"ครม".เคาะ "จ่ายเงินเยียวยาประกันสังคม"ให้กับผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 "3 จว."อยุธยา-ชลบุรี- ฉะเชิงเทรา" หลังเป็นพื้นที่"สีแดงเข้ม"
ครม.มีมติเห็นชอบ "จ่ายเงินเยียวยาประกันสังคม"ให้กับผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ใน 3 จังหวัด" อยุธยา- ชลบุรี- ฉะเชิงเทรา "หลังเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม
วันที่ 20ก.ค. 64 มติที่ประชุม ครม.ล่าสุดวันนี้ เห็นชอบ"มาตรการเยียวยาโควิด" รอบล่าสุดให้กับประชาชนและผู้ประกอบการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดเฉะเชิงเทรา โดยมีระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือจำนวน 1 เดือน
หลังจากทั้ง 3 จังหวัดดังกล่าวถูกปรับโซนสี"โควิด"ล่าสุดให้เป็นพื้นที่สีแดงเข้มหรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
โดยมาตรการเยียวยาประกันสังคมของอยุธยา ชลบุรี ฉะเชิงเทรา เป็นชุดมาตรการเดียวกันกับที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติเมื่อ 13 ก.ค. 64 ในการเยียวยาให้กับ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ นราธิวาสปัตตานี ยะลา และสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม ก่อนที่จะมีการปรับโซนสีล่าสุด
ประเภทกิจการที่จะให้ความช่วยเหลือ มี 9 สาขา ได้แก่
1.กิจการก่อสร้าง
2.กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
3.กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ
4.กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ
5.สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาการขายส่ง และการขายปลีก
6.การซ่อมยานยนต์
7.สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
8.สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ
9.สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ
1. กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบประกันสังคม ดังนี้
กลุ่มแรงงานตามมาตรา 33
จะได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของ"โควิด19"ในกรณีว่างงาน ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจากทางราชการมีคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน(สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) ตลอดระยะเวลาที่มีคำสั่งปิดสถานที่แต่ไม่เกินเก้าสิบวันจะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมในอัตรา 2,500 บาทต่อคน จำนวน 1 เดือน ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากการให้ความช่วยเหลือผ่านระบบประกันสังคม
ผู้ประกอบการหรือนายจ้าง ม.33
จะได้รับความช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาทต่อคน จำนวน 1 เดือน
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40
สัญชาติไทย
ยังคงประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน
จะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน
ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40
สัญชาติไทย
ที่ยังคงประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน ให้เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 กับสำนักงานประกันสังคมภายในเดือนกรกฎาคม 2564
เพื่อให้สามารถได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาท ต่อคน จำนวน 1 เดือน
กลุ่มผู้ประกอบการหรือนายจ้าง
มีลูกจ้างแต่ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ดำเนินการ ดังนี้
-กรณีที่เป็นผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างให้ขึ้นทะเบียนนายจ้างในระบบประกันสังคม พร้อมทั้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ในระบบประกันสังคมกับสำนักงานประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อให้สามารถได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาทต่อคน
-และลูกจ้างที่เป็นสัญชาติไทยจะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 2,500 บาทต่อคน จำนวน 1 เดือน
-ทั้งนี้ลูกจ้างกลุ่มดังกล่าวจะยังมีคุณสมบัติไม่ครบตามเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือจากระบบประกันสังคม ทำให้ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากระบบประกันสังคม
นายจ้างที่ไม่มีลูกจ้างแต่ยังไม่อยู่ในระบบประกันสังคม
-ให้เตรียมหลักฐานสำหรับการลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในระบบประกันสังคมกับสำนักงานประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564
-เพื่อให้สามารถได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน
ผู้ประกอบการในระบบ“ถุงเงิน”
-ภายใต้โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะในปัจจุบัน
-ใน 5 กลุ่ม ร้านค้า ประกอบด้วย ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้าน OTOP ร้านค้าทั่วไป ร้านค้าบริการ และกิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่) ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมเนื่องจากไม่มีลูกจ้าง ให้ดำเนินการลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40
-เพื่อให้สามารถได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน
ผู้ประกอบการในระบบ“ถุงเงิน” ที่มีลูกจ้างแต่ยังไม่อยู่ในระบบประกันสังคม
-ให้ขึ้นทะเบียนนายจ้างในระบบประกันสังคม
-พร้อมทั้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในระบบประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อให้สามารถได้รับความช่วยเหลือ 5,000 บาทได้