ไตรมาสสุดท้าย ประชาชนเลือก"บุคคล-พรรค"บริหารประเทศ
"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจประชาชน คะแนนนิยมทางการเมืองไตรมาสสุดท้าย หลัง"พลเอกประยุทธ์"ประกาศไป รทสช. คะแนนนิยมเพิ่มขึ้นทั้งตัวบุคคลและพรรค
เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. "นิด้าโพล" เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง การสำรวจ คะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 4/2565 ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17-22 ธันวาคม 2565 จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง
ประเด็นบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็น "นายกรัฐมนตรี" ในวันนี้ 5 อันดับแรก
อันดับ 1 ร้อยละ 34.00 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หรือ อุ๊งอิ๊งค์ (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคสามารถทำได้จริง ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร
อันดับ 2 ร้อยละ 14.05 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริงทำจริง มีความซื่อสัตย์สุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ ขณะที่บางส่วนระบุว่า จะได้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง
อันดับ 3 ร้อยละ 13.25 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ มีวิสัยทัศน์และแนวคิดแบบคนรุ่นใหม่ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล
อันดับ 4 ร้อยละ 8.25 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
อันดับ 5 ร้อยละ 6.45 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ ชื่นชอบนโยบายของพรรค มีประสบการณ์ด้านการบริหารประเทศ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ
โดยหัวหน้า 2 พรรคใหญ่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) ตกไปอยู่อันดับที่ 9 และ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับที่10
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 3/65 เดือนกันยายน 2565 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า คุณหญิงสุดารัตน์ , พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ , ดร.สมคิด และยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า น.ส.แพทองธาร , พลเอกประยุทธ์ , นายพิธา , นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
ประเด็น พรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุน
อันดับ 1 ร้อยละ 42.95 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
อันดับ 2 ร้อยละ 16.60 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
อันดับ 3 ร้อยละ 8.30 ระบุว่า ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย
อันดับ 4 ร้อยละ 6.95 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ
อันดับ 5 ร้อยละ 5.35 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 6 ร้อยละ 5.25 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย
อันดับ 7 ร้อยละ 4.00 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 8 ร้อยละ 3.40 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย
อันดับ 9 ร้อยละ 3.25 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย
อันดับ 10 ร้อยละ 1.35 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า
ร้อยละ 2.60 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรคประชาชาติ พรรคไทยศรีวิไลย์ และไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 3/65 เดือนกันยายน 2565 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ พรรคพลังประชารัฐ และไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคภูมิใจไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคไทยสร้างไทย และพรรคชาติพัฒนากล้า มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น