สส. แบบบัญชีรายชื่อ คำนวณอย่างไร ดูได้ ที่นี่
กกต.เปิดเกณฑ์ คำนวณ สส. แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน สุดท้ายต้องการมีการจับฉลาก หากพรรคการเมืองมีคะแนนจากการคำนวณเท่ากัน
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เปิดหลักเกณฑ์ การคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2566 มีเนื้อหาดังนี้
1. ให้รวมผลคะแนนทั้งหมดที่ทุกพรรคการเมืองได้รับจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อทั้งประเทศ
2. ให้นำคะแนนรวมจากข้อ 1 หารด้วย 100 ผลลัพธ์ที่ได้ให้ถือเป็นคะแนนเฉลี่ยต่อสมาชิกสภาผู้แหนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ 1 คน
3. ในการคำนวณหาจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองจะได้รับ ให้นำคะแนนรวมจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับหารด้วยคะแนนเฉลี่ยตาม ข้อ 2. ผลลัพธ์ที่ได้เฉพาะส่วนที่เป็นจำนวนเต็มคือจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้น ได้รับ
4. ในกรณีที่จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้รับรวมกันทุกพรรคการเมืองมีจำนวนไม่ครบ 100 คน ให้พรรคการเมืองที่มีผลลัพธ์ที่เป็นเศษโดยไม่มีจำนวนเต็มและพรรคการเมืองที่มีเศษหลังจากการคำนวณตามข้อ 3.
พรรคใดเป็นหรือมีเศษจำนวนมากที่สุด ให้ได้รับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายซื่ออีก 1 คนเรียงตามลำดับ จนกว่าจะมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองทั้งหมดได้รับรวมกันครบจำนวน 100 คน
5. ในการดำเนินการตามข้อ 4. ถ้าในลำดับใดมีเศษเท่ากันและจะทำให้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเกินจำนวน 100 คน ให้ตัวแทนของพรรคการเมืองที่มีเศษเท่ากันจับสลากตามวันและเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
เพื่อให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายซื่อครบจำนวนและให้ถือว่า ผู้สมัครตามบัญชีรายชื่อผู้สมัครของพรรคการเมืองตามจำนวนที่พรรคการเมืองนั้นได้รับตามผล
การคำนวณได้รับเลือกตั้งเรียงตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้นจนครบจำนวน แต่ต้องไม่เกินจำนวนผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อเท่าที่มีอยู่ในแต่ละบัญชีรายชื่อผู้สมัครที่พรรคการเมืองนั้นได้ส่งสมัครจำนวนที่ยังขาดอยู่ให้เป็นไปตามมาตรา 83 วรรคสี่แห่งรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2564