ข่าว

นายกฯ แจงสภาฯ ย้ำจัดงบตามยุทธศาสตร์-แก้'โควิด'   เสถียรภาพคลังยังดี

นายกฯ แจงสภาฯ ย้ำจัดงบตามยุทธศาสตร์-แก้'โควิด' เสถียรภาพคลังยังดี

31 พ.ค. 2564

นายกรัฐมนตรี ใช้เวลา 1ชั่วโมง 30 นาที แจงสาระร่างพ.ร.บ.งบฯ 65 ย้ำจัดงบตามยุทธศาสตร์ แก้ปัญหาโควิด-19 ย้ำสถานะคลังไทย อยู่ในเกณฑ์ดี

เมื่อเวลา 10.00 น. การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท วาระแรก ได้เริ่มขึ้น โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ เป็นประธานการประชุม
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม นำเสนอสาระสำคัญของ ร่างพ.ร.บ.งบฯ65 โดยมีสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า  การจัดสรรงบประมาณ ประจำปี 2565 ไม่เกิน 3.1 แสนล้านบาท ได้จัดสรรให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงแผนแม่บทการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงความมั่นคงของชาติ  เพิ่มศักยภาพขององค์กรปกครองท้องถิ่น และเป็นไปตามสถานการณ์ของการระบาดของไวรัสโควิด-19
 

ทั้งนี้การจัดสรรงบ จะเป็นแบบขาดดุล  โดยกำหนดรายได้สุทธิ จำนวน 2.4 ล้านล้านบาท ต้องกู้ จำนวน 7 แสนล้านบาท เพื่อชดเชย ขณะที่รายจ่ายของรัฐบาลที่สำคัญคือ ชำระหนี้ภาครัฐ ชดเชยเงินคงคลัง  จัดสวัสดิการทางสังคมและบริการสาธารณะ ดูแลประชาชนกลุ่มเปราะบาง และรายจ่ายเพื่อขับเคลื่อนประเทศตามยุทธศาสตร์ จึงต้องจัดสรรรายจ่ายลงทุนไว้ 6.24 แสนล้านบาท
“รัฐบาลเตรียมเพิ่มแหล่งเงินทุนของประเทศเช่น ให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการที่จะลงทุนในปี 2565 เร่งรัดโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยย เพื่อแกัไขกรณีงบประมาณรายจ่ายลงทุนมีจำนวนน้อยกว่าเงินส่วนที่ขาดดุล ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจภายใต้การระบาดของโควิด-19 ได้ ส่วนกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโควิด-19 เชื่อว่าจะรักษาระดับการจ้างงาน กระตุ้นการลงทุนและบริโภค” พล.อ.ประยุทธ์ ชี้แจง

นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ชี้แจงอีกว่า สำหรับการจัดสรรงบประมาณตามยุทธศาสตร์นั้น ประกอบด้วย 1.ด้านความมั่นคง  จำนวน3.87 แสนล้านบาท  2.ด้านสร้างความสามารถการแข่งขัน จำนวน 3.3 แสนล้านบาท, 3. พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ จำนวน5.4 แสนล้านบาท, 4.สร้างโอกาสและะความเสมอภาคทางสังคม จำนวน 7.3 หมื่นล้านบาท, 5. สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 1.19 แสนล้านบาท, 6.  ปรับสมดุลแลพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ จำนวน5.59 แสนล้านบาท
พล.อ.ประยุทธ์ ชี้แจงถึงการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ด้วยว่า จัดสรรไว้จำนวน  4.12 แสนล้านบาท

แบ่งเป็น 1.งบกลางเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 8.95 หมื่นล้านบาท เพื่อสำรองเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันหรือแก้ไขสถานการณ์ที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของรัฐ เยียวยา หรือบรรเทาความเสียหายจากภัยพิบัติ รวมถึงชดเชยค่าสิ่งก่อสร้างช่วยเหลือผู้ประกอบการ

 2. บริหารหนี้ภาครัฐ จำนวน 2.97 แสนล้านบาท โดยชำระต้นเงินกู้ จำนวน 1แสนล้านบาท , ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม จำนวน 1.97 แสนล้านบาท

 3.รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 596 ล้านบาท

4. เพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย จำนวน 2.4 หมื่นล้านบาท

 พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่าในปี 2565 คาดการณ์เศรษฐกิจไทย จะขยายตัวร้อยละ 4-5  เพราะมีปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนของเอกชน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก  ภายใต้เงื่อนไขการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึงและสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ของหลายประเทศ

“เสถียรภาพทางเศรษฐกิจปี 2565 มีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดี โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 - 1.7 ทั้งนี้รัฐบาลคาดว่าปี 2565 สามารถจัดเก็บรายได้จากภาษีอากร การขายของ การบริการ พาณิชยื รวม 2.5 แสนล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.26 และหักการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 1.1 แสนล้านบาท คงเหลือเป็นรายได้สุทธิของรัฐบาล จำนวน 2.4 แสนล้านบาท  ดังนั้นการจัดสรรงบฯ ปี 65 จำนวน 3.1 แสนล้านบาทเป็นแบบขาดดุล จึงต้องกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 7 แสนล้านบาท”  พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับหนี้สาธารณะคงค้าง เมื่อ 31 มีนาคม 2564 มีจำนวน 8.4 ล้านล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 54.3 ของจีดีดี ซึ่งยังอยู่ในกรอบการบริหารหนี้สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังที่กำหนดไว้ไม่เกิดร้อยละ 60 ส่วนสถานะเงินคงคลังของรัฐบาล ยอดเมื่อ 30 เมษายน 2564 มีจำนวน 3.7แสนล้านบาท ขณะที่ฐานและนโยบายการเงิน พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2564 อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ระบบการเงินดดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี และครัวเรือมีความเปราะบาง เพราะไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกแรก รวมถึงได้รับผลกระทบจากระลอกใหม่ ทั้งนี้ครกรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องในเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม 2564 ที่ร้อยละ 0.5  
นายกฯ กล่าวด้วยว่าสำหรับฐานะการเงินด้านต่างประเทศของไทย เมื่อ 30 เมษายน อยยู่ในเกณฑ์ดี มีมูลค่าเงินสำรอง ที่ 2.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3.5เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ซึ่งเชื่อว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง
“รัฐบาลจัดสรรงบประมาณแบบสองทาง คือรับฟังจากทุกภาคส่วน ทำให้มีรายละเอียดจำนวนมาก สำหรับงบประมาณนั้น ยืนยันจะเข้มงวดกวดขันการทุจริต  และทุกองค์กรตรวจสอบสามารถตรวจสอบได้ หรือประชาชน ที่พบเห็นการทำโครงการ หรือผลงานไม่สำเร็จขอให้แจ้ง  ผมหวังว่า ส.ส. จะพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะนี่คือประเทศไทย ประชาชนคนไทยที่ต้องดูแล ขอใช้เวลา3 วันอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์​เพื่อวันนี้และอนาคตของลูกหลานในภายภาคหน้า”  นายกรัฐมนตรี ชี้แจง
      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ ใช้เวลาชี้แจงรายละเอียดต่อสภาฯ รวม1ชั่วโมง 30 นาที