ข่าว

มติ 'วิปรัฐบาล' ส่ง 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ตีความ พ.ร.ก.อุ้มหาย

มติ 'วิปรัฐบาล' ส่ง 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ตีความ พ.ร.ก.อุ้มหาย

28 ก.พ. 2566

'วิปรัฐบาล' ยันไม่ได้ยื้อเวลาลงมติ พ.ร.ก.อุ้มหาย ฯ ส่ง 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ตีความให้รอบคอบ และรัฐบาลจะรับผิดชอบตามความเหมาะสม

 

วิปรัฐบาล เตรียมเสนอศาลรัฐธรรมนูญตีความ พ.ร.ก.อุ้มหาย ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

ประธานวิปรัฐบาล ให้เหตุผลว่าคำร้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ ตีความกฎหมาย อุ้มหายของวิปรัฐบาล ไม่ถือเป็นการยื้อการบังคับใช้ พ.ร.ก. ฉบับนี้ออกไป แต่ถือเป็นการให้หน่วยงานตาม พ.ร.บ. เดินหน้าได้ เพราะเห็นว่า พ.ร.ก. น่าจะออกโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

หลังวิปรัฐบาล ได้เชิญตำรวจเข้าร่วมประชุมด้วย หากจะลงมติคว่ำไปเลยจะเดินหน้าลำบาก เพราะผลกระทบส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนในชนบทด้วย

 

 

นายนิโรธ สุนทรเลขา ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงการประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเรื่องด่วน พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 ว่า

เหตุที่ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญติความ เพราะส่วนตัวเห็นว่า ไม่น่าจะชอบ หรือน่าจะขัดกับรัฐธรรมนูญที่กำหนดเงื่อนไขความเร่งด่วนจำเป็น รัฐบาลไม่ได้มีเจตนาจะหน่วงให้ล่าช้า แต่เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องที่ต้องดูแลความเรียบร้อยของหน่วยงานกับประชาชนไม่ให้เกิดความผิดพลาด จึงขอขยายระยะเวลาในส่วนนี้

ดังนั้น เพื่อเป็นความรอบคอบและไม่ให้สภาฯ เกิดความเสียหาย จึงคิดว่าเรื่องนี้ควรยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าออก พ.ร.ก. ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่  ซึ่งคำร้องที่จะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย พ.ร.ก. ฉบับนี้นั้น ขณะนี้การเข้าชื่อน่าจะครบเรียบร้อย อาจยื่นก่อนหรือระหว่างการประชุมสภาฯ ก็ได้ เพื่อเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 173

 

 

แต่หากฝ่ายค้านเรียกร้องให้ลงมตินั้น มองว่า สภาฯ มีอำนาจก็จริง แต่หลายครั้งโหวตแล้วก็มีการตีความในศาลรัฐธรรมนูญในภายหลัง จนสภาฯ เกิดความเสียหาย 

สำหรับแนวทางที่เคยปฏิบัติมาหากคว่ำ พ.ร.ก. คือ ลาออกหรือยุบสภาฯ หรือไม่รับผิดชอบ ไม่ทำอะไรเลยก็ได้ แต่คิดว่ารัฐบาลต้องเลือกยุบสภาฯ เพราะอย่างไรเขาก็เลือกจะยุบสภาฯ อยู่แล้ว ดังนั้น เพื่อให้ประเทศและหน่วยงานเดินหน้าได้ เราจึงควรเลือกทางที่ดีที่สุดให้ประชาชน