09 ม.ค. 2566

ย้อนระเบียบ กกต. 'หาเสียง' เลือกตั้ง ก่อนครบวาระ 180 วัน อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ตอนรับน้องใหม่ทางการเมืองวันนี้

 

ย้อนดูระเบียบเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติและข้อควรระวังในช่วงระยะเวลาการหาเสียงเลือกตั้ง 180 วันก่อนครบวาระสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งกกต.ประกาศมาตั้งแต่ วันที่ 24 กันยายน ปีที่แล้ว มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีรายละเอียดดังนี้

 

  • ผู้สมัครและพรรคการเมือง

 

  1. ไปร่วมงานประเพณีต่างๆ แต่ต้องไม่มีการให้เงินหรือทรัพย์สิน เจ้าภาพงานจะประกาศชื่อ ในลักษณะช่วยผู้สมัครหรือพรรคการเมืองนั้นหาเสียงเลือกตั้งไม่ได้

  2. จัดพิธีงานต่างๆ ได้เท่าที่จำเป็นแต่ต้องไม่เป็นงานขนาดใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก จนเข้าข่ายการจัดเลี้ยงหรือจัดมหรสพ ซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้งได้

  3. หัวหน้าพรรคการเมือง ผู้บริหารพรรคการเมือง ส.ส.ที่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้สมัครในการหาเสียงเลือกตั้งได้ แต่ห้ามจัดหาคนช่วยหาเสียง

  4. หาเสียงเลือกตั้งในสถานที่ต่างฯ โดยต้องขออนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ก่อน

  5. มอบสิ่งของช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ต่างๆ ได้ เช่น อุทกภัย วาตภัย เหตุอัคคีภัย โรคระบาด หรือเหตุอันเกิดขึ้นในลักษณะทำนองเดียวกันไม่ได้

  6. ปิดประกาศและติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตามขนาดที่กำหนด

  7. ปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. และระเบียบ กกต.ว่าด้วยวิธีหาเสียงและลักษณะต้องห้าม

 

 

  • การปิดประกาศและแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

 

  1. จัดทำประกาศเป็นแนวตั้งมีขนาดไม่เกิน 30 เซนติเมตรx 42 เซนติเมตร หรือกระดาษขนาด A3

  2. แผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งมีขนาดไม่เกิน 130 เซนติเมตรx 245 เซนติเมตร ระบุชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่ของผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิต จำนวนและวันเดือนปีที่ผลิตไว้บริเวณที่ชัดเจนของแผ่นป้ายและประกาศเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

  3. จำนวนและสถานที่ในการปิดประกาศหรือติดแผ่นป้ายเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง

  4. ติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ณ ที่ทำการพรรค สาขาพรรค ตัวแทนพรรคประจำจังหวัด หรือศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง สถานที่ละ 1 แผ่น ขนาดไม่เกิน 400 เซนติเมตร x 750 เซนติเมตร

  5. ผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองต้องเก็บรักษาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประกาศและแผ่นป้าย ไว้ประกอบการยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้ง

 

 

  • ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 

  1. ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติที่พึงต้องปฏิบัติในตำแหน่งห้ามอาศัยตำแหน่งหาเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนเอง หรือผู้อื่น หรือพรรคการเมือง

  2. ร่วมงานประเพณีต่างๆ แต่ต้องไม่มีการให้เงินหรือทรัพย์สินต่างๆ เจ้าภาพงานจะประกาศชื่อ และ/หรือพรรคการเมือง ในลักษณะช่วย หาเสียงเลือกตั้งไม่ได้

  3. หาเสียงเลือกตั้งนอกเวลาราชการได้  

  4. ส่วนท้องถิ่น ต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง

 

ทั้งนี้ หากมีการยุบสภา ข้อกำหนดต่างๆเหล่านี้ ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการยุบสภา จนถึงวันที่มีการเลือกตั้ง