ส่องนโยบาย 8 พรรค "เลือกตั้งผู้ว่าฯ-แก้รธน.-รื้องบฯ" คลายล็อกกระจายอำนาจ
เลือกตั้ง66 : เปิดนโยบายหาเสียง 8 พรรคการเมือง ประเด็น "การกระจายอำนาจ" ชู แก้รัฐธรรมนูญ-เลือกตั้งผู้ว่า-รื้อระบบงบประมาณ" ให้ท้องถิ่นอิสระจากรัฐบาลกลาง
เวทีดีเบตเลือกตั้ง66 "ท้องถิ่น มั่งคั่ง ประเทศมั่นคง" ซึ่งจัดโดยสื่อในเครือเนชั่น ร่วมกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เมื่อวันพุธที่ 22 มี.ค. 66 เชิญ 8 พรรคการเมืองขึ้นเวที ชูนโยบายที่เกี่ยวกับ "การกระจายอำนาจ"
โดยหลายพรรคมีนโยบายที่ตรงกันคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกับดักใหญ่ของการพัฒนาประเทศที่จะมาจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และหลายพรรคมีนโยบายชัดเจนในเรื่องของการยุบรวมอำนาจท้องถิ่น อย่างเช่นการเลือกตั้งผู้ว่า หรือ เลือกตั้งผู้บริหารจังหวัด
รวมทั้งมีนโยบายที่ตรงกันทุกพรรคคือการปลดล็อกให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความอิสระจากรัฐบาลกลาง อิสระจากส่วนราชการภูมิภาค เพื่อลดความซ้ำซ้อน ตอบโจทย์ในการบริหารงานให้ท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
พรรคพลังประชารัฐ
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานยุทธศาสตร์การเมือง พรรคพลังประชารัฐ บอกว่า การวัดแข่งความขันของประทศมีความสำคัญเพราะท้องถิ่นเป็นหนึ่งในกลไก โดยเสนอบันได 4 ขั้น คือ
- การะจายอำนาจต้องกระจายอำนาจการตัดสินใจสู่ท้องถิ่น ลดการกำกับจากส่วนกลางลง เพราะท้องถิ่นใกล้ชิดและเข้าใจความต้องการประชาชน นโยบายที่ดีต้องมาจากท้องถิ่น ส่วนกลางแค่คิดระบบวางยุทธศาสตร์ กำหนดมาตรฐาน ส่วนภูมิภาคเพียงประสาน ขอความร่วมมือ ดูแลกิจกรรม ไม่ใช่การสั่งงานให้ท้องถิ่นทำตาม
- จัดงบประมาณใหม่ เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน เพราะงบปี 2566 จัดการงบให้ท้องถิ่นเพียง 29% พรรคพลังประชารัฐ จะผลักดันสัดส่วนงบประมาณท้องถิ่นให้ได้ 35% ให้เร็วขึ้น เพราะงบท้องถิ่นไม่พอ พร้อมกับจะส่งเสริมให้ท้องถิ่นจัดการงบประมาณด้วยตนเอง
- จัดตั้งองค์กรส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
- หนุนเก็บภาษีท้องถิ่นใช้ในท้องถิ่น เพิ่มอำนาจการเก็บภาษีใหม่โดยไม่รอส่วนแบ่งรายได้ อาทิ ภาษีการพักอาศัย ภาษีท่องเที่ยว และส่งเสริมท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ แปรรูปการไฟฟ้าของท้องถิ่นเหมือนท้องในเยอรมัน ปลดแอกนายทุนส่วนกลาง
ภูมิใจไทย
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รองหัวหน้าภูมิใจไทย บอกว่า ถ้าสัมผัสการทำงานจริงๆ ได้ฟังเสียงท้องถิ่นพูดเสมอว่าการกระจายอำนาจไม่ 100% มีหลายเรื่องที่ท้องถิ่นไม่สามารถตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา เพราะกฎหมายไม่รองรับ เช่น การหาบุคลากรทำเองก็ทำไม่ได้ เพราะมีคนจัดการให้ แต่ไม่ตรงกับความต้องการของท้องถิ่น
รวมทั้งการจัดงบประมาณให้ท้องถิ่นก็ไม่สอดรับ เงินคือปัจจัยที่ต้องขับเคลื่อน แต่เป็นปัญหามาตั้งแต่ 2542 จึงอยากให้ท้องถิ่นมีงบของตัวเองมากขึ้น
"ผมอยากให้ 2 เรื่อง 100% ได้ไหม คือเรื่องอำนาจการบริหารจัดการเป็นของท้องถิ่น 100% ได้ไหม โดยไม่อิงส่วนกลาง ดังนั้น กฎหมายอะไรที่เป็นอุปสรรคการกระจายอำนาจต้องแก้ไขให้รองรับการกระจายอำนาจ 100% ให้ได้"
นายทรงศักดิ์ ฉายภาพให้เห็นถึงปัญหาของการกระจายอำนาจในปัจจุบัน อาทิ การถ่ายโอนภารกิจมีปัญหาเรื่องงบและบุคลากร อย่างเช่น การโอนสถานีขนส่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยรัฐบาลให้ภารกิจไปแต่ไม่สามาถทำงานได้
ชาติไทยพัฒนา
นายนิกร จำนง ประธานคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์พรรคชาติไทยพัฒนา ย้ำจุดแข็งของพรรคชาติไทยพัฒนาว่า "นโยบายพรรคเราเป็นการกระจายอำนาจอย่างจริงจัง" ซึ่งประกาศเป็นคำมั่นสัญญานโยบายของพรรคอยู่ในราชกิจจานุเบกษา
"เรื่องนี้ต้องเริ่มจากการแก้รัฐธรรมนูญ เพราะเราจะแก้ตั้งแต่ต้นน้ำ จะทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ จะให้อำนาจประชาชน เป็นต้นทางของการกระจายอำนาจ โดยเฉพาะในหมวด 14 ฉบับปัจจุบัน ที่รัฐธรรมนูญไม่มีคำว่ากระจายอำนาจแม้แต่คำเดียว"
ส่วนเรื่องการแก้ปัญหางบประมาณท้องถิ่น นายนิกร ระบุว่า พรรคชาติไทยพัฒนามีนโยบายที่จะจัดสรรงบให้ท้องถิ่นละ 10 ล้านบาท
ไทยสร้างไทย
น.ต.ศิธา ทิวารี เลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย บอกว่า การกระจายอำนาจ ที่ผ่านมาไม่สามารถทำได้ เพราะมีการรวมศูนย์ทั้งสิ้น ทุกวันนี้ส่วนราชการก็ไม่ได้ขึ้นตรงต่อกัน ทำให้การกระจายอำนาจเป็นเพียงเรื่องลมๆแล้งๆ พรรคการเมืองไหนที่ดูแลการปกครองอย่างกระทรวงมหาดไทยก็ใช้ทำประโยชน์เพื่อการเมืองทั้งสิ้น
ศิธา บอกถึงนโยบายของไทยสร้างไทยว่า มุ่งมั่นกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่งจริงจังด้วยวิธีการดังนี้
- ลดความเหลื่อมล้ำกับกทม และตจว.อย่างจริงจัง ให้ได้ 25% ภายในปี 2570 ไม่ให้รวยกระจุกจนกระจาย
- สร้างคลัสเตอร์ทางเศรษฐกิจนกลุ่มอุตสาหกรรมแต่ละประเทศ
- ซิงเกลคอมมานด์ เพราะตอนนี่้กลายมีทั้งผู้ว่า และนายกอบจ. จนทำให้มีคนบอกว่าผู้ว่าต้องมาจากการเลือกตั้ง
"ส่วนผมมองว่า จะเลือกตั้งนายกอบจ. หรือ ผู้ว่าฯ เอาสักอย่างให้ประชาชนเลือกผู้บริหารจังหวัด เพื่อให้เป็นซิงเกลคอมมานด์ ต้องเชื่อมโยงคลัสเตอร์ จังหวัดต้องผลิตคนตอบโจทย์ความเจริญของจังหวัด"
- หยุดรัฐราชการรวมศูนย์ เพราะสุดท้ายในทางปฏิบัติจะรวมอำนาจอยู่ที่นายกรัฐมนตรีคนเดียว
- แก้รัฐธรรมนูญหมวด 14 เพราะการะจายอำนาจคือการกระจายทุกสิ่งให้ชุมชน การปฏิรูประแบบราชการของส่วนราชการที่ชื่อว่ากระทวงมหาดไทยต้องตอบสนองความต้องการของประชาชน
ชาติพัฒนากล้า
นายอรัญ พันธุมจินดา รองเลขาธิการพรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวว่า ท้องถิ่นมีความสำคัญมาก ช่วยดูแลประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ดำเนินนโยบายตามความต้องการของประช่าชน ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดว่าอปท. ต้องดำเนินการตามหลักปกครองตนเอง ดังนั้น รัฐบาลต้องให้อิสระกับอปท.
เพราะเคยมีคำถามว่าให้อิสระเพียงพอหรือไม่ ให้อำนาจครบถ้วนหรือไม่ คำตอบคือยังไม่ถึงจุดนั้น มีการกำหนดแนวทางจากราชการส่วนกลาง ควบคุมโดยราชการส่วนภูมิภาค
"ชาติพัฒนากล้าเห็นว่าควรรื้อโครงสร้างส่วนท้องถิ่น ปรับปรุงรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด"
ประชาธิปัตย์
นายนิพนธ์ บุญยามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า การกระจายอำนาจเป็น DNA ของพรรคประชาธิปัตย์มาตั้งแต่การประกาศตั้งพรรคเมื่อ 2485 ในข้อ 5 จึงไม่แปลกใจว่าทำไมเราเสนอกฎหมายกระจายอำนาจในช่วงต่างๆ อาทิ ยกระดับสภาตำบล เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล มาถึงทุกวันนี้ เพราะนี่คือการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท
นายนิพนธ์ ยกตัวอย่างนโยบายว่า จะเดินหน้าเรื่องการกระจายอำนาจด้วยการยกระดับเทศบาลเมืองขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ เทศบาลนครทั้งหลาย พร้อมยกให้เป็นเมืองมหานคร และเรากล้าบอกว่าจังหวัดไหนมีความพร้อมจะให้เป็น "จังหวัดจัดการตนเอง" นี่คือแนวทางลดความเหลื่อมล้ำ
นายนิพนธ์ เล่าประสบการร์ว่า เห็นแล้วว่า 30 กว่าปีในการกระจายอำนาจ มีอุปสรรคอย่างไร เราเริ่มถอดบทเรียนกันแล้ว เราต้องไม่ตัดเสื้อโหล บังคับให้ใส่เหมือนกันไม่ได้ ต้องให้อิสระในการทำภารกิจที่ต้องการกับชุมชน เลิกการสั่งการจากส่วนกลาง เลิกการสั่งการ ต้องคิดใหม่ทำใหม่
"การจัดสรรงบก็ต้องคิดภาษีใหม่ เช่น ภาษีสิ่งแวดล้อม ภาษีภัยพิบัติ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะแบ่งให้ท้องถิ่น มีธนาคารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ท้องถิ่นไหนที่มีโครงการดีจะไม่มีข้อจำกัดการพัฒนาเมือง เพราะเราจะมีสถาบันพัฒนาเมืองในการพัฒนาเมือง ในการกลั่นกรองโครงการของท้องถิ่น"
ก้าวไกล
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ รองเลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาการกระจายำนาจตอนนี้มีคำสั่งคสช.กดหัวอยู่ ส่งผลต่อการบริหารจัดการ ซึ่งพรรคก้าวไกลมีนโยบายกระจายอำนาจว่า
- เลือกตั้งนายกทุกจังหวัด เลือกตั้งผู้ว่าทุกจังหวัด คิดว่าผู้มีอำนาจสูงสุดต้องมีคนเดียว ยุบและควบรวมส่วนราชการท้องถอ่น
- ยกเลิกกฎ ระเบียบที่กดทับท้องถิ่นที่ดักโกงที่ออกโดยส่วนกลาง ส่งเสริมรัฐโปร่งใส จัดตั้งสภาพลเมือง
- กระจายงบ 50% หรือ 2 แสนล้านบาท ภายใน 4 ปี ท้องถิ่นออกระเบียบเบิกจ่ายเองได้
- แก้ไขรัฐธรรมนูญปลดล็อกท้องถิ่น เพราะรธน.ไม่มีคำว่ากระจายอำนาจไว้เลย โดยการกระจายอำนาจต้องไม่เป็นเพียงพะราชบัญญัติเท่านั้น
"ต้องการสถาปนาความคิดนี้โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้อำนาจท้องถิ่นทำได้ทุกอย่าง ยกเว้น ศาล ทหาร เงินตรา และต่างประเทศ"
เพื่อไทย
นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย บอกว่า โลกนี้มีเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลทำไม่ทัน ทำไม่ดี รัฐบาลไม่ควรแย่งงานท้องถิ่น โลกต้องการบทบาทท้องถิ่น 9 ปีมานี้การกระจายอำนาจถอยหลังที่สุดในรอบ 25 ปี
- กำกับควบคุม จากส่วนกลางเต็มไปหมด ครอบอปท.
- การทำแผนต้องสอดคล้งกับแผนจังหวัด
- โครงการจำนวนมากต้องผ่านอนุมัติของอำเภอและผู้ว่า
- คำสั่งคสช.เรื่องงานบริหารบุคคลครอบเอาไว้ คือ 8/60 เขาอยากจะได้พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ทำได้ช้า
- การถ่ายโอนภารกิจที่ชะงักทำไม่สำเร็จ หลายอย่างดึงกลับไปส่วนกลาง
- การแบ่งงานไม่ชัดเจน ทำงานซ้ำซ้อน คณะกรรมการกระจายอำนาจแบ่งไม่ชัดเจน ต้องมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นำร่อง 4-5 จังหวัด
- แบ่งรายได้ไม่สอดคล้องกับภารกิจ งานที่จะทำโดยความต้องการท้องถิ่นไม่เกิดทำแต่งานที่รัฐบาลสั่งมา
"เสนอให้ยกเครื่องคณะกรรมการกระจายอำาจกันใหม่ แก้กฎหมายที่กดทับ และแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้สถานะของการกระจายอำนาจกลับมาเหมือนเดิม"