ข่าว

จตุพร ลั่น เพื่อไทย ต้องประกาศชัด ไม่จับมือ ฝ่ายเผด็จการ

จตุพร ลั่น เพื่อไทย ต้องประกาศชัด ไม่จับมือ ฝ่ายเผด็จการ

25 ม.ค. 2566

จตุพร พรหมพันธุ์ พูดผ่านรายการ คมชัดลึก ย้ำ พรรคเพื่อไทย ต้องยืนยัน ไม่จับมือฝ่ายเผด็จการ อย่าถึงวันตั้งรัฐบาลแจงความจำเป็น ประชาชนจะเสียความรู้สึก

กลายเป็นอีกประเด็นร้อนในแวดวงการเมืองขึ้นมา เมื่อ จตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคณะหลอมรวมประชาชน อดีตผู้นำคนเสื้อแดง และแนวร่วม นปช. คนที่ถูกมองว่า สู้เพื่อ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาอย่างต่อเนื่อง แต่มาวันนี้ จตุพร ได้ออกมาท้าชน โจมตี ทักษิณ ชนิดที่ว่าถึงพริกถึงขิง


วันก่อน ( 24ม.ค.) จตุพร ได้มาออกรายการ คมชัดลึก ทาง เนชั่น ทีวี  เป็นประเด็นน่าสนใจ แดงแตกรัง หวังสกัดแลนด์สไลด์?

จตุพร ลั่น เพื่อไทย ต้องประกาศชัด ไม่จับมือ ฝ่ายเผด็จการ
จตุพร บอกเล่าผ่านรายการว่า  สาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เขาต้องออกมาพูดเท้าความเล่าอดีต ในช่วงเวลานี้ จตุพร เล่าว่า ไม่นานมานี้ มีคนเดินทางไปพบกับ ทักษิณ ชินวัตร ที่ฮ่องกง แล้วพูดคุยถึงตัวเขา รวมทั้งยกกรณีเรื่องเชียงใหม่ขึ้นมา และมีการพูดว่า ตนไปรับจ้าง บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ที่ผ่านมา ความรู้สึกส่วนตัวก็ใจสลายในเรื่องของคนเสื้อแดงอยู่แล้ว แต่เมื่อมาพูดตอกย้ำ ตนก็หมดความอดทน ทักษิณ ชินวัตร เป็นคนไม่รักษาคำพูด อยากจะพูดอะไรก็พูด เสียงปืนดังนัดแรกจะนำการต่อสู้ จนเสียงปืนแตกเป็นแสนนัด ทักษิณ ก็ไม่มา

จตุพร ลั่น เพื่อไทย ต้องประกาศชัด ไม่จับมือ ฝ่ายเผด็จการ

เมื่อตนโดนปลดจาก ส.ส. 18 พ.ค. 2555 วันถัดมา 19 พ.ค. จัดงานรำลึกปราบคนเสื้อแดง 2 ปี ทักษิณ บอกว่า เสื้อแดงที่พายเรือมาส่ง ไม่ต้องตามเขามา เขาจะไปของเขาเอง พูดจบก็โทรมาหาตนบอก กำลังจะได้กลับประเทศไทย แต่สุดท้ายก็ไม่ได้เป็นอย่างที่หวัง ที่ผ่านมา ทักษิณ พร้อมเอาคนเสื้อแดงไปแลกอยู่ตลอดเวลา ตนเอาชีวิตไปแลกให้ หวังให้ทักษิณ เป็นผู้นำในการต่อสู้ เป็นผู้นำในทางจิตวิญญาณ แต่ทักษิณทำตัวเป็นได้แค่พ่อค้า และไม่เคยข้ามขั้นการเป็นพ่อค้าได้เลย 

ในการย้อนความของ จตุพร เขาเล่าเรื่องราวที่ผ่านมาว่า ความเป็นจริง พวเราใจสลายกันมา นับตั้งแต่การถูกสลายการชุมนุมในปี 2553 หลังมีการเลือกตั้ง และหลังที่มีอำนาจรัฐ  อย่างแรกการไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ เฉพาะคดีในปี 2553 ตนได้ต่อสู้และเข้าไปซักถาม ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น (สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล )ได้รับคำตอบว่า อำนาจไม่ได้อยู่ที่รัฐมนตรีแต่อยู่ที่นายกรัฐมนตรี เมื่อสอบถามไปยังนายกรัฐมนตรี (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ก็ได้ให้คนใกล้ชิดมาตอบแทนว่า ไม่สามารถยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศได้ ด้วยเหตุผลที่ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ในขณะนั้นจะยึดอำนาจ

จตุพร ลั่น เพื่อไทย ต้องประกาศชัด ไม่จับมือ ฝ่ายเผด็จการ

 ประเด็นต่อมาคือ ให้นิรโทษกรรม ผลักดันออกมาเป็นพระราชกำหนด และระบุเจาะจงว่า ให้นิรโทษกรรมเฉพาะ ประชาชน เพราะขณะนั้น ประชาชนที่เข้าร่วมเช่น คนจากอุบลราชธานี มุกดาหาร อุดรธานี และจังหวัดอื่น ๆ ได้รับโทษสูง และกำลังจะติดคุก จึงได้เสนอให้เป้นพระราชกำหนด เรื่องต่อมาคือให้โหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550  มาตรา 291 การแก้หลักเกณฑ์และวิธีการ ด้วยการเปิดทางให้จัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ วาระที่ 3 ก็ไม่กล้าโหวต

 

กลายเป็นเรื่องต่าง ๆ ไม่ได้แม้แต่เรื่องเดียว มาถึงเรื่องพระราชกำหนด ที่นิรโทษกรรมเฉพาะประชาชน เว้นแกนนำ ก็มาเสนอเป็นพระราชบัญญัติ ตอนแรกก็ไม่ยินยอม จนตนประกาศว่า ถ้าไม่ยอม ก็มีความรู้ว่าผิดหวัง จะต้องมายอมตายแทนกับคนพันธุ์นี้ ลงท้ายก็ยอม แต่มีการไปแปลงสารในวาระที่ 2 จากแค่ประชาชน ไปขยายเป็น แกนนำ ผู้ใช้บงการฆ่า และคดีทุจริตทั้งหมด ตอนนั้นตนออกมาต่อต้านว่า การทำแบบนี้จะพัง และจะไปทำลายโอกาสเดียวของประชาชน ที่เขที่เขาจะติดคุกที่มีโทษสูงมาก และกลายเป็นชนวนเหตุหนึ่ง ในการยึดอำนาจในเวลาต่อมา 

จตุพร เล่าขยายประเด็นที่มีคนไปพูดกับทักษิณที่ฮ่องกงว่า ทักษิณ นั้นเมื่อ มีอำนาจไม่ซื่อสัตย์ต่อประชาชน ปี 2548-2549 ได้คะแนน 19 ล้านเสียง วันโดนยึดอำนาจ 19 ก.ย. 2549 คนออกมาต่อต้านไม่ถึง 19 คน ช่วงสถานการณ์วิกฤตการเมือง ตนกับ นปช. ไปชุมนุมที่ถนนอักษะ มีการแบ่งภารกิจกันว่า ตนในฐานะประธาน นปช. เสนอว่าขอรับผิดชอบในส่วนเวทีการชุมนุม ส่วนมวลชน ให้เป็นหน้าที่การระดมคนของพรรคเพื่อไทย ซึ่งก็เป็นพี่น้องคนเสื้อแดง

จนวันที่ใกล้ยึดอำนาจ ในช่วงเจรจา จากมวลชนจำนวนมาก เหลือไม่กี่ร้อย ตนสังเกตว่าน่าจะมีปัญหา จึงไม่แบ่งคนสำคัญไว้ที่เวที และทราบว่า มีอีกหนึ่ง ป. เป็น ป.ที่ 4 ประสานงานอยู่กับ ทักษิณ เราไปเจราจา เพื่อหวังยื้อเวลาการยึดอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ แต่สุดท้ายก็ยื้อไม่ได้ จนทำให้ต้องสูญเสียประชาธิปไตย สูญเสียโอกาสประชาชนไปเกือบ 9 ปี ทีผ่านมา ตนหลีกเลี่ยงและใช้ความอดทนมาโดยตลอด ไม่อยากวิพากวิจารณ์ ถ้าจำเป็นต้องพูดถึงก็จะใช้มธุรสวาจา จนมาเกิดเหตุการณ์จับกุมครอบครัว บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ด้วยเหตุผล ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 และไปแจกจดหมาย แล้วพรรคเพื่อไทยก็เอาคนอื่น ไปวางตัวว่าจะให้ลงเลือกตั้งแทนเขา ขณะที่อยู่ในคุก แม้ว่าตอนนั้นยังไม่มีการเลือกตั้ง แล้วพอ พล.อ.ประยุทธ์ ใช้ม.44 คืนอำนาจให้นายก อบจ. พรรคการเมืองต่างๆ ไปเยือนเชียงใหม่ ก็เชิญบุญเลิศไปทุกครั้ง มีการถ่ายรูปกับทุกพรรค ก็ไปกล่าวหาว่า เขาแปรพักตร์ 

ในส่วนที่ว่า ออกมาพูดกดดันให้พรรคเพื่อไทย ประกาศไม่จับมือพรรคพลังประชารัฐ จตุพร ตอบประเด็นนี้ว่า ที่ผ่านมา มีภาพของแกนนำพรรคเพื่อไทยบางคน มีความพร้อมที่จะจับมือทางการเมืองกับพลังประชารัฐและพรรคการเมืองอื่นๆ  ก่อนที่จะมาแถลงว่าจะไม่จับมือกับใครก่อน มีกรณีน่าสงสัยเมื่อครั้งพรรคก้าวไกลประกาศจะจับมือกับพรรคเพื่อไทย และช่วงปลายปีที่ผ่านมา ป.ป.ช.ก็ออกมาปั่นกระแสเรื่องจำนำข้าวล็อต 2 ซึ่งใครก็คิดว่าโดนแน่ แต่ก็ปล่อยอย่างง่ายดาย ตนเห็นว่า พรรคก้าวไกล ยังประกาศชัดเจนในการไม่จับมือกับใคร แต่พรรคเพื่อไทยแสดงความไม่ชัดเจนในการประกาศไม่จับมือ

ซึ่งทาง พล.อ.ประยุทธ์ มองว่าไม่มีโอกาส แต่ด้าน พล.อ.ประวิตร มันมีไมตรีกันมายาวนาน และในช่วงยึดอำนาจ มันมีการเอื้อประโยชน์ให้กันแบบต่างกรรมต่างวาระ ในช่วงอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพื่อไทยดึงเวลาจน โรม รังสิมันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายพล.อ.ประวิตรไม่ได้ จนกลายมาเป็นคำถามว่า ทำไมพรรคเพื่อไทยจึงตอบคำถามไม่ได้  ถ้าพรรคเพื่อไทยมีความจำเป็นที่จะต้องจับมือกับพลังประชารัฐ ควรจะบอกประชาชนก่อนหรือไม่ ไม่ใช่ว่าเลือกตั้งเสร็จไปประกาศจับมืออ้างความจำเป็น อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนในวันนั้นจะเหลืออะไร 


จตุพร เล่าต่อมาจนถึงเรื่องการตั้งพรรคการเมือง ที่เมื่อตนออกจากจากคุก มีการทาบทามจาก ทักษิณ ให้ทำพรรค เพื่อนำคะแนนไปเติม เพื่อสู้กับการเลือกตั้งใบเดียว ซึ่งตอนนั้นก็ไม่รู้เรื่องการตั้งพรรคไทยรักษาชาติ นปช.หรือคนเสื้อแดงจึงถูกแยกออกจากกันนับแต่วันนั้น ตลอดระยะเวลา 13-15 ปี ของการมีคนเสื้อแดง วันไหนอยากใช้ก็ตาม วันไหนไม่ใช้ก็ทิ้งไป มารอบนี้อยากจะแลนด์สไลด์ ก็อยากใช้คนเสื้อแดงอีก ตนจึงมองว่า พรรคเพื่อไทยไม่แฟร์กับคนเสื้อแดง 

จตุพร ลั่น เพื่อไทย ต้องประกาศชัด ไม่จับมือ ฝ่ายเผด็จการ

สมบัติ บุญงามอนงค์ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง หนึ่งในแขกรับเชิญ มองว่าการเมืองไทยมี 2 แบบการเมืองทั้งแบบในสภาและนอกสภา เป็นที่ยอมรับบว่า เสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทย เสมือนขาคนละข้าง เดินเคยงไปด้วยกัน แต่ด้วยเป็นขาคนละข้าง บางจังหวะการเดินอาจจะต้องมีเกี่ยวกันบ้าง การแบกรับของ จตุพร ในฐานะแกนนำ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะต้องแบกรับทุกๆอย่าง เพราะอยู่หน้าสุดของการต่อสู้

และมองว่า การเมืองในสภาต้องให้ความสำคัญ การต่อสู้นอกสภาแบบสมน้ำสมเนื้อ พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคการเมืองใหญ่ที่ไม่แต่เพียงมองแค่ว่า จะร่วมรัฐบาล แต่มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถจัดตั้งรัฐบาล และกำหนดทุกสิ่งอย่าง เมื่อเข้าสู่โหมดการเมือง ก็ต้องมีการจัดลำดับสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพรรคการเมือง จัดเรียงลำดับมากน้อย การวางบทบาทของผู้สมัคร หรือ แนวร่วมการต่อสู้นอกสภา ก็ต้องมีการสลับกันไปตามสถานการณ์ 


ส่วนเรื่องการประกาศไม่จับมือ เขามองว่า พรรคเพื่อไทยน่าจะมองว่า ไม่ต้องการจะปิดกั้นทางเลือกที่มีอยู่ทั้งหมด เพราะสมการการจัดตั้งรัฐบาล ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเลข จำนวน ส.ส.ในสภา แต่ยังต้องเกี่ยวข้องกับ ส.ว. และอาจจะรวมไปถึงเรื่องอื่น ๆ และในขณะนี้ยังไม่สามารถมองได้ว่า จำนวนส.ส.จะได้มากน้อยเท่าไหร่ในแต่ละพรรคการเมือง ในขณะเดียวกัน เขายังมองอีกว่า ในการแยกกันของ 2 ป. ถึงแม้จะไม่ขาดกันทีเดียว แต่ก็ส่งผลให้ฝ่ายนั้น อ่อนแรงลงในที และพรรคใหม่ของ พล.อ.ประยุทธ์ ก้ไม่น่าจะได้คะแนนเท่าการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 ถ้ามองอีกแบบ อาจจะเป็นการสลายปีกการเมืองของพรรคเพื่อไทย ก็เป็นไปได้