ตั้งโรงงานปุ๋ยในไทย ช่วยเกษตรกรลดต้นทุน 20-30 %
กรมวิชาการเกษตร เชื่อหากไทยตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยเอง จะช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต 20-30 % แต่ต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วย
กรมวิชาการเกษตร เชื่อหากไทยตั้งโรงงานผลิตแม่ปุ๋ยได้เองผ่าน 3 โครงการใหญ่ และเพิ่มใช้ปุ๋ยอินทรีย์ จะช่วยเกษตรกรลดต้นทุนลงได้อีก 20-30% ชี้ไตรมาสแรกไทยนำเข้า1.2 ล้านตัน ขออนุญาตอีกเดือนละกว่า 3 แสนตัน ยันมีสต๊อกเพียงพอ ไม่ขาดแคลน
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และนายกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษ วาระเร่งด่วนเกษตรกรไทย กับปัญหาราคาปุ๋ยแพง ในงานสัมมนา THE BIG ISSUE ปุ๋ยแพง : วาระเร่งด่วนประเทศไทย ทางรอดเกษตรกร จัดโดย ฐานเศรษฐกิจ (2 พ.ค. 2566) ใจความสำคัญระบุว่า
การใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรกับพืชเศรษฐกิจของไทยในช่วงที่ผ่านมา ข้าว เป็นพืชที่ใช้ปุ๋ยมากที่สุดสัดส่วนกว่า 51% อ้อย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดใช้ปุ๋ยสัดส่วนเฉลี่ยแต่ละพืช 5-9% ของการใช้ปุ๋ยโดยรวม และที่น่าในใจคือไม้ผล และพืชไร่อื่น ๆ เช่น ทุ เรียนที่มีมูลค่าการส่งออกปีละกว่า 1 แสนล้านบาทติดต่อกัน 2 ปีซ้อน ซึ่งไม้ผลมีการปุ๋ยเคมีเพิ่มผลผลิต และรสชาติ
การนำเข้าปุ๋ยเคมีของไทยที่ผ่านมาเฉลี่ยปีละ 4.5-5 ล้านตัน หรือสัดส่วนกว่า 95% ของความต้องการใช้ และไทยยังผลิตแม่ปุ๋ยเองไม่ได้ต้องพึ่งพาการนำเข้า โดยกรมวิชาการเกษตรเปิดกว้างให้มีการนำเข้าแม่ปุ๋ยจากทุกแหล่งของโลก
ไม่ว่าจะเป็นจากซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ บาห์เรน ตะวันออกกลาง หรือจากจีน ออสเตรเลีย รัสเซีย แคนาดา อิตาลี ลาว เป็นต้น โดยไม่กำหนดปริมาณ หรือโควตาการนำเข้า ถือเป็นอำนวยความสะดวกในการแข่งขัน
อย่างไรก็ดี ในช่วงที่เริ่มเกิดวิกฤติอาหารหรือความไม่มั่นคงด้านอาหารของโลก ในปี 2564 จีน และอินเดีย มีการสั่งปุ๋ยนำเข้าประเทศเพิ่มขึ้น และไม่มีการส่งออกปุ๋ย ทั้งนี้เพื่อต้องการรักษาความมั่นคงด้านอาหาร
ซึ่งเห็นได้ว่าปุ๋ยคือปัจจัยหลักสำคัญในการก่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร ประกอบกับในปี 2565 (ที่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน มีความไม่มั่นคงด้านอาหาร มีโควิด) การนำเข้าปุ๋ยเคมีของไทยกระโดดขึ้นไปถึงระดับ 1 แสนล้านบาท จากราคาปุ๋ยเพิ่มสูงขึ้นเท่าตัว ขณะที่ปริมาณนำเข้าลดลง เหลือ 4.1 ล้านตัน
ไทยถือว่าโชคดีที่เป็นประเทศผู้ผลิตอาหารของโลกหรือครัวโลก แม้จะได้รับผลกระทบจากราคาปุ๋ยเคมี แต่ยังสามารถส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารได้อย่างต่อเนื่อง และมีจีดีพีเป็นบวกในเรื่องของอาหารและการเกษตร แต่ปัจจุบันหลังจากสถานการณ์ที่คลี่คลายลงในทุกเรื่อง จะเห็นได้ว่าเวลานี้ราคาปุ๋ยได้ลดลงอย่างมาก โดยลดลง 40-50% หรือใกล้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ร้อยตรีจักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยในงานสัมนา“ปุ๋ยแพง : ปัญหาใหญ่ภาคเกษตร”ว่า บทบาทขอกรมการค้าภายในมีหน้าที่กำกับดูแลสินค้าทั้งราคาและปริมาณ โดยปุ๋ยถือว่าสำคัญเพราะต้นทุนหนึ่งที่เกษตรกีต้องใช้ในการทำเกษตร
ซึ่งกรมฯต้องดูแลปริมาณให้เพียงต่อความต้องการและราคาต้องไม่สูงเกินไป เพราะราคาที่เหมาะสมของกรม กับราคาที่เหมาะสมของเกษตรกร ของผู้ผลิต ไม่เท่ากัน ดังนั้นกรมจะใช้คำว่าราคาต้องเป็นธรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อราคาปุ๋ย มาจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น ราคาพลังงานในตลาดโลก ดีมาน-ซัพพลายในตลาดโลกในแต่ละสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นสงครามยูเครน-รัสเซีย อัตราแลกเปลี่ยนที่ยังผันผวน รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ค่าขนส่ง ทั้งทางเรือ ทางบก ทางอากาศ เป็นต้น ซึ่งมีส่วนทำให้ราคาปุ๋ยและไทยเองก็นำเข้าปุ๋ยเกือบ100%
สำหรับสต็อกปุ๋ย ณ สิ้นมีนาคม พบว่ามีปริมาณ1.3ล้านตันถ้าเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนถือว่าเพิ่มขึ้นมากว่า50% ทั้งนี้คาดการณ์ว่าความต้องการใช้ปุ๋ยจะเพิ่มมากขึ้น จากผลผลิตผลทางการเกษตรที่ดีโดยเฉพาะผลไม้ ซึ่งขอให้เกษตรกรมั่นใจได้ว่าปริมาณปุ๋ยมีเพียงพอแน่นอน
ซึ่งหลังจากนี้ต้องติดตาม และกรมฯ ยินดีรับนโยบายของรัฐบาลใหม่ไม่ว่าจะมาจากพรรคการเมืองไหนเข้ามาบริหารประเทศในการขับเคลื่อนดูแลเรื่องปุ๋ยเคมี รวมถึงหารือกับภาคเอกชนและผู้ส่งออก