ข่าว

  "บิ๊กตู่" นั่งหัวโต๊ะถก ศบค.ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ชี้ ผ่อนปรนข้อกำหนด ต้องมีเวลาเตรียมการ และมาตรการ ยอมรับ ห่วงเยียวยายังไม่ทั่วถึง

"บิ๊กตู่" นั่งหัวโต๊ะถก ศบค.ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ชี้ ผ่อนปรนข้อกำหนด ต้องมีเวลาเตรียมการ และมาตรการ ยอมรับ ห่วงเยียวยายังไม่ทั่วถึง

27 เม.ย. 2563

"บิ๊กตู่" นั่งหัวโต๊ะถก ศบค.ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ชี้ ผ่อนปรนข้อกำหนด ต้องมีเวลาเตรียมการ และมาตรการ ยอมรับ ห่วงเยียวยายังไม่ทั่วถึง

 

              เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 27 เม.ย. ที่ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาลนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) โดยมีคณะรัฐมนตรี หน่วยงานด้านความมั่นคง การสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารืออย่างพร้อมเพรียง

 

อ่านข่าว-ด่วน "ศบค."ต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉิน"อีก1เดือน

 

 

          โดยคาดว่าการประชุมในวันนี้ จะมีการประเมินสถานการณ์ด้านความมั่นคงและการสาธารณสุข ในมาตรการต่างๆรวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่แม้จะมีอัตราการติดเชื้อที่ลดลง แต่แพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารสุขส่วนใหญ่ ยังมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าการผ่อนคลายมาตรการและข้อกำหนดต่างๆโดยทันทีอาจส่งผลให้การติดเชื้อกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง อีกทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคงที่ได้มีการประชุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาก็ยังมีความเห็นสอดคล้องว่าควรจะยังคงมาตรการและข้อกำหนดต่างๆไว้ก่อน

 

             โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการประชุมเชิงบูรณาการวันเดียวกันนี้ ถือเป็นการหารือร่วมกันในการแก้ไขปัญหาโควิด-19  ซึ่งประเทศไทยทำได้ดีมากในระดับหนึ่ง ได้รับการยอมรับทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ แม้จะมีปัญหาอยู่บ้าง และที่ต้องมีการพิจารณาวันนี้คือเรื่องการต่ออายุการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมทั้งการปรับข้อกำหนดให้มีการผ่อนผัน จะต้องให้มีเวลาเตรียมการและมีมาตรการคู่ขนานด้านการสาธารณสุข ต้องดูแลก่อนช่วงที่จะมีการปลดล็อค ซึ่งการประกาซใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มา 1 เดือนเต็มนั้น ต้องขอบคุณทุกฝ่ายที่ได้ทำหน้าที่ยังเต็มที่ทั้งผู้ที่ไม่ได้เป็นกรรมการ แต่ก็มาเป็นที่ปรึกษาคอยช่วยเหลือ วันนี้จะมีการพิจารณาข้อเสนอที่ส่งมายังภาครัฐ เป็นความร่วมมือของประชาชนจากทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ซึ่งสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากหลังจากที่มีการแพร่ระบาดหลังจากนี้ 

 

              “สิ่งที่ผมจะขอความเห็นชอบจากที่ประชุมในวันเดียวกันนี้ คือแนวทางการผ่อนปรนภายหลังจากที่มีการขยายเวลาการประกาซใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยแผนต่างๆ จะยึดตามหลักการสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลก เป็นหลักในการดำเนินการ สิ่งที่ผมเป็นกังวลก็คือเรื่องการเยียวยาที่หลายฝ่ายไม่ทั่วถึง เพียงพอ” นายกรัฐมนตรีกล่าว