ข่าว

เลือกตั้งสะดุด 'คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ'  'กกต.' รื้อแบ่ง 'เขตเลือกตั้ง'

เลือกตั้งสะดุด 'คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ' 'กกต.' รื้อแบ่ง 'เขตเลือกตั้ง'

03 มี.ค. 2566

'คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ 'กกต.' อาจต้องรื้อการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ แต่ยืนยันว่ายังอยู่ในไทม์ไลน์เลือกตั้ง ก่อนหน้านี้

 

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๖ (๑) ที่กำหนดให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐาน การทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง นั้น คำว่า “ราษฎร” ไม่หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย


คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมีผลตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๖ วรรคหนึ่งและวรรคสาม และไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมา

 

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ  ทำให้มีความเปลี่ยนแปลง สส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 8 จังหวัด

 

จังหวัดที่มีจำนวน สส. แบบแบ่งเขตเพิ่มขึ้น จังหวัดละ 1 คนได้แก่ นครศรีธรรมราช  อุดรธานี  ลพบุรี และปัตตานี   
จังหวัดที่มี สส. แบบแบ่งเขตลดลง จังหวัดละ 1 คน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก และสมุทสาคร 

 

นาย แสวง บุญมี เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งยืนยันกับคมชัดลึกว่าได้จัดการแบ่งเขตเลือกตั้งไว้แล้วเตรียมรับทุกแนวทางคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญไว้แล้ว   เมื่อมีคำวินิจฉัยแล้ว ก็สามารถประกาศเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแสดงความเห็นได้ ซึ่งในการแบ่งเขตเลือกตั้ง

 

ก่อนเสนอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กกต.เปิดให้แสดงความเห็นเป็นเวลาไม่เกิน 10 วัน การแสดงความเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อาจไม่มีผลเปลี่ยนแปลงการแบ่งเขตเลือกตั้ง เพราะการตัดสินใจเป็นอำนาจของ กกต. ตามหลักเกณฑ์ ที่มีหลักใหญใจความว่า แต่ละเขตเลือกตั้ง ต้องมีประชากรต่างกันไม่เกิน สิบเปอร์เซ็นต์ มีการคมนาคมเชื่อมต่อกัน และไม่สามารถแบ่งย่อยในหน่วยปกครอง ระดับแขวงหรือตำบลได้

 

 

หลังคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญหากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภา ซึ่งตั้งสมมติฐานไว้15 มีนาคม 2566 คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องประกาศกำหนดวันเลือกตั้งและกำหนดวันรับสมัคร ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่มีการยุบสภา หรือไม่เกิน 20 มีนาคม 2566 หลังจากนั้น จะมีการเปิดรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นเวลา 5 วัน



โดยการเลือกตั้ง กรณีการยุบสภา อยู่ระหว่าง 45 - 60 วัน นับจากวันที่มีการยุบสภา ซึ่งอยู่ในกำหนดการของกรรมการการเลือกตั้ง กรณี สภาอยู่ครบวาระคือ 7 พฤษภาคม 2566  แต่วันเลือกตั้งที่ กกต.จะประกาศตามกฎหมาย ต้องลุ้นกันภายใน ห้าวันหลังจากมีการยุบสภา