ข่าว

ไขข้อข้องใจ นโยบาย 'ค่าแรงขั้นต่ำ' ทำได้หรือไม่

ไขข้อข้องใจ นโยบาย 'ค่าแรงขั้นต่ำ' ทำได้หรือไม่

09 ธ.ค. 2565

อยู่ที่ 'กกต.' วินิจฉัย นโยบาย ค่าแรงขั้นต่ำพรรคเพื่อไทย ผิดฏกฎหมายหรือไาม่ ต้องมีมาตรฐานเท่าเทียม ทุกพรรคการเมือง

 

สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง ตอบคำถามวิวาทะ นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท ต่อวัน ผิดกฎหมายหรือไม่ มีเนื้อหาผ่านโลกออนไลน์ ดังนี้

ถามว่าค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท เป็นนโยบายหรือการสัญญาว่าจะให้  ถ้าเป็นนโยบายไม่ผิด แต่หากเป็นสัญญาว่าจะให้ เข้าข่ายซื้อเสียง

ตอบว่า  เป็นนโยบาย เนื่องจากเป็นการระบุถึงความตั้งใจที่ทำหากเป็นรัฐบาล เกิดผลต่อทั้งผู้เลือกและไม่เลือก  ไม่เป็นสัญญาว่าจะให้  เนื่องจากไม่ได้ให้เป็นเงินโดยตรงหลังเลือกตั้งแก่ผู้เลือก

 

 

ถามว่า การเสนอนโยบาย ค่าแรงขั้นต่ำ  600 บาท ผิด กฎหมายเลือกตั้งหรือไม่

ตอบว่า  ตามมาตรา 57 ของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง ระบุว่า นโยบายของพรรคที่ต้องใช้จ่ายเงินงบประมาณ  ต้องระบุวงเงิน ที่มา ความคุ้มค่า ประโยชน์ ผลกระทบและความเสี่ยง  ในกรณีนี้ เป็นนโยบายค่าแรงขั้นต่ำในตลาดแรงงาน  ไม่ได้ใช้งบประมาณรัฐ จึงไม่น่าเข้าข่าย

ถามว่า หากคิดว่า หมิ่นเหม่ เป็นความผิดต้องทำอย่างไร

ตอบว่า  ร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง  หาก กกต.เห็นว่า เข้าข่าย ให้สั่งให้พรรคดำเนินการให้ครบภายในเวลาที่ กกต.กำหนด  หากไม่ทำ มีความผิดตามมาตรา 121 ปรับ 500,000 บาท และวันละ 10,000 จนกว่าจะมีการดำเนินการ

 

 

ถามว่า  กกต. สามารถวินิจฉัยอย่างไรได้บ้าง

ตอบว่า  เป็นอำนาจวินิจฉัยของ กกต. ว่า เข้าข่ายหรือไม่เข้าข่าย  แต่หาก กกต. มีมติอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมีผู้เห็นว่า ไม่ถูกต้อง  เช่น ควรผิดแต่ไม่ผิด  หรือ ผิดแต่เลือกปฏิบัติต่อบางพรรค  ไม่บังคับทุกพรรคอย่างเท่าเทียม  สามารถฟ้อง กกต. ตาม กม.อาญา 157 ได้    ซึ่งขณะนี้ มีการยื่นคำร้องให้กกต.พิจารณากรณีดังกล่าวแล้ว