รายชื่อ 'แคนดิเดตนายกฯ' พรรคไหนส่งใครชิงเก้าอี้ อัปเดตล่าสุดที่นี่
สรุปรายชื่อ 'แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี' จากพรรคการเมืองต่างๆ พรรคไหนส่งรายชื่อใครชิงเก้าอี้บ้าง อัปเดตล่าสุดดูได้ที่นี่
คมชัดลึก รวบรวมรายชื่อ ' แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี' ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 4 เมษายน 2566 เฉพาะบางพรรคการเมืองที่ได้แถลงเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว
โดยพรรคการเมืองที่ส่งครบ 3 รายชื่อเต็มโควตา ได้แก่
- พรรคเพื่อไทย ประกอบด้วย 1.นางสาวแพทองธาร ชินวัตร 2.นายเศรษฐา ทวีสิน และ 3. (รออีก 1 ชื่อ จะเปิดตัวช่วงเย็นวันที่ 5 เม.ย.)
- พรรคชาติพัฒนากล้า 1.นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ 2.นายกรณ์ จาติกวานิช 3.นายเทวัญ ลิปตพัลลภ
พรรคที่ส่ง 2 รายชื่อ
- รวมไทยสร้างชาติ 1. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 2.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
พรรคที่ส่งชื่อเดียว
- พลังประชารัฐ - พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ
- ภูมิใจไทย - นายอนุทิน ชาญวีรกูล
- ประชาธิปัตย์ - นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
- ก้าวไกล - นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
- ไทยสร้างไทย – นายคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
'แคนดิดเดตนายกรัฐมนตรี' คือผู้ที่ให้พรรคการเมืองมีสิทธิ์เสนอชื่อลงแข่งชิงนายกฯ ในที่ประชุมรัฐสภา (ส.ส.+ส.ว.)
สำหรับพรรคที่จะเสนอรายชื่อบุคคลชิงเก้าอี้นายกฯ ในสภาฯ ได้นั้น ต้องมีสส.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่คือ 500 คน หรือ มีสส. 25 คนขึ้นไป จึงจะมีสิทธิเสนอชื่อจากบัญชีพรรคเป็นนายกฯ ได้
นอกจากนี้การเสนอชื่อนายกฯ ต้องมี สส.รับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 หรือ สส. อย่างน้อย 50 คน มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบต้องมีมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร คือ 250 เสียง
กรณีไม่อาจแต่งตั้งนายกฯ จากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ได้ ให้ที่ประชุมร่วมระหว่าง สส. และ สว. ร่วมประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตเลือกนายกฯ โดย 2 สภา จะมีสมาชิกทั้งสิ้น 750 คน แบ่งเป็น ส.ส. 500 คน และส.ว. 250 คน โดยผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นนายกฯ ต้องมีเสียงสนับสนุนของสมาชิกรัฐสภามากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ นั่นคือ 376 เสียง