'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ' ประชานิยม 6 ปี สู่การ 'เลือกตั้ง66'
ย้อนที่มา 'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ' 6 ปี ประชานิยม สู่การ 'เลือกตั้ง66' สองพรรคการเมือง เติมงบประมาณ แย่งชิง 14.5 ล้านเสียง
เส้นทางบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
1. กระทรวงการคลังเริ่มเปิดให้มีการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยครั้งแรกในปี 2559 มีผู้ลงทะเบียน 8 ล้านคน
2. 3 เมษายน - 15 พฤษภาคม 2560 ลงทะเบียนเพิ่มเติม มีผู้ลงทะเบียนเพิ่มเป็น 14 ล้านคน ผ่านเกณฑ์ 11.4 ล้านคน
3. เริ่มดำเนินโครงการ ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560
4. ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี จะได้รับเงิน 300 บาทต่อเดือน ขณะที่ผู้มีรายได้ 30,001 - 100,000 บาทต่อปี จะได้รับเงิน 200 บาทต่อเดือน
5. 9 มกราคม 2561 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือระยะที่2เพิ่มเงินในบัตรจาก 300 บาท เป็น 500 บาท แก่ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปีและจาก 200 บาท เป็น 300 บาท สำหรับผู้มีรายได้ 30,001-100,000 บาทต่อปี
6. 21 มีนาคม 2561 ก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐ ถือเป็นการส่งสัญญาณว่ากำลังจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
7. รัฐบาลได้ประกาศมาตรการขยายสิทธิผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้แก่กลุ่มผู้พิการผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนในครั้งแรกได้ ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจึงเพิ่มขึ้นจาก 11.4 ล้านคน เป็น 14.5 ล้านคน
8. ปลายปี 2561เกิดกระแสเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง รัฐบาล คสช. ได้ทุ่มวงเงินอนุมัติดำเนิน โครงการลงไปในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐประมาณ 81,979 ล้านบาท
9. ภายหลังการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 และพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โคยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์ โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี แถลงยืนยันว่ามาตรการช่วยเหลือผู้มีร้ายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังคงเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล
10. ปี 2563 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบพบว่าเป็นโครงการที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ถูกมองว่าเป็น นโยบายประชานิยม
11. 2564-2565 รัฐบาลยังคงจ่ายเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามวงรอบ
12. 17 มกราคม 2566 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เสนอนโยบาย เพิ่มเงินบัตรคนจน เป็น 700 บาท
13. 25 กุมภาพันธ์ 2566 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์ โอชา ประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ พรรครวมไทยสร้างชาติ เสนอเพิ่มเงินบัตรคนจนเป็น1,000บาทต่อเดือน
14. จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2566