เปิดฉากซักฟอก"ชวน"ห้ามฝ่ายค้านแตะถวายสัตย์
"ชวน" ห้ามฝ่ายค้านซักฟอก ปมหถวายสัตย์ แจงเรื่องเกิดก่อนการบริหารราชการแผ่นดิน-ข้อบังคับประชุมห้ามก้าวล่วงโดยไม่จำเป็น "สมพงษ์"นำแถลงเปิดญัตติ ซัดพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ 6รมต. ส่อบริหารประเทศล้มเหลว - เอื้อพวกพ้อง "สมพงษ์" เปิดหัว 6 รมต. ไม่น่าไว้วางใจ
รัฐสภา 24 กุมภาพันธ์ 2563 การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ในสมัยประชุมสามัญ ประจำปีครั้งที่ 2 วันแรก ได้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 13.30 น. โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ เป็นประธานที่ประชุม
ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระ นายชวน ชี้แจงผลการหารือระหว่างคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิป รัฐบาล) และ วิปฝ่ายค้านรวมถึงข้อตกลงในที่ประชุม ว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะสิ้นสุดเวลา 19.00 น. ของวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ต่อจากนั้นจะเป็นการอภิปรายเพื่อสรุปญัตติ จำนวน 2 ชั่วโมง ขณะนี้การชี้แจงของรัฐมนตรีนั้น ตามข้อบังคับไม่ได้กำหนดช่วงเวลาที่จะชี้แจง ว่าจะหลังการอภิปรายทั้งหมดหรือหลังจบการอภิปรายของส.ส.แล้วกี่คน
ขณะที่การชี้แจงนั้นส.ส.ไม่มีสิทธิ์ตอบโต้แทน เพราะการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ และรัฐมนตรีนั้นเป็นสิทธิที่นายกฯ และรัฐมนตรีต้องชี้แจงเอง ทั้งนี้การมอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องชี้แจงสามารถทำได้ ขณะที่การอภิปรายของส.ส.ฝ่ายค้านนั้น ผู้ควบคุมเสียงของฝ่ายค้านจะส่งชื่อมายังคนครั้งละ 3 คน และจะเป็นผู้กำหนดเวลาเอง โดยตนไม่ต้องกำหนดเวลา
"ประเด็นการการถวายสัตย์ปฏิญาณตนของคณะรัฐมนตรี ไม่อนุญาตให้อภิปราย เพราะเกิดก่อนการบริหารราชกรรแผ่นดิน อีกทั้งข้อบังคับการประชุมสภาฯข้อที่ 69 ห้ามการอภิปรายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์โดยไม่จำเป็น อย่างไรก็ตามเอกสิทธิคุ้มครองส.ส. ที่พาดพิงพิงไปยังบุคคลภายนอก หรือบุคคลที่สามนั้นได้สิทธิ์เฉพาะในห้องประชุม แต่เมื่อเนื้อหาถ่ายทอดไปยังภายนอกแล้วนั้นเป็นความารับผิดชอบของส.ส. ทั้งนี้การอภิปรายไม่ไว้วางใจถือเป็นการตรวจสอบรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตย การทำงานในสภาฯ เพื่อให้มีประสิทธิภาพนั้นต้องทำในทางสร้างสรรค์" นายชวน กล่าว
ต่อจากนั้น เป็นการนำเสนอญัตติ โดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ที่แถลงรายละเอียดบุคคลที่ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ จำนวน 6 คน คือ 1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, 2.พล.อ.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกน, 3.พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงหมาดไทย
4.นายดอน ปรมัติวินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, 5. ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ 6.นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ทั้งนี้ในคำแถลงญัตติ ย้ำว่าการบริหารราชการแผ่นดินของนายกฯที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ที่ผ่านมา ทำให้ประเทศล้มเหลวทางด้านเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง เช่นเดียวกันรัฐมนตรีที่ถูกยื่นญัตตออภิปรายไม่ไว้วางใจ มีพฤติกรรมที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริต และขาดคุณธรรม ทำผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรง รวมถึงแสวงหาประโยน์อันมิควรได้ รวมถึงใช้หน้าที่เอื้อพวกพ้อง สร้างประโยชน์ให้กับคนเองและพวกพ้อง
"พรรคฝ่ายค้านไม่อาจไว้วางใจบริหารราชการประเทศต่อไป เพราะไร้ประสิทธิภาพ ล้มเหลวการบริหารราชการแผ่นดิน เพราะการทุจริต ใช้อำนาจมิชอบ เอื้อประโยชน์พวกพ้อง โดยเฉพาะการใช้อำนาจเพื่อสร้างกติกาเพื่อรักษาและสืบทอดอำนาจตนเอง ที่อ้างว่าประชาธิปไตยแต่สร้างความกังขาให้สังคม โดยตำแหน่งนายกฯ ของพล.อ.ประยุทธ์ไม่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน แต่มาจากเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ ให้ส.ว.ที่ท่านเลือกมาเลือกท่าน รวมถึงการกำหนดกลไกในรัฐธรรมนูญเสื่อมทรุด รวมถึงทำให้เรื่องผิดเป็นเรื่องถูก ขัดต่อบรรทัดฐาน ซึ่งผมเห็นว่าพวกท่านเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ประเทศ" นายสมพงษ์ แถลงญัตติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างที่นายสมพงษ์ แถลงเปิดญัตตินั้น ถูกทักท้วงการอ่านเนื้อหาผิด 2 จุด คือ ตำแหน่งของพล.อ.ประยุทธ์ ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อ่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รวมถึงพฤติกรรมที่ไม่ยึดมั่นและศรัทธาต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยอ่านตกคำว่าไม่ ทำให้นายชวนทักท้วงและนายสมพงษ์ได้แก้ไข