ข่าว

มหาดไทยประกาศจำนวนประชากรแล้ว กกต.'แบ่งเขตเลือกตั้ง' ได้

มหาดไทยประกาศจำนวนประชากรแล้ว กกต.'แบ่งเขตเลือกตั้ง' ได้

07 ม.ค. 2566

ประเทศไทย ขยับเข้าใกล้ 'เลือกตั้ง' อีก หลังสำนักทะเบียน ประกาศจำนวนประชากรไทย สิ้นปี 2565 กกต.เดินหน้า แบ่งเขตเลือกตั้งได้แล้ว

 

ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565  ตามมาตรา 45 พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร 2534  ประกาศจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร  แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ

 

โดยพบว่าทั่วประเทศมีจำนวนราษฎร รวมทั้งสิ้น    จำนวน  66,090,475 คน   เป็นสัญชาติไทย  จำนวน 65,106,481 คน  แบ่งเป็นชาย จำนวน      31,755,072 คน  หญิง จำนวน 33,351,449 คน และจำนวนราษฎรไม่ได้สัญชาติไทย  983,994 คน  แบ่งเป็นชาย 515,583 คน หญิง 468,411 คน   โดยกรุงเทพมหานคร  มีจำนวนราษฎรมากที่สุด  5,494,936 คน

 

ข้อมูลประชากร ณ สิ้นปี 2565 มหาดไทยประกาศจำนวนประชากรแล้ว กกต.\'แบ่งเขตเลือกตั้ง\' ได้ มหาดไทยประกาศจำนวนประชากรแล้ว กกต.\'แบ่งเขตเลือกตั้ง\' ได้

 

แสวง บุญมี เลขาฯกกต. ที่เคยระบุว่าการแบ่งเขตเลือกตั้งต้องรอประกาศ จำนวนประชากรจากกระทรวงมหาดไทย  บอกกับคมชัดลึกว่า การคำนวณส.ส.เขตจะคิดจากจำนวนประชากรที่มีสัญชาติไทย หารด้วยจำนวนเขตเลือกตั้ง ตามระบบแบ่งซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ หากไม่มีอะไรผิดพลาดจะมีส.ส.เขตทั้งสิ้น 400 เขต คิดเป็นสัดส่วนจำนวนราษฎร162,766คน ต่อ ผู้แทนฯ 1 คน 

 

 

โดยมีหลักเกณฑ์อื่นๆดังนี้คือ


-จังหวัดที่มีประชากรน้อยกว่านี้ ให้มี ส.ส. เลย 1 คน โดยทั้งจังหวัดถือเป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง

-จังหวัดที่มีประชากรเกินจำนวนนี้ ให้มี ส.ส. ได้ 1 คน ทุกๆ จำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์

- ถ้าจัดสรรตาม 2 ข้อแรกแล้ว ส.ส. ยังไม่ครบ 400คน จังหวัดที่เหลือเศษจำนวนประชากรมากที่สุดจากข้อ 2 ได้ ส.ส. เพิ่ม 1 คน เรียงลำดับไปเรื่อยๆ

-การแบ่งเขตเลือกตั้งภายในจังหวัด ต้องจัดให้แต่ละเขตมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกัน

- อยู่ในอำเภอเดียวกัน แต่คนละตำบล อาจอยู่คนละเขตเลือกตั้งก็ได้

 

 

ข้อมูลประชากรที่มีสัญชาติไทย ณ สิ้นปี ปฏิทิน ก่อนมีการเลือกตั้งดังกล่าวทำให้ กรุงเทพมหานครมีผู้แทนราษฎรได้ 33 คน  ระนองมีผู้แทนราษฎรได้ 1 คน  ขณะที่ยังต้องติดตามผลกระทบจากการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ในแต่ละพื้นที่