรรมชาติของเด็กในพื้นที่และชุมชน นั้นมาจากการเป็นคนในพื้นที่ เป็นครูตชด.ที่ได้กลับมาทำงานในบ้านเกิดตัวเอง

 

สัมผัสเสี้ยวชีวิต \'ด.ต.วิไล\' ครูตชด.ถักทอรร.ในฝันของท้องถิ่น

                “สมัยก่อนที่บ้านและที่โรงเรียนเป็นพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร ไม่มีหน่วยจัดการศึกษาที่ไหนเข้าไปจัดให้ มีแต่โรงเรียน ตชด.เข้ามาจัดการศึกษาให้ มีห้องเรียนป.1ถึง ป.4เรียนถึงชั้นสูงสุดของโรงเรียน คือจบป.4ก็ไปเรียนที่โรงเรียนใกล้บ้านห่างจากหมู่บ้านประมาณ2กิโลเมตรเป็นโรงเรียนในสังกัดของสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)เพื่อเรียนต่อ ป.5 และ ป.6" ด.ต.หญิง วิไล ย้อนอดีต

              

 

 

               ด.ต.หญิง วิไล   เล่าอีกว่า  การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ตชด.ในสมัยนั้นเป็นการจัดตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)  มีครู ตชด. เข้ามาเป็นผู้สอน สมัยนั้น ทั้งโรงเรียนมีครูประมาณ 4 คน การเรียนการสอน เน้นให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้เป็นส่วนใหญ่ไม่มีวิชาการ หรือการสอบประเมินมากมายเหมือนสมัยนี้โครงการอาหารกลางวันก็ไม่มี เมื่อก่อนนาน ๆ ก็จะมีเขามาเลี้ยงสักทีหนึ่งเพราะเมื่อก่อนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนจะเน้นให้นักเรียนได้อ่านออกเขียนได้อย่างเดียว ไม่มีอะไรประเมินมากมายเหมือนสมัยนี้

 

 

สัมผัสเสี้ยวชีวิต \'ด.ต.วิไล\' ครูตชด.ถักทอรร.ในฝันของท้องถิ่น

 

             “สมัยนั้นยังไม่มีโครงการอาหารกลางวันนักเรียนต้องเดินกลับไปทานข้าวที่บ้านเอง หรือหอใบไม้ใส่กล่องมากิน ส่วนใหญ่เป็นอาหารง่ายๆ ข้าวกับน้ำพริก แต่บางอาทิตย์ หรือบางเดือนจะมีคณะผู้ใหญ่ใจดีเดินทางจากในเมืองเข้ามาเลี้ยงอาหารกลางวันได้กินอาหารดีๆหรือบางครั้งครูก็ทำอาหารกลางวันเลี้ยงพวกเรา” ครูใหญ่โรงเรียนบ้านห้วยสลุงเล่าถึงช่วงชีวิตวัยเรียนของตัวเอง

   

 

สัมผัสเสี้ยวชีวิต \'ด.ต.วิไล\' ครูตชด.ถักทอรร.ในฝันของท้องถิ่น

            หลังจากเรียนจบชั้นม.6 ด.ต.วิไล ทราบจากข่าวประชาสัมพันธ์เรื่องโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น หรือที่รู้จักกันในชื่อโครงการคุรุทายาทของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งประกาศรับศิษย์เก่าที่จบชั้นสูงสุดจากโรงเรียน ตชด. จึงลองไปสอบแข่งขันเป็นตำรวจชั้นประทวน เมื่อสอบได้ตามที่ประกาศ ก็เข้าเรียนและฝึกเป็นภาคสนามของ ตชด.3เดือน จากนั้นก็ฝึกความสามารถครูอีก6เดือนก็ได้บรรจุเป็นครูตชด.กลับมาสอนที่บ้านเกิด

 

 

สัมผัสเสี้ยวชีวิต \'ด.ต.วิไล\' ครูตชด.ถักทอรร.ในฝันของท้องถิ่น

          ครูผึ้งเล่าว่า โรงเรียนปัจจุบันที่ได้รับมอบหมายให้มาปฏิบัติหน้าที่เป็นครูใหญ่เป็นโรงเรียนที่สร้างขึ้นจากความต้องการของคนในชุมชนประชาชนในพื้นที่บ้านห้วยสลุง หมู่8ต.พระธาตุ อ.แม่ระมาด จ.ตาก ส่วนใหญ่เป็นชาวปกาเกอะญอที่อพยพมาจากพื้นที่ดอยสูงมาตั้งรกรากในพื้นที่ ยึดอาชีพรับจ้างมีฐานะยากจน ลูกหลานในพื้นที่ไม่มีโรงเรียน

 

 

สัมผัสเสี้ยวชีวิต \'ด.ต.วิไล\' ครูตชด.ถักทอรร.ในฝันของท้องถิ่น

         เดิมนักเรียนในหมู่บ้านต้องเดินทางไปเรียน ที่โรงเรียนบ้านทุ่งมะขามป้อมซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 4.2 กิโลเมตรชาวชุมชนบ้านห้วยสลุงจึงดำเนิการขอจัดตั้งโรงเรียนในชุมชนไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่34 ให้จัดตั้งศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยสลุง เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่16 พฤษภาคม 2560

 

 

สัมผัสเสี้ยวชีวิต \'ด.ต.วิไล\' ครูตชด.ถักทอรร.ในฝันของท้องถิ่น

          โดยในส่วนของอาคารเรียนที่เห็นในปัจจุบัน มาจากการขอความอนุเคราะห์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี จนได้รับการจัดสรรคงบประมาณให้และใช้แรงงานก่อสร้างจากนักศึกษาจิตอาสาช่วยเหลือสังคมจาก3สถาบัน คือมทร.ธัญบุรีมทร.ล้านนา และมทร.สุวรรณภูมิ ใช้เวลาสร้างอาคารหลักของโรงเรียน3หลัง ประกอบด้วยอาคารราชมงคลเฉลิมพระเกียรติหลังที่ 47,48,49 ทั้งหมด ในเวลา 35 วัน

            

 

 

         “สภาพของชุมชนและโรงเรียนในปัจจุบันดีขึ้นกว่าเมื่อสมัยก่อน เพราะว่าการคมนาคมสะดวก มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น โรงเรียนใช้รูปแบบการบริหารจัดการแบบ โรงเรียนตชด. ให้เด็กได้ศึกษาทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติเน้นให้เด็กได้ลงมือทำปลูกผักกิน เลี้ยงไก่ หมู ปลาตามโครงการพระราชดำริต่าง ๆส่วนหนึ่งที่เด็กมาโรงเรียนเกือบ100 %ก็เนื่องจากผู้ปกครองรุ่นปัจุบัน เริ่มมีการศึกษาเห็นความสำคัญของการเรียน คนสมัยก่อนไม่ได้เรียนหนังสือ ด้วยคุณภาพชีวิต ด้วยความยากจน เขาอาจจะต้องพาเด็ก ๆ ไปช่วยทำไร่ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว”ด.ต.หญิง วิไลเล่าถึงความเป็นไปในปัจจุบัน

 

 

สัมผัสเสี้ยวชีวิต \'ด.ต.วิไล\' ครูตชด.ถักทอรร.ในฝันของท้องถิ่น

 

สัมผัสเสี้ยวชีวิต \'ด.ต.วิไล\' ครูตชด.ถักทอรร.ในฝันของท้องถิ่น

         ครูผึ้งเล่าด้วยว่า ความสำเร็จของตัวเองซึ่งเป็นนักเรียนที่จบจากโรงเรียน ตชด.ไปเรียนต่อในเมืองจนจบแล้วได้รับโอกาสให้กลับมาเป็นครูที่บ้านเกิด ถือเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่มีส่วนช่วยชักจูงจิตใจให้เด็ก ๆ อยากมาเรียนในโรงเรียน

 

 

สัมผัสเสี้ยวชีวิต \'ด.ต.วิไล\' ครูตชด.ถักทอรร.ในฝันของท้องถิ่น

        “เมื่อเขาเห็นเราเขาก็จะเห็นว่าเขาจะมีอนาคตที่ดีได้จากความตั้งใจเรียน ซึ่งโรงเรียน ตชด.ให้ได้ทั้งการศึกษา ให้ทักษะชีวิตที่ผ่านมาเคยไปติดตามนักเรียนที่ขาดเรียนถึงบ้านว่าเป็นเพราะอะไรทำไมขาดเรียนส่วนมากเด็กที่ไม่มาเรียนจะเกิดจากปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วย ไม่สบายเท่านั้น พวกที่โดดเรียนไม่มาเรียนเลย ที่นี่ไม่มีค่ะเด็กมาเรียนเพราะมาแล้วมีความสุข”  ด.ต.วิไล กล่าวทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้ม

 

               ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  กล่าวถึงกรณีของครูใหญ่โรงเรียนตชด.บ้านห้วยสลุง สอดคล้องกับแนวคิด โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว.) กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ในการ สนับสนุนทุนสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนยากจนด้อยโอกาสจากครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำที่สุดร้อยละ 20 แรกของประเทศในพื้นที่ห่างไกลที่อยากเป็นครูได้เรียนครูจนจบปริญญาตรี และกลับมาเป็นครูในโรงเรียนท้องถิ่นของตน ด้วยการสนับสนุนทุนให้แก่นักศึกษา รุ่นละ 300 ทุนทั้งหมด 5 รุ่น รวม 1,500 ทุน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป

 

        “อยากให้ครูรุ่นใหม่ตามโครงการของเรา มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ เพราะว่า ปัญหาบางอย่าง ที่ครู ตชด. ท่านนี้เคยเจอ เคยแก้ไขจนสำเร็จ หรือเทคนิคการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในบางเรื่องได้มาจากประสบการณ์ของคนที่มีทักษาะรู้จักธรรมชาติ ลักาณะพาะของท้องถิ่น และเป็นเรื่องที่การสอนทฤษฏีตอบโจทย์ไม่ได้

 

          ผู้ที่จะมาเป็นครูรุ่นใหม่ ควรได้เรียนรู้จากครูท่านนี้ เป็นวิธีที่คิดที่ได้จากความรู้พื้นฐานในท้องถิ่นมาช่วยผลักดันให้เกิดองค์ความรู้จากฐานความรู้ที่ต่างกันในแต่ละพื้นที่  เด็กชาติพันธุ์ ประเพณีวัฒนธรรมแตกต่าง แต่ละที่บริบทการเรียนบางเรื่องต่างกัน  โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น จึงตั้งเป้าหมายที่จะเติมเต็มเรื่องนี้ให้เด็ก ให้นักเรียนทุนของเราได้ตระหนักว่า การได้อยู่ในพื้นที่จริง ได้ทำอะไรในเชิงปฏิบัติ นำไปสู่การมีโอกาสในการศึกษาเรื่องต่างๆ เพิ่มจากตำราในมุมของเอง สร้างองค์ความรู้ของท้องถิ่น และกลับมาเป็นครูในบ้านเกิดตัวเอง กลับมาถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นๆ มองเห็นความสำคัญของการช่วยกันดูแล พัฒนาท้องถิ่นให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต” ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาครูฯ กศส. กล่าว