ข่าว

แนะ นายกรัฐมนตรี เตรียมรับมือคำ วินิจฉัย "ศาลรัฐธรรมนูญ"

แนะ นายกรัฐมนตรี เตรียมรับมือคำ วินิจฉัย "ศาลรัฐธรรมนูญ"

30 พ.ย. 2565

เลือกตั้งแบบไหน ฟัง คำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรรมนูญ วันนี้ อดีตกรรมการการเลือกตั้งแนะ นายกรัฐมนตรี หารือ "กกต." ทันที หากผิดคาด

 

09.30 น. วันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ แถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติ กรณีประธานรัฐสภาส่งความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 148 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบมาตรา 132 ว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฉบับที่ .. พ.ศ. …. มาตรา 25 และมาตรา 26 มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 93 และมาตรา 94  และตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่   


มีความเห็นจาก นพ.ระวี มาศฉมาดล หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ เรียกร้องให้เคารพมติศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ จะเป็นอย่างไร ขอเรียกร้องทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายหนุนหาร 100 หรือฝ่ายหนุนหาร 500  ให้ยอมรับ และโดยส่วนตัวก็ขอจบ เพราะถือว่าสงครามจบแล้ว นับศพทหารได้ และไม่ขอใช้สิทธิใดที่จะร้องต่อไปอีก  

 

นพ. ระวี มาศฉมาดล หัวหน้าพรรคระวี มาศฉมาดลน หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่.

แต่หากศาลชี้ว่าสูตรหาร 100 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็เรียกร้องทุกฝ่ายร่วมหาทางออก หากลไกในการเดินหน้า หากฎหมายลูกเพื่อจัดการเลือกตั้งส.ส. ส่วนตัวเชื่อว่าไม่มีทางที่จะแก้รัฐธรรมนูญเลือกตั้งบัตรใบเดียว และคาดว่าหลายพรรคการเมืองไม่

 

 

สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวว่า พรุ่งนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสิน พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ให้ผ่านเหมือนกับพ.ร.ป.พรรคการเมือง คือผ่าน และดำเนินการต่อไปสู่การเลือกตั้ง หรือตัดสินเหมือนกันในเชิงเนื้อหาคือพ.ร.ป.พรรคการเมือง เป็นกฎหมายที่เอื้อกับพรรคเล็กและพรรคใหญ่ทำงานลำบาก พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ก็จะตัดสินให้เอื้อพรรคเล็กและให้พรรคใหญ่ทำงานลำบากนั่นก็คือไม่ผ่าน ถ้าผ่านพรรคการเมืองขนาดใหญ่ก็จะได้เปรียบในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างแท้จริง อย่างพรรคเพื่อไทยจะได้บัญชีรายชื่ออย่างน้อย 30 คน ขึ้นไป

 

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ไม่ผ่านสิ่งแรกที่นายกรัฐมนตรีต้องทำคือเชิญกกต.มาหารือว่าจะแก้ไขสถานการณ์อย่างไร และต้องเสนอร่างกฎหมายใหม่โดยคณะรัฐมนตรี ในทันที และเป็นหน้าที่ของสภาฯต้องเร่งพิจารณาร่างกฎหมายให้เร็วที่สุดภายใน180 วัน แต่ถ้าสภาทำไม่เสร็จ ก็ต้องหาทางออกเช่น พ.ร.ก.หรือออกเป็นคำสั่งประกาศ ซึ่งถ้าออกประกาศคำสั่ง กกต.อาจจะต้องรับผลที่ตามมา แต่ถ้าวาระ1 รับหลักการแล้ว ก็เอาร่างในวาระหนึ่งมาใช้เป็นกติกาการเลือกตั้ง