ข่าว

เช็กที่นี่ เงื่อนไข 'ยุบพรรค' 21 ข้อ ตามกฎหมาย 'พรรคการเมือง'

เช็กที่นี่ เงื่อนไข 'ยุบพรรค' 21 ข้อ ตามกฎหมาย 'พรรคการเมือง'

29 มี.ค. 2566

เปิดข้อกฎหมาย 'ยุบพรรค' พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย 'พรรคการเมือง' บัญญัติไว้หลายมาตรา รวม 21 เงื่อนไข

 

พลิกกฎหมายพรรคการเมืองพบเงื่อนไขยุบพรรค 21 ข้อ โดยมีประกาศ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ฉบับที่ 11 กำหนดเงื่อไขให้การยุบพรรคการเมืองดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น

 

สำหรับเงื่อนไขของการยุบพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองประกอบไปด้วย

 

  • ไม่แก้ไขข้อบังคับให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด
  • มีจำนวนสมาชิกพรรคการเมืองน้อยกว่า 5,000 ติดต่อกันเป็นเวลา 90 วัน หลังจดทะเบียนพรรคการเมืองได้ 1 ปี  
  • มีจำนวนสาขาพรรคการเมืองในแต่ละภาคน้อยกว่า 1 สาขา เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 1 ปี
  • ไม่มีการประชุมใหญ่พรรคการเมืองหรือไม่มีการดำเนินกิจกรรมใดทางการเมืองเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 1 ปี 

 

 

  • ไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้ง 2 ครั้งติดต่อกันหรือเป็นเวลา 8 ปีติดต่อกัน
  • มีหนี้สิ้นล้นพ้นตัวตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
  • พรรคการเมืองเลิกตามข้อบังคับ

 

 

  • กระทําการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ  
  • กระทําการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • พรรคการเมืองดำเนินกิจการลักษณะหากำไรมาแบ่งปันกัน  

 

 

  • ยินยอมให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกพรรค ควบคุม ครอบงํา หรือชี้นํา กิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทําให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกขาดความอิสระ  
  • ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด เพื่อจูงใจให้สมัครเข้าเป็นสมาชิก 
  • จัดตั้งสาขาพรรคการเมือง หรือตัวแทนประจำจังหวัดนอกราชอาณาจักร
  • รับบริจาคเพื่อสนับสนุนการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน

 

  • ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ใดกระทําการอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทําการอันเป็นการทําลายทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ
  • เรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่น เพื่อให้บุคคลอื่นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งในการบริหารราชการแผ่นดิน หรือในหน่วยงานของรัฐ 
  • รับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

 

  • รับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่น จากผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย บริษัทต่างชาติ คณะบุคคลที่ได้รับเงินอุดหนุนจากต่างประเทศ 
  • ถ้าพรรคการเมืองเป็นผู้กล่าวหาพรรคการเมืองอื่นว่า กระทำความผิดตามกฎหมายพรรคการเมือง ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นการกล่าวหาที่เป็นความเท็จ 
  • หัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีส่วนรู้เห็นหรือไม่ได้ยับยั้ง กรณีที่มีผู้สมัครทำให้การเลือกตั้งนั้นไม่เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม 

 

 

  • เรียกหรือรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นได้เพื่อส่งผู้สมัคร หรือไม่ส่งผู้สมัคร อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่พรรคการเมืองอื่นในการเลือกตั้ง และทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริต