7 แนวทาง ไทยสร้างไทย เดินหน้าก้าวข้าม ความขัดแย้ง
พรรคไทยสร้างไทย ชู 7 แนวทาง ก้าวข้าม ความขัดแย้ง ผุดแคมเปญ แก้รัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากภาค ประชาชน
โภคิน พลกุล ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศพรรคไทยสร้างไทย และคณะแถลงข่าว แนวทางการขับเคลื่อนประเทศ โดยเปิดตัวแคมเปญ ส.ส.ร.แก้รัฐธรรมนูญ ภาคประชาชนขับเคลื่อนเป้าหมายหลัก ดูแลประชาชนทุกคนตั้งแต่เกิดจนแก่ ไม่ใช่กลุ่มทุน ที่อุดหนุนการเมือง การเรียนฟรีจนจบปริญาตรี ดูแลสุขภาพอย่างมีคุณภาพ เกษียณแล้วมีบำนาญถ้ามีรายได้ไม่พอเพียง
โภคิน กล่าวถึงสาเหตุที่ประเทศตกต่ำ ซึ่งมาจากความคิดและวัฒนธรรมแบบอำนาจนิยมใช้แต่อำนาจ ไม่ฟังใคร ไม่ยอมรับการมีส่วนร่วม รวมถึงระบบความเป็นเจ้าขุนมูลนาย / ฟุ่มเฟือย การเล่นพวกพ้อง ไม่ให้ความสำคัญกับประชาชน ชอบใช้วาทกรรมว่าเป็นคนดี คนอื่นไม่ดี ต้องเคารพกฎหมาย ยึดหลักนิติธรรม แต่ทำตรงกันข้าม และระบบรัฐราชการที่ใหญ่โต ไร้ประสิทธิภาพ มุ่งรับใช้อำนาจนิยม ไม่ยึดโยงประชาชนสร้างกฎเกณฑ์เพื่อค้ำจุนและส่งเสริมอำนาจตัวเอง บนการกดทับประชาชน ทั้งยังกำหนด กฎเกณฑ์ กติกา ใบอนุมัติ อนุญาต มากกว่า 1,500 ฉบับ ซึ่งมีขั้นตอนเย่นเย้อ ล้าสมัย เป็นอุปสรรคต่อการทำมาหากิน ทั้งยังเป็นบ่อเกิดสำคัญที่สุดของคอร์รัปชั่นเป็นบ่อเกิดสำคัญที่สุดของความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำ ใช้งบประมาณเพื่อตอบโจทย์ตนเอง ไม่ใช่เพื่อสร้างชีวิตที่ดีกว่าของประชาชน ตอบสนองกลุ่มทุนใหญ่ ทุนพรรคพวกของตน
พรรคไทยสร้างไทย จะขอก้าวข้ามความขัดแย้ง ความคิด และวัฒนธรรมแบบอำนาจนิยม สร้างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ด้วยการแก้รัฐธรรมนูญ มีเนื้อหาที่ต้องผลักดัน เช่นผู้ใดยึดอำนาจ เท่ากับเป็นกบฎ ห้ามนิรโทษกรรม มีประชาชนเป็นผู้เสียหาย เป็นประเพณีการปกครองที่สำคัญที่สุด และศาลมีหน้าที่ปกป้องหลักการนี้ แม้มีการล้มล้างรัฐธรรมนูญ หากไม่ทำ ศาลจะเป็นผู้ซึ่งทำผิดเสียเอง ทั้งต่อกฎหมาย คำปฏิญานและจริยธรรม
แคมเปญของพรรคไทยสร้างไทย ตามแนวทางที่ โภคิน แถลงประกอบด้วย
1) การรณรงค์เข้าชื่อ 50,000 รายชื่อเพื่อเสนอให้มีการแก้รัฐธรรมนูญโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ
2) การรณรงค์เข้าชื่อ 20,000 รายชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมายปลดล็อคใบอนุมัติ อนุญาตและขั้นตอนที่เป็นอุปสรรคต่อการทำมาหากิน
3) การรณรงค์เข้าชื่อ 20,000 รายชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งและยุบรวมกองทุนต่างๆ เพื่อสร้างพลังในการทำมาหากินและลดหนี้สินของประชาชน
4) การรณรงค์เข้าชื่อ 20,000 รายชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงองค์ความรู้โดยเฉพาะทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ การเข้าถึงตลาด และการรวมตัวเพื่อสร้างขนาดของเศรษฐกิจ (Economy of Scale)
5) การรณรงค์เข้าชื่อ 20,000 รายชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบและให้คะแนนหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ การประเมินศักยภาพ ตลอดจนการให้รางวัล หรือลงโทษ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
6) การรณรงค์เข้าชื่อ 20,000 รายชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการรวมตัวขององค์กรธุรกิจขนาดย่อม ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ให้เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการแต่ละระดับในการสร้างมาตรฐานธุรกิจ การช่วยเหลือ ส่งเสริม เพื่อให้มีสิทธิมีเสียง มีส่วนร่วมในการบริหารเศรษฐกิจและการทำมาหากิน
7) การรณรงค์เข้าชื่อ 20,000 รายชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแบบใหม่ ที่เน้นให้ผู้เรียนรู้ตัวตนเร็ว รู้วิธีหาความรู้ด้วยตัวเองอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ และรู้การปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้วยการลดเวลาเรียนในแต่ละช่วงวัย ลดความเยิ่นเย้อของหลักสูตร เพื่อให้เด็กสามารถจบปริญญาตรีได้ในช่วงอายุ 17-19 ปี โดยเป็นการเรียนฟรีทั้งหมด เน้นความเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้เด็กใช้เวลาที่โรงเรียนน้อยลง ประมาณ 3 วันต่อสัปดาห์ เพื่อร่วมทำกิจกรรม เรียนรู้ หาประสบการณ์เป็นกลุ่ม เด็กและพ่อแม่จะมีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น ร่วมกิจกรรม ทำธุรกิจครอบครัว
ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
YouTube:https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8 สาขา Popular Vote