'สมชัย'ประเมินปาร์ตี้ลิสต์ ชี้เน้นเหตุผลทางการเมือง กับทุนพรรค
สมชัย ศรีสุทธิยากร ประเมินภาพรวมปาร์ตี้ลิสต์ แต่ละพรรคการเมือง เพื่อไทย 28 ที่นั่ง เหตุบิ๊กเนมอยู่เซฟโซน ชี้ปัญหาชื่อลอย อยู่ลำดับสูง ปัจจัยกลุ่มทุนพรรค
การจัดปาร์ตี้ลิสต์ของแต่ละพรรคการเมือง หลังที่มีการเปิดเผยแล้ว เมื่อทำการสมัครสส.บบบัญชีรายชื่อ เห็นความชัดเจนของแต่ละพรรคการเมือง ความสัมพันธ์ของพรรค ใครมีอำนาจตัวจริงในแต่ละพรรค
รายการ คมชัดลึก เนชั่นทีวี เปิดประเด็น "บิ๊กเนม" คิดหนัก จัดลำดับปาร์ตี้ลิสต์ พูดคุย วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองที่ร้อนแรงไม่แพ้กับอากาศในเวลานี้
ในเรื่องของการคาดการณ์การรวมเสียงในการตั้งรัฐบาล รศ.สมชัย กล่าวว่า ในพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม เพื่อไทย ก้าวไกล เสรีรวมไทย มีความแตกต่างกัน ที่ประชาชนใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือก ถ้า 3 พรรครวมกัน 60 % ของคนที่มาเลือกตั้ง น่าจะมีส่วนแบ่งมาให้เสรีรวมไทยบางส่วน ในเรื่องการประกาศพร้อมจับมือพลังประชารัฐ รศ.สมชัย บอกว่า มีสิทธิเลือกที่ไม่เอาในบางพรรค
ในการพูดคุยกับแกนนำพรรคใหญ่บางพรรค มีแนวทางที่จับมือในพรรคร่วมฝ่ายเดิมก่อน ในเกิน 300 เสียง และได้เสนอไปว่าในจบแค่นี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเอาเสียงส่วนอื่นมาเพิ่มเติม ในมุมมองคิดว่า แค่เกิน 300 เสียง สว.ก็ต้องรู้จักคิดเพื่อบ้านเมือง หรืออาจจะบวกไทยสร้างไทย ประชาชาติ เพื่อชาติ เป็น 6 พรรค ส่วนในกรณีที่ยังไม่จบ ลำดับที่ 2 ก็ต้องพิจารณาพรรคการเมืองที่ร่วมกับเราได้ ที่ไม่ขัดแย้งในแนวทางมากเกินไป เช่น พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย ซึ่งถ้ารวมในส่วนนี้เสียงก็น่าจะเกิน 300 เสียง ไม่ต้องไปถึงพลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ
ในเรื่องของการรวมกันแบบสลายขั้ว รศ.สมชัย ตอบว่าไม่เอา เพราะพลังประชารัฐ ก่อให้เกิดปัญหา ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา พลังประชารัฐเป็นพรรคเดียวที่โหวตไม่เอา จึงมองว่าแนวทางไม่ใช่การประนีประนอมแต่มองประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก พอมาวันนี้จะมาบอกให้สามัคคี เพราะที่ผ่านมามา ไม่เคยแสดงบทบาทในอดีต แค่วันนี้จะมาบอกว่าให้ก้าวข้ามความขัดแย้ง เป็นไม่ได้
เรื่องของปาร์ตี้ลิสต์แต่ละพรรคการเมือง รศ.สมชัย มองว่า มันเปลี่ยนไปจากเจตนาของการเขียนรัฐธรรมนูญตั้งแต่เริ่มต้น สมัยปี 2540 ที่มีสส.2 ประเภทเกิดขึ้น เดิมเขตสามารถลงพื้นที่ได้ เข้ากับประชาชน ดังนั้นต้องมีบุคคลที่มีบุคลิกแบบหนึ่ง บัญชีรายชื่อ คือคนที่อาจจะเป็นหน้าเป็นตา เป็นอาจารย์เป็นอดีตผู้บริหารที่มีความสามารถ และเป็นกลุ่มคนที่พร้อมจะโชว์ต่อประชาชน
เพื่อให้ได้คะแนนเสียงปาร์ตี้ลิสต์ และเตรียมคนเหล่านี้เป็นผู้มีตำแหน่งทางการเมือง ถ้าปาร์ตี้ลิสต์มีเพียงพอก็ไม่มีการแย่งกัน แต่ตอนนี้ร์ตี้ลิสต์มันน้อยลงเรื่อยๆ พอไปลดลงเหลือ 100 คน แล้วจะมีพื้นที่ปลอดภัยของแต่ละพรรคในปาร์ตี้ลิสต์ จากการคาดการณ์ว่าพรรคนั้นๆ จะได้ปาร์ตี้ลิสต์เท่าไหร่ จึงกลายเป็นการแย่งชิงแข่งขัน เพื่อให้ตัวเองอยู่ในพื้นที่ตรงนั้น กลุ่มที่แย่งชิงพื้นที่ตรงนั้นได้ ก็จะเป็นผู้นำพรรค แกนนำพรรค คนเก่าแก่ ถัดมาก็จะเป็นกลุ่มคนที่มีส่วนบริจาคเงินให้กับพรรค ช่วยเป็นเงินทุนในการหาเสียงต่างๆ อีกกลุ่มเป็นอาจารย์ อดีตข้าราชการระดับสูง ผู้มีความสามารถพอเป็นหน้าเป็นตาให้กับพรรค
บัญชีรายชื่อแต่ละพรรคที่สื่อนำเสนอ หยิบเอา10 รายชื่อแรกของแต่ละพรรคมาดู วิเคราะห์ได้เลยว่า คนนี้คือใคร มีความสำคัญอย่างไร มาได้อย่างไร บางคนลอยมา ไม่มีบทบาททางการเมือง ไม่เป็นรู้จัก ไม่มีกิจกรรมกับพรรค เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกพรรคการเมือง ทำให้เจตนาของการออกแบบบัญชีรายชื่อมันผิดไป จึงกลายเป็นที่อยู่ของคนเก่าแก่ นายทุนที่มีเงินเพียงพอ หรือนักการเมืองที่เคยอยู่เขตเดิม และรู้สึกว่าถ้าเสียเงินเท่ากัน อยู่บัญชีรายชื่อดีกว่า
ในการวิเคราะห์บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรค รศ.สมชัย กล่าวว่า อย่างพรรคเพื่อไทย ประเมินจากบิ๊กเนม คาดว่าจะได้ประมาณ 28 คน ถัดมารวมไทยสร้างชาติ ประมาณ 16 ที่ ส่วนหนึ่งประเมินจากโพลความเห็นต่างๆ และมีการสังเกตมีรายชื่อที่ลอยมา ต่อมา ก้าวไกล ตัดตรงลำดับที่ 22 หลังจากนี้เป็นชื่อที่ไม่คุ้นเคย ด้านประชาธิปัตย์ ประเมินที่ 12 ที่นั่ง แม้จะมีบิ๊กเนมต่อจากนั้นหลายคน แต่ต้องดูว่าจะได้คะแนนเท่าไหร่ ส่วนภูมิใจไทย มองที่ 11 ที่นั่ง ด้วยการเน้นความแข็งแกร่งของบ้านใหญ่และพื้นที่ส่วนเสรีรวมไทย จุดตัดพื้นที่ปลอดภัยที่ลำดับที่ 5 การจัดบัญชีรายชื่อ ในภาพรวมปาร์ตี้ลิสต์ ดีต่อภาพรวมของพรรค แต่ไม่ดีที่สุดต่อประชาชน เป็นการผสมผสานระหว่างเหตุผลทางการเมือง การสนับสนุนพรรค และเชิงวิชาการต่างๆ