"ฝ่ายค้าน" จัดหนักซัดรัฐบาล ปม"ทานตะวัน-แบม"อดอาหารเรียกร้องความยุติธรรม
"ฝ่ายค้าน" จัดหนักซัดรัฐบาล ปม"ทานตะวัน-แบม"อดอาหารเรียกร้องความยุติธรรม ด้าน"หมอชลน่าน"ห่วงสุขภาพ เกรงเลือกตั้งล่ม ส่วน"พิธา"ชี้นิรโทษกรรมก่อนปรองดอง
เมื่อวันที่ 1 ก.พ. มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.พรรคก้าวไกล ในฐานะตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอญัตติด่วนด้วยวาจาเรื่องสิทธิการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและการประกันตัว กรณีของทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ ตะวัน และ อรวรรณ ภู่พงษ์ หรือ แบม สองนักกิจกรรมอิสระ จำเลยในคดี ม.112 ประท้วงอดอาหาร
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวว่า ขอให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมกันพิจารณาหาแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับกระบวนการบังคับใช้กฏหมายที่ล้นเกิน และขัดต่อหลักนิติธรรมต่อผู้ต้องขังและผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมือง และให้สภามีมติส่งเรื่องให้รัฐบาลรับไปพิจารณาดำเนินการ
กรณี"ตะวัน-แบม" ถูกคุมขังในเรือนจำและอดอาหารประท้วง 12 วัน เห็นว่าทั้งคู่จำเป็นต้องใช้ชีวิตตัวเอง เพื่อเรียกร้องข้อแลกเปลี่ยน ดังนี้
1.การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ถือว่าไม่ได้เกินอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี โดยเสนอให้รัฐมนตรีหามาตรการรองรับที่จะเป็นจุดเริ่มต้น เช่น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเวทีเริ่มต้นรับฟังความคิดเห็น ว่าจะเริ่มต้นการปฏิรูปกระบวนการวิธีทำอย่างไร
2.ยุติการดำเนินคดีความกับประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมือง โดยเสนอให้ผู้มีอำนาจ ผู้พิพากษา ศาล ตระหนักถึงการใช้ดุลยพินิจซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น ภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมที่มีความเมตตา
3.พรรคการเมืองทุกพรรคต้องเสนอนโยบายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยการยกเลิกมาตรา112 และมาตรา116 นั้น เชื่อว่าพรรคการเมืองสามารถทำได้โดยการรับไปพิจารณาได้ ว่าเราไปเพื่อกำหนดนโยบาย แต่จะเกิดได้จริงหรือไม่ จะยกเลิกได้หรือไม่ ไม่ใช่อำนาจของพรรคการเมือง แต่เป็นอำนาจของรัฐสภา
จากข้อเสนอ 3 ข้อดังกล่าว พรรคเพื่อไทยยอมรับข้อเสนอข้อ 1 และข้อ 2 ไม่มีเงื่อนไขใด แต่ข้อ 3 แก้ไขหรือยกเลิกประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องของอนาคต แม้จะประกาศเป็นนโยบาย แต่หากพรรคเพื่อไทยยังไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นรัฐบาลก็ไม่สามารถทำอะไรได้
นายแพทย์ชลน่าน หวังว่า สภาจะเป็นการส่งสัญญาณให้เยาวชนที่อดอาหารประท้วงยอมที่จะรับการรักษา ซึ่งเวทีสภาสามารถแก้วิกฤติได้ แต่หากเยาวชนมีอันเป็นไป ห่วงว่าจะไม่มีการเลือกตั้ง แม้ว่าจะมีการยุบสภาในวันที่ 15 มีนาคม พร้อมฝากไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมที่กำกับดูแลกรมราชทัณฑ์ หามาตรการ ให้ผู้เยาวชนมั่นใจในการให้การรักษา และต้องรักษาเยาวชนไม่ให้เป็นอันตรายแก่ชีวิต
ด้านนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคกล่าไกล เสนอ 3 ข้อ คือ
โดยมี 3 ประเด็นที่ขอเสนอ
- โน้มน้าวให้ทุกคนเห็นว่าเรื่องที่คุณตะวันและคุณแบมทำอยู่นั้น เป็นเรื่องของเราทุกคน ห่างจากที่นี่ 37 กิโลเมตร ประชาชน 2 คน ตัดสินใจใช้ร่างกายของตัวเองต่อสู้เรียกร้องในสิ่งที่เป็นสิทธิขั้นพท้นที่ฐานที่สุด คือการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม ที่อิสระ ที่เที่ยงตรง และที่ผู้คนเชื่อถือเป็นที่พักพึง
นายพิธา เล่าว่า ตนเป็นนายประกันของตะวัน มีโอกาสเข้าไปเยี่ยม ได้พูดคุยและสอบถามอาการ รู้สึกได้ว่าอาการของทั้งสองคนนั้นนับถอยหลังกันเป็นชั่วโมงแน่นอนว่าผมเป็นคนหนึ่งที่เป็นห่วงผลกระทบต่อร่างกาย แต่สำหรับนักสู้ทางการเมืองสองคนนั้น สุขภาพหรือความอิดโรยของเขาไม่ใช่เรื่องหลักที่เป็นห่วงแม้แต่น้อย
สิ่งที่เขาเป็นห่วงคือ ระบบยุติธรรมของประเทศนี้ สิทธิในการประกันตัวของทุกมาตราในระบบกฎหมายอาญาที่มีอยู่ และเป็นห่วงเพื่อนของเขาทั้ง 15 คนที่ควรได้รับสิทธิประกันตัวอย่างไม่มีเงื่อนไข
-การสมดุลของ 3 เสาหลักในการแก้ปัญหาของประเทศไทย ในฐานะผู้แทนราษฎร อันเป็นหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตยที่เป็นตัวแทนใช้อำนาจของประชาชน ตนไม่อาจเพิกเฉยได้ เมื่อรัฐบาลถูกประชาชนตั้งข้อสงสัยว่า กำลังใช้อำนาจโดยมิชอบบิดเบือนกฎหมายมาปราบปรามผู้ที่เห็นต่าง ไม่อาจเพิกเฉยได้มาปราบปรามผู้ที่เห็นต่าง ไม่อาจเพิกเฉยได้
ที่ตุลาการถูกตั้งคำถามว่ามีบรรทัดฐานที่แตกต่างจากปกติหรือไม่ในการดำเนินคดีและให้สิทธิประกันตัวแก่ผู้ต้องหาคดีการเมือง ทั้งที่หลักกฎหมายสากลระบุไว้ว่า ผู้ต้องหาในคดีอาญาทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ตราชั่งที่เอียง จะพาประเทศพังพินาศ และแม้ตราชั่งคิดว่าตนเที่ยงตรง แต่ประชาชนต่างสงสัยว่ามันเอียง ก็สามารถพาประเทศพินาศได้เช่นกัน
- การหาทางออกของประเทศผ่านบันได 3 ขั้น
ขั้นที่หนึ่ง คืนสิทธิประกันตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาควรได้ตั้งแต่แรก ให้กับผู้ต้องหาจำเลยทั้ง 15 คน โดยไม่มีเงื่อนไข
ขั้นที่สอง คือการนิรโทษกรรมคนที่เห็นต่างทางการเมือง นักโทษคดีการเมืองตั้งแต่ปี 2557 ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 112 หรือมาตรา 116 เพราะที่ผ่านมา กระบวนการในประเทศไทย มีความกลับหัวกลับหาง ประเทศอื่นจะตามหาความจริง แล้วค่อยหาผู้รับผิดรับชอบ แล้วจึงค่อยปรองดอง แต่ประเทศไทยกลับกัน เอาปรองดองไปขึ้นหิ้งก่อน ไม่ต้องมีผู้รับผิดรับผิดชอบ การตามหาความจริงก็ไม่เกิดขึ้น กระบวนการนิรโทษกรรมและการปรองดองในประเทศไทยถึงวนอยู่ในอ่างอยู่แบบนี้ ทำให้ประเทศไทยไปต่อไม่ได้ เราไม่สามารถมีสมาธิแก้ปัญหาอย่างอื่น หากยังมีปัญหาการเมืองอยู่อย่างนี้
ขั้นสุดท้าย ป้องกันไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในอนาคตอีก ด้วยการเอากฎหมายที่มีปัญหาไม่ว่าจะเป็นมาตรา112 มาตรา 116 พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ หรือกฎหมายฟ้องปิดปาก นี่คือข้อเสนอของพรรคก้าวไกลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาในสภา